การพัฒนาประเทศด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Economy) ถือเป็นส่ิ่งสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ…

highlight

  • ภายใน 6 ปี (ปี 2025) การเพิ่มขึ้นของจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ที่ทวีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี และส่งผลทำให้เกิด “ข้อมูล” (Data) เพิ่มขึ้นจากทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มไปถึง 175 ZettaByte
  • การทรานสฟอร์ม ธุรกิจให้ทันต่อรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น โดยจำเป็นต้องวางรากฐานทางด้านเทคโนโลยีผ่าน 4 แก่น การสร้างระบบคลาว์ให้มีความน่าเชื่อถือ (Reliable Cloud), การบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างชาญฉลาด (Intelligent Big Data), การสร้างเน็ตเวิร์คคลาวด์อัจริยะตั้งแต่ต้นจนจบ (Intelligent Cloud-End Network) และการสร้างระบบที่รองรับการทำงานที่คล่องตัวที่ยอดเยี่ยม (Unparalleled Mobility) 

ถอดรหัสแนวคิด Digital Economy แบบฉบับ Alibaba

เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา Alibaba Cloud ได้จัดงานสัมมนาประจำปี ในชื่อ Apsara Conference 2019 ภายใต้ธีม The Rise of Data Intelligence และได้มีการเผยแพร่ให้รับชมในเว็บไซค์ www.alibabacloud.com/apsara-conference-2019 มีประเด็นที่น่าสนใจหลากหลาย

แต่หนึ่งในประเด็นที่น่าหยิบยกขึ้นมาเล่า คือเรื่อง Building the infrastructure of the Digital Economy ซึ่งมี Jeff Zhang CTO of Alibaba Group, President of Alibaba Cloud Intelligence ออกมาพูดคุย โดย Jeff Zhang ได้กล่าวว่า เรื่องของ เทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ ที่กำลัง

ขับเคลื่อนให้เกิด ดิจิทัลทรานสฟอร์มเมชั่น (Digital Transformation) นั้นมีแต่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงง่าย ๆ ข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนมากที่สุด คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ที่ทวีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี และส่งผลทำให้เกิด ข้อมูล (Data) เพิ่มขึ้นจากทั่วโลก

และคาดว่าจะเพิ่มไปถึง 175 ZettaByte ภายใน 6 ปี (ปี 2025) ทั้งนี้พิจารณาเฉพาะแค่ในประเทศจีน การเพิ่มขึ้นของปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้สามารถคิดเป็นมูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัล ในประเทศจีนคิดเป็นบริมาณถึง 67.9% ของมูลค่า GDP รวมของประเทศเลยทีเดียว

Digital Economy

“การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วนั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 4 ด้าน ได้แก่ ความต้องการ (Demand) ของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทำให้ธุรกิจจะต้องการจัดการบริหารสภาวะแวดล้อมระหว่างผู้บริโภค และธุรกิจ (C2B) ใหม่, กระบวนการผลิตเปลี่ยนแปลงไป (Production) นั่นหมายถึงว่าเราจะได้เห็นกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีในเชื่อมต่อ และควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางมากขึ้น, ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้า และบริการของผู้ขาย (Supply) ในอนาคตผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถตรวจสอบปริมาณความต้องการ และทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ สุดท้ายคือ กระบวนการทำงาน (Operation) จะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นแบบ กระบวนการของการมาทำงานร่วมกันเป็นพลวัต (Dynamic Collaboration) ซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจได้ดีขึ้น” Jeff Zhang กล่าว

โดยการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ด้าน นี้ จะบังคับให้องค์กรธุรกิจทั้งหลายต้องปรับตัวเอง ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการทำงานใหม่ หรือ ทรานสฟอร์ม ธุรกิจให้ทันต่อรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น โดยจำเป็นต้องวางรากฐานทางด้านเทคโนโลยีผ่าน 4 แก่นด้วยกัน คือ

การสร้างระบบคลาว์ให้มีความน่าเชื่อถือ (Reliable Cloud) กล่าวคือองค์กรต้องเตรียมพร้อมที่สร้าง หรือใช้ระบบคลาวด์ (Cloud) ให้สามารถรองรับนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นอย่าง IoT, Big Data, AI หรือ Blockchain ซึ่งการตัดสินใจในการลงทุนคลาวด์ได้อย่างเหมาะสมจะช่วยให้เกิดความคล่องตัว ปรับเปลี่ยนได้ รวดเร็ว รองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้

การบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างชาญฉลาด (Intelligent Big Data) วันนี้ผู้ประกอบธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเร่องของข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากที่สุด เพราะโลกธุรกิจได้ก้าวไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยช้อมูลเป็นหลัก ธุรกิจวันนี้จะต้องสามารถสร้างคุณค่าจากข้อมูลในทุกขั้นตอน 

ไม่วา่จะเป็น การเก็บข้อมูล (Data Collection), การทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleansing), การกำกับดูแลข้อมูล (Data Classification&Storage), การทำความรู้ความเข้าใจ และการแก้โจทย์ข้อมูล (Cognition&Mining) รวมถึงการทำกรทำแอพพลิเคชั่นที่ฉลาด (Intelligent Application)

การสร้างเน็ตเวิร์คคลาวด์อัจริยะตั้งแต่ต้นจนจบ (Intelligent Cloud-End Network) หมายถึงผู้ประกอบธุรกิจจะต้องสร้างโครงสร้างโครงข่ายคลาวด์ที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ในองค์กร เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตในรูปแบบเรียลไทม์ (Real-time) ให้รองรับอุปกรณ์ Internet of ้thing (IoT) และนำข้อมูลมาใช้งานให้ได้มากที่สุด

การสร้างระบบที่รองรับการทำงานที่คล่องตัวที่ยอดเยี่ยม (Unparalleled Mobility) ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องสร้างกระบวนการทำงานจที่รองรับการทำที่คล่องตัว (Mobility) จึงต้องมีเทคโนโลยีที่สามาถทำงานร่วมกันได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งก็อาจเป็น Mobile apps ที่สามารถสร้างที่ทำงานแบบไร้พรมแดนได้ (Borderless Workplaces)

Digital Economy

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน : ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก : www.pexels.com, thanachart.org

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage