Digital Health Care

หัวใจสำคัญของประเทศไทยยุค 4.0 คือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในทุก ๆ อุตสาหกรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมทางการแพทย์หรือ Digital Health Care เพื่อขับเคลื่อนประเทศได้ให้สามารถเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันเราจะเห็นว่าในหลาย ๆ อุตสาหกรรมได้มีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ไปบ้างแล้ว เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ใช้เทคโนโลยีในหลายแง่มุมเพื่อสร้างกระบวนการในการบริหารจัดการ และรวบรวมข้อมูลเพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตขั้นสูงโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ และสามารถคิดค้นพัฒนารถยนต์เพื่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคนั้น ๆ แม้แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการนำรายได้เข้าสู่ประเทศก็มีการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อสอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวโน้มนี้ไม่ได้เกิดเพียงแต่อุตสาหกรรมที่กล่าวไปข้างต้นเท่านั้น เพราะในอุตสาหกรรมการแพทย์ก็ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ เพราะต้องแข่งขันกับความรวดเร็วในการให้บริการ ซึ่งอาจหมายถึงชีวิตของผู้เข้ารับบริการด้วย

Digital Health Care ทำให้ระบบการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาล ในชุมชน และที่บ้านมีโมบิลิตี้มากขึ้น

เอกภาวิน สุขอนันต์
เอกภาวิน สุขอนันต์

เอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท วีเอ็มแวร์ จำกัด กล่าวว่า จากที่กล่าวในข้างต้นจะเห็นว่าอุตสาหกรรมด้านสุขภาพทั่วโลกกำลังเดินหน้าสู่ระบบดิจิทัล โดยหันมาใช้เทคโนโลยีในการยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพมากขึ้น เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรไอทีได้ดีขึ้น ทั้งยังเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานให้กับผู้ให้บริการด้านสุขภาพไปพร้อมกับเพิ่มความสามารถในการรักษาข้อมูลด้านการแพทย์ของประชาชนให้มีความปลอดภัยมากขึ้น วีเอ็มแวร์พร้อมเดินหน้าจับมือกับกระทรวงสาธารณสุขรวมถึงสถาบันและหน่วยงานชั้นนำในประเทศ เพื่อพัฒนาวงการสุขภาพของไทยให้ก้าวเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างเต็มภาคภูมิ

โดยเฉพาะธุรกิจบริการด้านสุขภาพในภูมิภาคอาเซียนมีความตื่นตัวเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากสถิติการใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น 10-12% ทุกปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (อ้างอิงจาก Economic Intelligence Center (EIC) www.scbeic.com) โดยรัฐบาลของไทยยังได้ร่วมผลักดันให้ไทยเป็น Medical Tourism Hub ด้วยอายุประชากรยังเพิ่มมากขึ้นและองค์กรต่าง ๆ มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้องค์กรด้านสุขภาพและรัฐบาล จำเป็นต้องหันมาปรับปรุงและพัฒนาระบบไอทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ผู้ป่วย ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มต้นได้โดย ขั้นตอนแรกคือการเปลี่ยนจากเวชระเบียนกระดาษไปสู่เวชระเบียนดิจิทัล เพื่อให้มีข้อมูลที่สำคัญทางการแพทย์พร้อมเสมอสำหรับการรักษาและดูแลผู้ป่วย แผนกไอทีในหน่วยงานด้านสุขภาพจึงต้องมีบทบาทเกินกว่าการบริหารจัดการระบบ แต่จะต้องสามารถช่วยผลักดันให้ผู้ป่วย, พนักงานและองค์กร ได้รับการบริการและทำงานได้ขึ้น

Key Information Technology Drivers in Healthcare

1. เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Records : EMR) ปัจจุบันรัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทยมีความคิดริเริ่มและผลักดันให้เกิดการใช้ EMR
2. เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะช่วยจัดเวิร์กโฟลว์ของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (Care Provider Workflows) ซึ่งจำเป็นต้องสร้างระบบเวิร์กโฟลว์ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองกับข้อบังคับขององค์กรและความต้องการของตลาด
3. ปัจจุบันมีการควบรวมกิจการมากขึ้น (Mergers&Acquisitions) ดังนั้นองค์กรจึงต้องมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วขององค์กร
4. เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรด้านสุขภาพ (Attracting Staff and Patients) ต้องสามารถดึงดูดความสนใจของพนักงานที่เก่งและทำให้ผู้ป่วยได้รับความพึงพอใจ
5. ในอุตสาหกรรมสุขภาพจะมีกฎข้อบังคับที่องค์กรต้องปฏิบัติตาม (Security of Information) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถช่วยในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและรักษาชื่อเสียงขององค์กร

พิมพ์เขียวด้านไอที และแนวทางในการปฏิบัติการสำหรับโรงพยาบาลอนาคต

จากความต้องการของอุตสาหกรรมการแพทย์ วีเอ็มแวร์จึงได้พัฒนาโซลูชัน VMware Always On Point of Care ซึ่งเป็นโซลูชันดาต้าเซ็นเตอร์ครบวงจรสำหรับการรักษาพยาบาลโซลูชันเดียวในตลาด พัฒนาโดยทีมงานที่มีประสบการณ์ด้านการดูแลสุขภาพและผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สามารถใช้งานร่วมกับบันทึกสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EHR) และได้รับการตรวจสอบจากพาร์ตเนอร์เพื่อให้ได้พิมพ์เขียวที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ เพียงแค่ ‘แตะ-เปิด-รักษา’ โซลูชันดังกล่าวช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพได้อย่างปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วย และยกระดับความยืดหยุ่นในการทำงานในโรงพยาบาล ในชุมชน และที่บ้าน ช่วยให้องค์กรด้านสุขภาพสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว

โดยเพิ่มประสิทธิภาพเวิร์กโฟลว์สำหรับเวิร์กสเตชันที่คนในองค์กรใช้ร่วมกัน (Optimize Workflows for Shared Clinical Workstations) ด้วยการล็อกอินเพื่อทำงานแบบ Single Sign-On ช่วยประหยัดเวลาการทำงานได้ถึง 40 นาทีต่อวัน สามารถทำงานผ่านอุปกรณ์มือถือได้ (Enable Mobile Clinical Workflows) ทำให้บุคลากรในองค์กรสามารถเข้าถึงระบบแอพพลิเคชันและข้อมูลทางการแพทย์ได้ผ่านสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต แลปทอป รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถรักษาความปลอดภัยและจัดการระบบให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับ (Ensure Security, Compliance and Management) เนื่องจากข้อมูลถูกเก็บอยู่ที่ดาต้าเซ็นเตอร์แทนที่จะเก็บไว้ที่อุปกรณ์ปลายทาง ทำให้องค์กรสามารถจัดการและติดตั้งเพื่อใช้งานได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งยังสามารถปรับปรุงการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยผ่านอุปกรณ์มือถือ (Improve Patient Engagement through Mobile Devices) ทำให้เกิดกระบวนการส่งข้อมูลและแอพพลิเคชันต่าง ๆ ไปยังอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยเพื่อให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมมากขึ้น

ก้าวใหม่สู่อุตสาหกรรมการบริการด้านสุขภาพในอนาคตด้วย “Data Lake