App Health

ผลสำรวจ “เศรษฐกิจสุขภาพในประเทศไทย” พบชี้สถานะการเงินส่งผลต่อความเครียดมากที่สุด ขณะที่เทรนด์รักษาสุขภาพยอดนิยมใช้แอปสุขภาพ (App Health) เป็นที่นิยมมากสุด..

จากวิถีชีวิตที่รีบเร่ง และแข่งขัน มากขึ้นในทุกๆวัน ทำให้ปัญหาเรื่องของสุขภาพของมนุษย์นั้นเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจ เรื่องดังกล่าวกลายเป้นปัญหาของคนในทุกเจนเนอเรชั่น (Generation) ที่หลายรัฐบาลทั่วโลกกำลังพยาามหาวิธีในการป้องกัน และแก้ไข อย่างเร่งด่วน

แม้ว่าเราจะเริ่มเห็นการหันมาใส่ใจในเร่ืองของสุขภาพเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในส่วนของกิจกรรม และการกิน ที่มุ่งในการปรับสมดุลของร่างกาย แต่ก็ยังเป็นเพียงในกลุ่มก้อนของคนที่สนใจเป็นกลุ่ม ๆ ไป เท่านั้น เพราะยังมีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่สามารถปรับเปรียบตัวเองในเรื่องของการดูแลสูขภาพได้ จากเหตุผลที่กล่าวไปคือการรีบเร่ง และแข็งขัน

ที่สูงขึ้นมาก จากอีกอดีต สิ่งที่ยืนยันเรื่องดังกล่าวได้ดีมากที่สุด ผลสำรวจด้านสุขภาพจากหลาย ๆ การสำรวจ โดยสำรวจล่าสุดชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจมากจากที่ได้มีการเปิดเผย คือ เศรษฐกิจสุขภาพในประเทศไทย” (The Well Economy Thailand) ที่ทาง กลุ่มธุรกิจ Thompson Intelligence ของวันเดอร์แมน ธอมสัน ได้

ทำการสำรวจความคิดเห็น จำนวน 500 คน ชี้ว่าบริโภคยุคปัจจุบันที่ดำเนินชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก และความผันผวนทางเศรษฐกิจ กำลังเผชิญ 4 บริบท ที่มีผลต่อสุขภาพ คือ นิยามของคำว่าสุขภาพ, สาเหตุที่สุขภาพไม่ดี, การรักษา, สุขภาพ และเทคโนโลยี 

“ไดเอ็ท ” เทรนด์ของ 3 Gen ในการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง!

App Health

ทุกวันนี้หากคิดว่า ขอแค่เพียงมีสุขภาพกายใจที่ดี ก็เพียงพอแล้ว ก็คงไม่ถูกต้องเท่าใดนัก เนื่องจากในปัจจุบันนิยามความหมายของคำว่าสุขภาพดี ในยุคปัจจุบันได้มีบริบทความกว้างขึ้น ไม่ใช่เพียงการที่ร่างกายไม่เจ็บป่วยเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงด้านอื่น ๆ ด้วย

ซึ่งหากให้นิยามความหมายเรื่องสุขภาพวันนี้ อาจจะต้องหมายความรวมไปถึง สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพทางเพศ สติสัมปชัญญะ ความสมดุลของการทำงาน และการใช้ชีวิต เข้าไว้ด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามด้วยการที่สังคมนั้นมีคนอยู่หลายเจนเนอเรชั่น ทำให้คำนิยามเรื่องสุขภาพของคนแต่ล่ะเจนเนอเรชั่น แตกต่างกันไป

โดยคนที่เกิดในยุค เจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ (Generation X) และเบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) จะให้คำนิยามเรื่องของสุขภาพที่ดีคือการที่มี “สุขภาพจิต” (Mental Health) ที่ดี ในขณะที่คนที่เกิดในยุค เจนเนอเรชั่นซี (Generation Z)

และคนในยุคมิลเลนเนียล (Millenniums) จะให้นิยามรื่องของสุขภาพคือ “ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง” ได้โดยด้วยการควบคุมดูแลอาหาร (Diet) เช่นการเลือกอาหารหรือการให้ความสำคัญกับการอ่านผลิตภัณฑ์ถูกมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง มากกว่าการออกกำลังกาย

ซึ่งแรงจูงใจของคนทั้ง 2 Gen นี้ คือความต้องการที่จะให้ภาพลักษณ์ของตัวเองดูดี (Positive Self Image) ผ่านการมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และไม่มีโรคร้ายแรง โดยกว่า 82% คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดูดี  

ขณะที่ 50% ของ Gen Z,  Millenniums และGen X จดจ่ออยู่กับการดูแลรักษาร่างกายให้ดูดีสมส่วนและสมบูรณ์แข็งแรง และมักจะกังวลเรื่องน้ำหนักตัวของตนเอง หรือเรื่องของการที่ร่างกายไม่กำยำล่ำสันมากพอ นอกจากนี้ 89% มองว่าปัจจุปันนี้การเลือกสิ่งที่ดีต่อสุขภาพคือกระแสนิยมที่ห้ามตกเทรนด์

สาเหตุที่สุขภาพไม่ดี เกิดจากอะไร?

App Health

แม้ว่าดูเหมือนว่าเรื่องของความส่ใจแต่ต่อสุขภาพจะมีแน้วโน้มที่ดีขึ้นมาก แต่กับพบว่ามีปัจจัยอื่น ที่เข้ามาทำให้สุขภาพของคนไม่ได้ดีขึ้น และยังมีแนวคิด หรือความเชื่อที่โทษว่าปัญหาเรื่องของสุขภาพไม่ได้มาจากตนเอง แจ่มาจากสภาพแวดล้อม

ซึ่งผลจากการสำรวจชี้ว่า คนไทย 90% เชื่อว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมอาจกระทบต่อสุขภาพของพวกเขา แทนที่จะกล่าวหาพฤติกรรม และรูปแบบการใช้ชีวิตส่วนตัวของตนเอง แถมคาดหวังว่าเรื่องเรื่องของการช่วยรักษาสุขภาพมีผลมาจากนโยบายจากภาครัฐ โดยเหตุผลที่ได้จากการสำรวจระบุ 58% เชื่อว่า “เรื่องเงินทอง และการเงินส่วนบุคคล”

คือสาเหตุหลัก ๆ ที่ส่งผลต่อการที่มีสุขภาพแย่ลง ซึ่งสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับในประเทศอื่น ๆ ในเอเซีย อาทิ 52% ในประเทศออสเตรเลีย 42% ในประเทศจีน และในประเทศอินโดนีเซีย 60% ที่ต่างเชื่อว่าเรื่องเงินคือสาเหตุสำคัญในการทำให้สุขภาพย่ำแย่ลงจากความเครียดความกังวล เพราะเศรษฐ์กิจไม่ดี

เพราะเมื่อมีเงินน้อยลง ย่อมส่งผลให้เกิดความเครียด เมื่อเกิดสภาวะเครียดกดดัน ก็กระทบกับสุขภาพกาย และใจ จึงทำให้เจ็บป่วย เมื่อเจ็บป่วย ทำให้ต้องเสียเงินเพื่อเยียวยารักษาอีกด้วย โดยพบว่าคน Gen X มีแนวโน้มจะมีความเครียดมากที่สุดในทุกแง่มุมของชีวิต

คนเลือกที่จะรักษาอาการป่วยด้วยตัวเองมากขึ้น!

App Health

นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่น่าสนใจว่า เมื่อคนพบว่าป่วย คนไทยจะรักษาตนเองด้วยยาแก้ปวด ลดไข้ จากร้านขายยา มากที่สุด โดย 65% ของกลุ่มคนรุ่น Millenniums และ73% ใน Gen X เลือกที่จะรักษาตัวเองโดยใช้ยาแก้ปวดทั่วไปเพื่อให้ผลในทางรักษารวดเร็วประหยัดเวลา

และมองหาทางเลือกด้วยการใช้ยาที่มีส่วนผสมทางเคมีน้อย หรือใช้ยาที่ผลิตจากวัตถุดิบทาง “ธรรมชาติ” เป็นทางเลือกอีกด้วย อีนอกจากนี้ยังพบว่าทงเลือกที่นิยมใช้การใช้ช่องทางออนไลน์เป็นเพื่อหาคำแนะนำ หรือคำตอบในหาวิธีรักษาสุขภาพด้วยตนเองเพิ่มขึ้นอีกด้วย เพื่อเสริมข้อมูลที่ได้จากช่องทางออฟไลน์

โดย 46% ของคนรุ่น Baby Boomer จะไปคลินิก ตลอดจนค้นหาข้อมูลของอาการ และวิธีการรักษาเพิ่มเติมจากช่องทางออนไลน์ รองลงมาคือ Gen Z อยู่ที่ 30%, Millenniums อยู่ที่ 27% และGen X อยู่ที่ 25% จะเสาะหาคำแนะนำจากช่องทางโซเชียลมีเดีย (Social Media)

และยังพบว่า 19% ของคนในรุ่น Gen Z  เลือกการรักษาด้วยการคุยกับแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่า นอกจากนี้คนไทยมองว่าแนวคิดทางพุทธศาสนาส่งผลทางบวกต่อสุขภาพ โดยคนไทยมีอัตราการทำสมาธิและบำบัดตนเองสูงสุดทั้งในแง่ของร่างกายและอารมณ์ อาทิ การทำสมาธิ 78%

เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 51%, การผ่อนคลายด้วยสปา 60% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 53%รักษาโดยนักบำบัด 50% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 30%

App Health คือ ความหวังใหม่… ที่มาแรง!!

App Health

และจากการที่เทคโนโลยีมีศักยภาพสูงมากขึ้น ทำให้คนมีทางเลือกในการช่วยรักษาสุขภาพของของตัวเองมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดียังจำเป็นต้องให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน และให้ความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล กว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ยังไม่มีการใช้แอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ

เพื่อติดตามตรวจสอบสุขภาพของตน แม้จะอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างมากก็ตาม เช่น ญี่ปุ่น ซึ่ง 78% ของ Baby Boomer ไม่ได้มีการใช้แอพฯ โดยเหตุผลหลักที่ไม่ใช้แอพมีความแตกต่างกันตามอายุ เช่น กลุ่มคนรุ่นเก่าไม่มีความรู้ตลอดจนไม่ได้ติดตามว่าแอพที่เกิดขึ้นใหม่ๆนั้น ทำอะไรได้บ้าง และเชื่อถือแพทย์มากที่สุด

โดย 56% ของคนรุ่น Millenniums, 47% ของ Gen X และ 44% ใน Gen Z คือกลุ่มหลักที่มีโอกาสจะเป็นกลุ่มผู้ใช้แอพพลิเคชั่นสุขภาพ แต่เมื่อสำรวจในกลุ่มผู้ใช้แอพสุขภาพแล้ว แต่เชื่อว่าพบว่าหากได้รับการสอนการงานใช้อย่างถูกต้อง สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเขาไปถึงเป้าหมายตามนิยามของคำว่า “สุขภาพดี” ได้อย่างแน่นอน

โดยเชื่อว่าแอพสุขภาพนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยมอนิเตอร์เรื่องความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ น้ำหนัก อัตราการเต้นของหัวใจ และการควบคุมดูแลอาหาร และโภชนาการในแต่ละวัน โดย 87% เชื่อว่าเทคโนโลยีจะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ขณะที่ 81% ชอบที่จะติดตามแอพตรวจสอบสุขภาพของตนที่บ้านมากกว่าที่จะไปพบแพทย์

จากแนวโน้มที่เกิดขึ้นจากผลสำรวจทั้งหมดนี้ยิ่งตอกย้ำว่าในอนาคตในวงการแพทย์ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยจะเป็นการแพทย์ที่จะอาศัยเทคโนโลยีทั้งในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล การสื่อสารระหว่างผู้ป่วย และแพทย์ผู้รักษา

และก้าวไปสู่การการรักษาที่เจาะจงลงไปในรูปแบบที่เรียกว่า “Micro Segment” หรือการรักษาที่มุ่งตอบโจทย์ในช่วงวัยที่แตกต่างกันมากขึ้น โดยมีความแม่นยำมากขึ้นจากการเกิดขึ้นของข้อมูลจำนวนมหาศาล หรือที่เราเรียกว่า บิ๊กเดต้า (Big Data) นั่นเอง

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ข้อมูลบางส่วนจาก ดับบลิวพีพี (WPP)
**** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่