หลังจากที่หลายฝ่ายมองการเข้ามาของ FinTech (ฟินเทค) สภาพแวดล้อมของระบบสถาบันการเงินไทยจะแตกต่างไปจากเดิม ผู้เล่นดั้งเดิมจะมีอนาคตเป็นอย่างไร ? และ Startup ทางด้านการเงินจะมีบทบาทอย่างไรกับอุตสหกรรมทางการเงินของไทย และหาก Startup จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง เป็นคำถามที่หลาย ๆ ฝ่ายต่างให้ความสนใจ

คำตอบของคำถามนั้นคือ เรื่องของการปรับเปลี่ยนสู่ความรวดเร็ว และส่งต่อได้อย่างรวดเร็วซึ่งทำให้ธนาคารต้องวางกลยุทธ์เพื่อปรับการให้บริการดิจิทัลกับลูกค้า ด้วยการเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ช่องทาง ผลิตภัณฑ์ และความสามารถในการบริการ สอดรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่นิยมทำธุรกรรมการเงินบนสมาร์ตโฟนมากขึ้น

อุตสาหกรรมการเงินต้องสะดวก ง่าย และถูกลง

ผู้เชี่ยวชาญด้าน E-Payment หรือการจ่ายเงินระบบอิเล็กทรอนิกส์

สีหนาท ล้ำซำ ผู้เชี่ยวชาญด้าน E-Paymentหรือการจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้ให้ความเห็นไว้ว่าฟินเทค ไม่ใช่เรื่องใหม่อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เพียงแต่ที่ไม่ถูกพูดถึงมากนัก เพราะเนื่องจากในอดีต เทคโนโลยีไม่ได้เข้าถึงตัวผู้ใช้งานหรือผู้บริโภคแบบอยู่ติดตัวผ่านสมาร์ตโฟนเช่นทุกวันนี้ และด้วยการที่เทคโนโลยีที่ถือเป็นกุญแจสำคัญคืออินเทอร์เน็ตบ้านและโมบายอินเทอร์เน็ตยังไม่มีความรวดเร็วขนาดในปัจจุบัน เลยทำให้ไม่มีใครหยิบเอามาพูดถึง ถ้าหากลองย้อนมองดู ในเทคโนโลยีทางการเงินออนไลน์นั้น ATM หรือการเติมเงินเกมออนไลน์ในสมัยก่อน ก็ถือว่าเป็นฟินเทคเช่นกัน เพราะเป็นการจับจ่ายที่ไม่ได้ผ่านธนาคาร แต่เป็นการจ่ายเงินสดไปที่บัตรเติมเงินของโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการโครงข่าย แต่ปัจจุบันที่มีการพูดถึงกันมากขึ้นก็เพราะมีเรื่องของการใช้บัตรต่าง ๆ ที่เข้ามา ตัวกลางในการจ่ายสินค้าหรือบริการ ซึ่งการใช้ก็จะมีการคิดค่าบริการจากการใช้บริการเพลย์เมนต์เกตเวย์ของแบงก์ หรือผู้ใช้บริการเครดิตจากต่างประเทศ จึงทำให้เจ้าของธุรกิจเริ่มต้องการหาผู้ให้บริการที่ถูกลง

อีกทั้งด้วยผู้บริโภคในยุคปัจจุบันก็คือกลุ่มคนเดียวกันที่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีในยุคที่มีการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวกลางในการจับจ่ายผ่านเกมออนไลน์ เป็น Generation เดียวกันซึ่งคนกลุ่มนี้ชอบทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รวดเร็วกว่าจึงทำให้มีโอกาสเพิ่มความบ่อยครั้งในการใช้งาน ซึ่งกลุ่มนี้เองที่เริ่มส่งผลต่อมุมมองของธนาคารในการให้บริการ เพราะถือว่าเป็นกลุ่มคนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นกำลังหลักในการจับจ่ายและทำธุรกรรมทางการเงิน แม้ว่าในปัจจุบันสังคมไทยจะยังเป็นสังคมที่กลุ่มคนรุ่นเก่ายังมีสัดส่วนที่มากอยู่ แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่เริ่มมีการเรียนรู้เทคโนโลยีและใช้งานมากขึ้น โดยอาจจะอาศัยลูกหลาน หรือ Generation ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาแทนเป็นผู้ช่วยดูแลหรือสอนให้ใช้งาน

ซึ่งจากแนวโน้มนี้เองทำให้ฟินเทคถือกำเนิดขึ้น โดยมีเซอร์วิสโปรวายเดอร์เป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ และสวิสต์เข้าแบงก์ต่าง ๆ ไปแบงก์โดยตรง ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ความไม่มีประสิทธิภาพและความไม่คล่องตัวบางประการในโลกการเงิน โดยช่องว่างดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการฟินเทคนำเสนอโซลูชันทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ผู้บริโภคกำลังเผชิญอยู่ โดยการนำเทคโนโลยีในการทำธุรกรรมทางการเงินมาประยุกต์ใช้ให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและเกิดแนวความคิดที่ต้องการใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนตัวกลาง จึงเป็นแนวคิดหลักของฟินเทคซึ่งเทคโนโลยี เช่น Blockchain ที่สามารถทดแทนการแลกเปลี่ยน (Central Exchange) ก็เป็นอีกตัวอย่างที่สำคัญ

ดังนั้น ธนาคารวันนี้ต่างมองไปที่วิธีการดำเนินการ (Operation) จากสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ด้วยแนวคิดที่ว่าจะเอาเทคโนโลยีเข้ามาทำให้บริการให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพราะธนาคารไม่สามารถลงทุนได้รวดเร็ว เนื่องจากมีกระบวนการที่ซับซ้อน ที่ต้องคำนึงเรื่องผลที่ได้
ในการคิดบริการอะไรออกมา แล้วกระทบกับกฎของแบงก์ชาติหรือไม่ ทำให้ช้า ต่อให้ผ่านกระบวนการทำงานของแบงก์ก็ไม่รวดเร็ว ทำให้ Startup ที่คิดบริการอะไรออกมาวันนี้สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปสู่การบริการที่รวดเร็วกว่า ซึ่งการที่เราเห็นธนาคารเริ่มให้ความสำคัญกับแนวทางในการสร้างบริการใหม่ด้วยการจับมือกับ Startup นั่นก็เพราะธนาคารต้องการลบจุดด้อยส่วนนี้ออกไปนั่นเอง

ดังนั้น หากมองกันที่ประโยชน์ฟินเทคเกิดขึ้นมาเพราะต้องการแก้ไขเรื่องความรวดเร็ว การเพิ่มความสามารถในการธุรกรรมทางการเงินด้วยการเชื่อมโยง ความต้องการผู้บริโภคกับช่องทางการชำระเงินที่ไม่ถูกผูกมัดด้วย “ค่าธรรมเนียม” จึงจะเรียกว่านวัตกรรมทางการเงินในยุค 4.0

เปลี่ยน “คู่แข่ง” เป็น “พันธมิตร”

ฝั่งฟินเทคแม้ว่าจะมีข้อได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นความคล่องตัวของกิจการ (Agile) เพราะมีคนร่วมก่อตั้งและทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญจำนวนน้อยราย อีกทั้งยังสามารถปรับ Prototype ของงานได้อย่างรวดเร็ว และหาลูกค้ามาทดลองผลิตภัณฑ์ได้ในเวลาไม่นาน โดยไม่มีกระบวนการที่ยุ่งยากเหมือนบริษัทขนาดใหญ่ แต่การที่ฟินเทคจะก้าวข้ามมาแข่งขันในสนามที่ใหญ่ขึ้น มีจำนวนฐานลูกค้ากว้างขึ้น คงต้องเผชิญกับความท้าทายด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านศักยภาพของธุรกิจในการดึงดูดแหล่งเงินทุน แม้ปัจจุบันจะมีหน่วยงานรฐั และเอกชนสนใจหยิบยื่นความช่วยเหลือทางการเงินให้กับธุรกิจ Startup และ FinTech จำนวนมาก แต่สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ชื่อยังไม่ติดตลาด หรือ สิ่งที่คิดนำเสนอยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้มีเงินทุนว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จ ก็ทำให้ไม่สามารถได้รับเงินทุนในจำนวนที่คาดหวังเพื่อต่อยอดธุรกิจได้ อีกทั้งข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ
และข้อจำกัดในการเข้าถึงตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค โดยหากการดำเนินงานของฟินเทคบางประเภทอาจจะกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน หรือกระทบกับผลประโยชน์ของผู้บริโภค รวมไปถึงข้อกำหนดด้านความปลอดภัย

ของระบบฐานข้อมูลและธุรกรรมต่าง ๆ ก็อาจจะต้องไปอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรอิสระต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ ฟินเทคมีต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน FinTech Startup ส่วนใหญ่มักจะใช้ช่องทางออนไลน์ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก ก็อาจจะเสียโอกาสจากกลุ่มคนสูงอายุที่ยังไม่กล้าทำธุรกรรมการเงินมูลค่าสูงผ่านโลกไซเบอร์ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยายฐานผู้ใช้งานได้ในอนาคตได้

ดังนั้นทางออกร่วมกันที่ดีที่สุดในวันนี้ จึงไม่ใช่เรื่องของการแข่งขันกันระหว่างธนาคาร แต่เป็นการร่วมมือแบบพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partnership) เพื่อลบจุดอ่อนของกันและกัน โดยใช้กลยุทธ์การร่วมมือ (Collaboration) ในหลายรูปแบบเพื่ออาศัยจุดเด่นด้านความคล่องตัวของธุรกิจและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเฉพาะด้านของ Startup ด้านการเงินกับความเข้าใจในกฎระเบียบของการทำธุรกิจทางการเงิน ข้อมูลลูกค้าที่ธนาคารมี อาทิ การให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและเชิงเทคนิคเฉพาะด้านมาเป็นฐานในการคิดนวัตกรรมทางการเงินในรูปแบบใหม่ ๆ โดยธนาคารจะทำหน้าที่จัด Workspace รวมถึง
การเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) และให้การสนับสนุนองค์ความรู้เชิงธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่ FinTech Startup ก็ไม่ต้องถูกผูกมัดด้วยรูปแบบของการเข้าซื้อกิจการด้วย ซึ่งหากทำได้จะทำให้เกิดรูปแบบที่สร้างความยั่งยืนในวงการ Startup ของประเทศอีกด้วย ส่วนลูกค้าธุรกิจ การเจาะตลาดของฟินเทคน่าจะใช้เวลามากกว่า เนื่องจากผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินสำหรับลูกค้าธุรกิจมีความซับซ้อน และมีลักษณะเฉพาะมากกว่า อีกทั้งธุรกรรมมีวงเงินสูง จึงทำให้หลายกรณีต้องขออนุญาตจากทางภาครัฐ แต่อย่างไรก็ดี การเตรียมความพร้อมไว้ก่อนน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยอาจจะต้องศึกษารูปแบบธุรกิจของตนเอง และศึกษาว่าส่วนใดที่จำเป็นต้องทำรูปแบบการขายหรือเชื่อมต่อกับกระบวนการชำระเงินแบบใหม่ เพราะการใช้ไปหมดทุกเทคโนโลยีในบางธุรกิจก็ไม่ตอบโจทย์เช่นกัน

FinTech and the Evolving Landscape

นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการประจำเอคเซนเชอร์ประเทศไทย กล่าวว่า จุดเด่นของฟินเทคคือ การสร้างมูลค่าในรูปแบบของความง่ายต่อการใช้งาน ความสะดวกรวดเร็วต้นทุนหรือค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า และความ
ปลอดภัยในการทำธุรกรรม ทั้งนี้ ปัจจุบันฟินเทคกำลังเข้ามาสั่นคลอนรูปแบบที่เงินเปลี่ยนมือจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเรามองย้อนกลับไปดูสิ่งที่กลุ่มบริษัทฟินเทคทำมาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะทำให้เราสามารถเห็นภาพทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจนี้ในอนาคตอันใกล้ โดยในอนาคต กิจการประเภทจะ
ขัดขวาง (Disruptors) ซึ่งจะนำนวัตกรรมใหม่เข้ามาในตลาดนั้น อาจแข่งขันกับธนาคารในช่วงแรก แต่ก็มักจะร่วมมือกันในภายหลัง ไม่ว่า
จะผ่านการลงทุน การครอบครองกิจการ หรือ ร่วมเป็นพันธมิตรกัน เช่นในกรณี BBVA กิจการดิจิทัลแบงกิงที่เข้าไปถือหุ้นธนาคาร ทำให้
ธนาคาร Atom เป็นธนาคารบนมือถือแห่งเดียวในลอนดอน

โดยงานวิจัยล่าสุดของเอคเซนเชอร์ พบว่าฟินเทคและสภาพแวดล้อมในตลาดยุคใหม่” ที่จัดทำโดยเอคเซนเชอรเ์ มื่อตน้ เดอื นเมษายนที่ผ่านมา เผยให้เห็นว่า มูลค่าการลงทุนในกิจการฟินเทคทั่วโลกในปี 2558 เพิ่มขึ้นมากกว่า 22,000 เหรียญสหรัฐ โดยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในเอเชีย มีกิจการร่วมทุนด้านฟินเทคที่มุ่งรองรับสถาบันการเงินทั้งในฐานะลูกค้าและพันธมิตรได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ แทนที่จะเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดที่สร้างความสั่นสะเทือน และไปแข่งขันกับสถาบันการเงินที่มั่นคง

โดยในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา เปอร์เซ็นต์สัดส่วนเงินทุนที่จะลงไปในกิจการร่วมทุนด้านฟินเทคในอเมริกาเหนือนั้นเพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 60% แต่ในยุโรป สถานการณ์กลับตรงกันข้าม เนื่องจากเงินทุนส่วนใหญ่ไปอยู่ที่กิจการนวัตกรรมที่จะพลิกอุตสาหกรรมแบบเดี่ยว ๆ โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 62% ของการลงทุนด้านฟินเทคทั้งหมดในปี 2553 เป็น 86% ในปี 2558 สัดส่วนของกิจการร่วมทุนฟินเทคในยุโรปและเอเชียที่เข้ามาแข่งขันกันในตลาดนั้นมีจำนวนสูงกว่าในอเมริกาเหนือมาก

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านฟินเทคเกิดขึ้น และขยายตัวอย่างรวดเร็วนั้นไม่ใช่เพียงเพราะการรวมตัวเป็นฮับทาง
เทคโนโลยีแบบเดิม ๆ ความก้าวหน้าใหม่ ๆ นั้นรวมถึงด้าน Robotics ระบบ Blockchain และInternet of Things ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของอุตสาหกรรมในการนำไปใช้และปรับให้เข้ากับขนาดธุรกิจ แทนที่จะขึ้นอยู่กับพืนที่ แนวคิดอันชาญฉลาดสามารถนำไปปรับปรุงบริการและประสิทธิภาพของธุรกิจได้

Global Fintech

การเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นสิ่งที่เรียกว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4” นับเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกที่ดึงองค์กรด้านนวัตกรรมและดิจิทัลทั้งหลายให้เข้ามาแข่งขันหรือร่วมมือกับธุรกิจการให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม ซึ่งทำให้ลูกค้าธนาคารได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น โดยการลงทุนในฟินเทคสามารถรองรับกิจกรรมทางการเงินธุรกิจ ตลาดทุน ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการเงิน ระบบการชำระเงิน และการจัดการการเงินส่วนบุคคล โดยธนาคารที่สามารถประเมินและนำนวัตกรรมทางการเงินเข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เสริมสร้างหรือแข่งขันกับธุรกิจ จะสามารถพัฒนาก้าวกระโดดผ่านพ้นคู่แข่งได้ เนื่องจากผู้บริโภคจะพัฒนาขึ้นด้วยตามเทคโนโลยีและความคาดหวังในการบริการ

Fintech นวัตกรรมที่กำลังจะพลิกโฉมธุรกิจไทย