ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งภาคการบริการกำลังถูกคลื่นดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้บางธุรกิจจำเป็นต้องปิดตัวลง และบางธุรกิจจำเป็นต้องหากลุ่มทุนเข้ามาพยุงกิจการ หรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงาน

ด้วยความกลัวว่าธุรกิจของตัวเองกำลังจะถูก Digital Disruption หลายองค์กรจึงรีบปรับเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจอย่างก้าวกระโดด ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Digital Transformation ซึ่งธุรกิจของประเทศไทยในปีนี้

องค์กรต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงความต้องการในการใช้เทคโนโลยีไปอย่างสิ้นเชิง เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ทุกคนใช้เปลี่ยนแปลงแนวทางที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และดำเนินธุรกิจของตน

โดยภายใน 3 ปี (2563) 30% ของผู้ประกอบการที่ใหญ่ที่สุด 500 บริษัทของไทยจะพบว่าธุรกิจของพวกเขาส่วนใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์การใช้งานที่มีดิจิทัลเป็นองค์ประกอบสำคัญ

เพราะเนื่องจากใน 2 ปีที่ผ่านมานั้น องค์กรธุรกิจในไทยได้เริ่มกระบวนการทำ Digital Transformation โดยใช้เทคโนโลยี Cloud Analytics เทคโนโลยีโซเชียล และเทคโนโลยีอื่น ๆ มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันผ่านสินค้าและบริการ เพื่อหารูปแบบการทำธุรกิจ และความสัมพันธ์ต่าง ๆ กับลูกค้าของตนในรูปแบบใหม่

ปัจจุบัน ธุรกิจจำนวนมากสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการทรานส์ฟอร์มผลิตภัณฑ์และบริการ การดำเนินงาน ซัพพลายเออร์ ผู้จัดจำหน่าย และเครือข่ายลูกค้า แม้ว่าปัจจุบันการทำ Digital Transformation ส่วนใหญ่นั้นยังอยู่ในระดับโครงการริเริ่มก็ตาม แต่การผลักดันของรัฐบาลไทยสู่การเป็น “ประเทศไทย 4.0” (Thailand 4.0) จะทำให้องค์การต่าง ๆ นั้นได้ทำการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้มากขึ้น

กนกกมล เลาหบูรณะกิจ รองประธานฝ่ายขาย บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่แค่การมุ่งหาเทคโนโลยีเข้ามาบริหารองค์กร ซึ่งในมุมมองของฟูจิตสึ การจะทำ Digital transformation องค์กรนั้น ๆ จำต้องมีความคิดที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกันก่อน ซึ่งทั้งองค์กรควรถูกนัดหมายเข้ามาตั้งแต่การคุยถึงเรื่องเทคโนโลยีในขั้นต้น จึงจะสามารถดำเนินงานอื่น ๆ ได้อย่างประสิทธิภาพ

ซึ่งในส่วนของผู้บริหารระดับสูงหรือ C Level ต้องเริ่มจากกระบวนการคิดที่ต้องการให้องค์กรตัวเองเดินไปในทิศทางแบบใดหรือไปทางไหน นั่นหมายถึงก่อนที่จะไปมองหาเทคโนโลยี ผู้บริหารต้องตกผลึก Business Model ของตัวเองให้สำเร็จ ซึ่งต้องดูควบคู่ไปกับความพร้อมของบุคลากร ความพร้อมงบประมาณ และวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง จากนั้นจึงค่อยมองหาเทคโนโลยีที่จะมาช่วยตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจต่อไป

กนกกมลกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับฟูจิตสึเราใช้นโยบายที่เรียกว่า Human Centric Innovation หรือการใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลางของการทำงานทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่ว่าเมื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานจะเกิดการหักล้างมนุษย์ออกไป แต่เรามองว่าเทคโนโลยีควรจะเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่ฟูจิตสึฝันก็คือ Human Centric Intelligent Society คือเป็นสังคมที่เทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้มนุษย์ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี 2560 นี้ ฟูจิตสึจะเข้าไปทำตลาดกับโรงงานอุตสาหกรรมก่อนเป็นอันดับแรก เพราะบางแห่งเป็นทั้งผู้ขายและผู้ผลิตในตัวเอง ซึ่งในปัจจุบัน ธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจที่กำลังจะโดน Disruption เป็นอันดับต้น ๆ ฟูจิตสึจึงคาดหวังที่จะเข้าช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการไทยทรานส์ฟอร์มธุรกิจตัวเองอย่างรอบคอบ ค่อยเป็นค่อยไป และลดความเสี่ยงที่จะโดน Disruption

ซึ่งเทคโนโลยีที่จะนำเสนอในปีนี้คือ เทคโนโลยี Intelligence Dashboard ส่วนกลางอัจฉริยะในการจัดการงานต่าง ๆ ภายในโรงงาน ต่อมาคือ Predictive Analysis โซลูชันที่ทำให้เครื่องจักรเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งนำข้อมูลมาประมวล และคาดการณ์ผลต่าง ๆ ในอนาคต ส่วนต่อมาคือ Digital Inspection เป็นโซลูชันตรวจสอบค่าสถานะต่าง ๆ ภายในโรงงาน

และสามารถที่จะแจ้งขอความช่วยเหลือไปทางส่วนกลางได้อย่างรวดเร็ว จึงลดโอกาศที่จะเกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น และส่วนสุดท้ายคือ Location Tracking ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์สวมใส่ที่ติดตัวพนักงานภายในโรงงาน โดยส่วนกลางสามารถรับรู้ได้ถึงสถานะของคนงาน เช่น ความดัน อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ หรือแม้กระทั่งจุดที่คนทำงานอยู่ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด หรือไปกระจุกรวมตัวกันอยู่ที่ใด สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่แสดงใน Intelligence Dashboard และให้ผู้ควบคุมบริหารงานได้อย่างรอบคอบ

กล่าวได้ว่า 4 โซลูชันรวมทั้ง Human Centric Innovation สามารถไปกระจายรวมกับสิ่งที่ประเทศไทยอยากไป นั่นคือไทยแลนด์ 4.0 เพราะรากฐานก็มาจาก Industry 4.0 ที่ต้องการทำให้อุตสาหกรรมมีความสมาร์ตมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลไทยก็กำลังเร่งผลักดันให้ประเทศก้าวไทยเดินหน้าสู่ยุคดิจิทัล จึงเป็นโอกาสสำคัญของฟูจิตสึที่จะเข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมเกิดการทรานส์ฟอร์มและประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน