Social Network

ปัจจุบันคำว่า Digital และ Disruptive และ Social Network คือสิ่งที่ทุกแบรนด์ต่างรู้จัก และใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับผู้บริโภค แต่เราจะรู้วิธีใช้ที่เหมาะสมได้?

ล่าสุดทาง เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย เอเจนซี่ผู้นำด้านประชาสัมพันธ์ และดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งระดับโลก ได้ออกมาเสนอ หลักการสำคัญเอาชนะกับดักโซเชียลเน็ตเวิร์ค “Courage & Commitment”  โดยหวังว่าจะสามารถช่วยแบรนด์ไปสู่อีกขั้นของการสื่อสารในยุคดิจิทัล

โดยจากผลสำรวจการใช้สื่อออนไลน์ล่าสุดโดย WE ARE SOCIAL ที่แสดงให้เห็นว่า คนไทยติดอันดับ ใน 10 ในหลายๆ ด้าน เช่น เป็นอันดับ ของโลกในการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อวันที่ ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และในด้านโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ชาวไทยใช้งานสูงถึง ชั่วโมง 10 นาทีต่อวัน

ถึงแม้จะมีผู้ใช้งานมากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแบรนด์จะสามารถใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คสื่อสารกับผู้บริโภคในยุคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ

2 Key เอาชนะกับดัก Social Network

Social Network
ไมค์ เคอร์ลีย์ กรรมการผู้จัดการโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น เฟลชแมน ฮิลลาร์ด

ไมค์ เคอร์ลีย์ กรรมการผู้จัดการโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น เฟลชแมน ฮิลลาร์ด กล่าวว่า ในขณะที่ทุกแบรนด์ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คในการพูดคุย ประชาสัมพันธ์ บอกกล่าวข้อมูลผลิตภัณฑ์และหวังที่จะปิดการขายผ่านช่องทางนี้ ทุกแบรนด์ต่างก็เล็งเห็นถึงปัญหาของยอดการเข้าถึง (Reach) และการมีส่วนร่วม(Engage) ที่ตกลงเรื่อยๆ

ทำให้แบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์ตามเทคโนโลยี ข้อกำหนด และระบบที่ปรับเปลี่ยน ไปตลอดเวลา การหลงกับดักเทคโนโลยีเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้แบรนด์ไม่สื่อสารกับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น Augmented Reality (AR), Virtual Reality (VR), Chatbot และ Big Data สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถสร้างประโยชน์

ให้กับแบรนด์ได้เลย ถ้าขาดความคิดสร้างสรรค์และกลยุทธ์ที่เหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อเราอยู่ในโลกที่เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ดังนั้นการวางกลยุทธ์ด้านโซเชียลที่มีประสิทธิภาพ คือสิ่งที่จะเป็นพื้นฐานไม่ให้หลุดไปในกับดักการใช้งาน ซึ่งจะต้องมาจากหลักการ 2 ข้อ ได้แก่

กล้าที่จะแปลก กล้าที่จะเปลี่ยน เพราะใดๆ ในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน

“ไม่มีใครไม่เปลี่ยนไป” อาจเป็นคำคมทวิตเตอร์ที่ไม่ได้เอาไปใช้เฉพาะกับเรื่องความรักความสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว เพราะแม้แต่เทรนด์ กลยุทธ์ธุรกิจ หรือพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของแต่ละคนเองก็ไม่เคยหยุดนิ่ง แน่นอนว่าอะไรที่เดิมๆ เหมือนเมื่อปีที่แล้ว เดือนที่แล้ว

หรือแม้แต่เมื่อวาน ก็อาจจะกลายเป็นของเก่า และตกเทรนด์ไปได้ภายในชั่วข้ามคืน สาเหตุที่ธุรกิจส่วนใหญ่อาจไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงนั้น เพราะกลัวความเสี่ยง แต่อย่าลืมว่าการอยู่เฉยๆ กับสิ่งเดิมๆ ก็เสี่ยงไม่น้อยไปกว่ากัน ถ้าไม่อยากถูกลืม แบรนด์ต้อง กล้า (Courage) ที่จะเปลี่ยน แล้วคุณอาจจะกลายเป็น “คนแรก” ที่คนอื่นต้องเดินตาม

โซเชียลมีเดีย ไม่ใช่แค่ทุกแบรนด์ต้องมี แต่ต้องทำให้ดี และโดน

ในยุคที่ทุกแบรนด์แย่งกันพูดเพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค โซเชียลมีเดียถูกใช้เป็นช่องทางสำคัญที่แบรนด์ใช้เพื่อเข้าถึงและติดต่อพูดคุยกับผู้บริโภค แต่การจะใช้โซเชียลมีเดียให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการนั้น ต้องมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน (Commitment) และเลือกแพลตฟอร์มอย่างเหมาะสม

หลายแบรนด์เห็นคนอื่นมีอินสตาแกรม ก็มีบ้าง คู่แข่งหันไปหาทวิตเตอร์ ก็ทำบ้าง โดยที่หารู้ไม่ว่า แม้แบรนด์อาจจะเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ได้กว้างขึ้น แต่ก็กำลังเสียทรัพยากรไปโดยใช่เหตุ เพราะยิ่งมีโซเชียลมีเดียหลายช่องทางมากเท่าไหร่ นั่นหมายถึง

แรงคนที่ต้องจัดสรรไปดูแล ไปคิดคอนเทนท์ หรือไปคอยตอบอินบ็อกซ์ พูดง่ายๆ มันคือต้นทุนทางธุรกิจดีๆ นี่เอง นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดช่องทางให้เกิดความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงได้

Social Network
อาสา ผิวขำ ผู้อำนวยการบริหาร สายงานโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย

ด้าน อาสา ผิวขำ ผู้อำนวยการบริหาร สายงานโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน แบรนด์กำลังหลงไปกับตัวเลขที่แพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ ให้ข้อมูล แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถวัดผลได้อย่างยั่งยืน

เราจึงได้เปิดหน่วยงาน โซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น (Social & Innovation)ขึ้นมาเพื่อให้บริการงานด้านบริหารข้อมูล วิเคราะห์และแนะนำเทคนิคในการสื่อสารให้กับแบรนด์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ลึกขึ้น และตอบโจทย์ด้านการทำธุรกิจได้อย่างแม่นยำ

โดยแผนกโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น มีสำนักงานกระจายอยู่ 8 แห่งทั่วโลก พร้อมทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดียมากกว่า 250 คน โดยความเชี่ยวชาญของโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น ที่เฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย พร้อมให้บริการแก่แบรนด์ ได้แก่

  • กลยุทธ์ด้านสื่อโซเชียลและออนไลน์ (Social and Online Media Strategy)
  • การสื่อสารแบรนด์บนแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Brand Communication)
  • การบริหารจัดการชุมชนออนไลน์ (Online Community Management)
  • การบริหารจัดการสื่อออนไลน์ และอินฟลูเอนเซอร์ (Online Media and Influencer Utilization)
  • การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล (Creative Digital Production)
  • การวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์เชิงลึก (Online Data Research and Analysis)

เราต้องไม่ลืมว่า เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดล้วนแต่มาจากความคิดสร้างสรรค์ ไม่เว้นแม้แต่เทคโนโลยีที่กำลังเป็นเทรนด์ทั่วโลก อย่าง ปัญญาประดิษฐ์ (AI), Chatbot, หรือVirtual Reality (VR) เราเชื่อว่า หากแบรนด์เข้าใจการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการวางแผนอย่างมีชั้นเชิง ก็จะสามารถอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วเพียงใด

3 คำถามที่แบรนด์จะตอบ เพื่อเป็น 2% ที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จาการวิจัยการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คของแบรนด์ระดับโลก 50 แบรนด์ พบว่า มีเพียง 2% เท่านั้น ที่สามารถสื่อสารผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นก่อนที่แบรนด์จะวางแผนการทำงานผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คควรต้องตอบคำถามให้ได้ 3 ข้อ ได้แก่

เราต้องการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างไร? โทรโข่ง หรือโทรศัพท์
การวางกลยุทธ์ด้านโซเชียลมีเดีย ไม่มีสูตรตายตัว ดังนั้นคำถามสำคัญของแบรนด์ คือ เราต้อวใช้แพลตฟอร์มนี้ เพื่อวัตถุประสงค์อะไร? หากต้องการสร้างการรับรู้ในวงกว้าง โซเชีลยมีเดียก็สามารถเป็นโทรโข่ง ที่บอกกล่าวข้อความต่าง ๆ ได้ดังที่สุด เนื่องจากคนรับรู้ได้เป็นจำนวนมาก แต่หากต้องการสร้างประสบการณ์ที่เจาะจง โซเซียมีเดียก็จะสามารถเป็นโทรศัพท์ที่มุ่งสื่อสารเฉพาะเจาะจงในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้

แบรนด์ต้องการใช้ศิปละ หรือวิทยาศาสตร์ หรือใช้ผสมผสาน ในการสื่อสารผ่านโซเชียล
แม้ว่าการสื่อสารมักถูกมองว่าเป็นงานด้านศิลปะ แต่สำรับโลกยุคดิจิทัล ทุการสื่อสารควรมีข้อมูล (Data) และข้อมูลเชิงลึก (Insight) ประกอบกัน เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง และนำไปพัมนาในเชิงกลยุทธ์ และแนวทางในการสื่อสารได้อย่างตรงกลุ่ม

มองหาผลลัพท์ หรือวัตถุประสงค์ ที่กว้างกว่า
นักกการตลาดมักนิยมใช้ตัวเลขชี้วัด เช่น ยอดวิว ยอดแชร์ ของแคมเปญ (Performance) เพื่อวัตผลสำเร็จจากการลงทุนผ่านสื่อออนไลน์ วันนี้หลายแรนด์พยาามหาเทคโนโลยี และเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะสามารถช่วยให้การสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียโดดเด่น หลากหลาย และรวดเร็ว มากขึ้น แต่มักลืมไปว่าความท้าทายที่แท้จริงของแบรนด์ คือ จะทำอย่างไรให้ตอบ วัตถุประสงค์ (Objective) ที่ตั้งไว้ได้ดีที่สุด

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่