AIS

AIS ประกาศวิสัยทัศน์ปี 2019 เดินหน้านำศักยภาพจากเทคโนโลยี Digital Intelligent ในรูปแบบ Platform ที่พร้อมเป็นรากฐานให้เกิด Innovation และ Digitalization ให้ประเทศ เน้น!! AI, ML, Robotic, IoT และ 5G…

เอไอเอส ยันต้องการที่ต้องการจะช่วยประเทศไทยการสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ในรูปแบบ Platform ที่พร้อมเป็นรากฐานให้เกิด Innovation และ Digitalization รวมถึงเป็นตัวกลางส่งต่อองค์ความรู้ให้พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ระบบเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนและพลิกโฉมจาก Digital ตลอดเวลา

AIS ย้ำภาพการเปลี่ยนแปลงประเทศต้องใช้เทคโนโลยี

 

AIS

กานต์ ตระกูลฮุน  ประธานกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า ปี 2019 นี้ คือการพลิกโฉมทางอุตสาหกรรมโลกครั้งใหญ่อีกขั้น จากเทคโนโลยี Artificial Intelligence, Machine Learning, Robotic, Data Analytic และ IoT  

ซึ่งจะส่งผลกระทบในทุกระดับ 3 ส่วน คือ สร้างรูปแบบใหม่ (Redefine) ของวิถีการใช้ชีวิต การทำงาน และการมีปฏิสัมพันธ์ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลง (Disrupt) รูปแบบของระบบเศรษฐกิจและสังคมไปอย่างสิ้นเชิง รวมถึง สร้างโอกาสใหม่ในการเติบโต (Emerging new opportunities) ทั้งในกลุ่มธุรกิจและระดับประเทศ 

ดังนั้นการขับเคลื่อนประเทศด้วย Innovation และ Digitalization ในทุกภาคส่วน จึงยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างไทยแลนด์ 4.0 ที่แข็งแกร่ง หรือ Digital Intelligent Nation และเอไอเอส ในฐานะภาคเอกชนผู้ให้บริการ Digital มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งกับภารกิจนี้

5G ในไทยอาจเร็วไป แต่จำเป็น!! ยันรัฐต้องมองประโยชน์

AIS

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราได้ขยายบทบาทสู่การเป็น Digital Platform เพื่อประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดให้ทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องเชื่อมต่อผ่าน Digital Platform

และทำงานร่วมกันในลักษณะของ Ecosystem ก่อให้เกิดพลังในการขยายขีดความสามารถสร้างสรรค์ Innovation หรือ บริการ Digital ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม  ดังเช่น กรณีของการสร้างระบบนิเวศน์ของอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือ IoT Ecosystem ผ่าน AIS IoT Alliance Program : AIAP

โครงการความร่วมมือของสมาชิกจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ IoT ซึ่งหลังจากเปิดตัวในปี 61 จนถึงวันนี้ สามารถสร้างสรรค์ IoT Solution และ Business Model ที่ตอบโจทย์การบริหารจัดการ ได้อย่างครอบคลุมและ ขยายเครือข่ายสมาชิกไปมากกว่า 1,000 ราย (จากจุดเริ่มต้นเพียง 70 ราย)

AIS

แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงของทั้งในส่วนของพฤติกรรมผู้บริโภค และเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นสิ่งที่เปลี่ยนทุกสิ่งไปจากอดีตอย่างมาก แม้เราจะมีการเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีมาต่อเนื่อง แต่ก็ยังอาจไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก ที่ทั่วโลกก้าวไปอย่างรวดเร็ว

ทุกวันนี้ เราเห็นกระแสของการพูดถึงเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 5 หรือ 5G ว่าจะเป็นสิ่งที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการ และวิธีการทำงานของเราไปอย่างที่คาดไม่ถึึง และเริ่มที่จะมีการเรียกร้องให้ผู้ให้บริการในประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งมองหาวิธีการที่จะนำคลื่นสัญญาณที่มีอยู่มาใช้พัฒนาให้เกิด 5G

Exhibition Zone ในงาน AIS VISION 2019

แต่เราต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่าแม้ว่าเทคโนโลยี 5G นั้นจะมีประโยชน์มาก แต่นั่นหมายถึงการลงทุนที่มหาศาลด้วยเช่นกัน ดังนั้นการที่จะลงทุนในส่วนของ 5G ในวันนี้ อาจะเร็วไปที่จะพูดถึง การที่เราพูดเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้สนใจที่จะลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยี 5G แต่เรามองในเรื่องของการความคุ้มค่าที่จะลงทุน

และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงความพร้อมในการใช้งานของทั้งตัวผู้บริโภคทั่วไป นักพัฒนาแฟลตฟอร์ม และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ทุกสิ่งล้วนมีความเกี่ยวข้องกัน ในหลายประเทศที่มีการใช้เทคโนโลยี 5G แล้วนั้นมีบริบทที่ค่อนข้างแตกต่างกับประเทสไทย 

เรื่อง 5G นั้นหากจะมองที่ประโยชน์ที่จะได้ ไม่ใช่เรื่องของความเร็วในการเข้าเร็วที่เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตของในส่วนผู้บริโภค เพราะ 4G ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั่้นเพียงพอ่อการใช้งานในเรื่องพื้นฐ่านทั่วไป แต่ 5G เป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นในส่วนของ “ธุรกิจใหม่” (New Business) ที่ต้องใช้โครงข่ายที่มีความรวดเร็วสูง และมีความหน่วงต่ำ (Latency) ในการ รับ-ส่ง ข้อมูล อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ หรืองานที่ต้องใช้งานควบคุมจากระยะทางไกล เป็นต้น

เนื่องจากหน่วยงานรัฐที่มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากคลื่นในรูปแบบที่แตกต่างจากประเทศไทย เพราะหน่วยงานในประเทศเหล่านั้นมุ่งหวังที่จะทำให้ประเทศเกิดการพัฒนา จึงมีการเปิดให้ผู้ประกอบการ หรือผู้ให้บริการสามารถนำคลื่นไปใช้งานในรูปแบบที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อทำให้เกิดนวัตกรรม หรือแฟลตฟอร์มใหม่ ๆ

ที่จะสามารถช่วยให้ประเทศมีศักยภาพในการแข่งขัน ร่วมถึงสร้างแรงดึงดูดให้เกิดการลงทุนจากบริษัทฯ ยักษ์ใหญ่จากทั่วโลก ซึ่งจะทำให้เกิดภาพในการพัฒนาการแข่งขันดีขึ้นโดยรวม และยังจะช่วยให้บุคลากรในระเทศไทยสามารถก้าวไปสู่บุคลากรที่มีคุณภาพที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้อีกด้วย

AIS

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีในประเทศไทยจะอาจจะช้ากว่าในประเทศเหล่านั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยนั้นด้อยกว่าประเทศอื่น ๆ แบบเทียบไม่ได้ เพราะในภูมิภาคเดียวเดียวกัน ประเทศไทย ยังคงเป็นผู้นำในการพัฒนาใช้เทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ ที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค

ซึ่ง เอไอเอส เรายังคงยืนยันวิสัยทัศน์ในการเป็น Digital Platform ภายใต้แนวคิด SHARING DIGITAL ECONOMY PLATFORM-เศรษฐกิจ Digital แบบแบ่งปัน” ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม และประโยชน์ร่วมกันให้แก่ทุกอุตสาหกรรม ในทุกระดับ และส่งผลให้ประเทศไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมแข่งขันในเวทีโลก

เตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

AIS

ฮุย เว็ง ชอง กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า เราพัฒนาเครือข่าย Digital อย่างกรณีของ  Mobile ซึ่งมีคลื่นความถี่มากที่สุดถึง 120 MHz (60MHzx2) อย่างไม่หยุดยั้ง

ดังเช่นปีนี้ได้เริ่มนำเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง Wifi6 (802.11ax) มาเริ่มให้บริการในชื่อ AIS Super Wifi+ ที่จะมอบความเร็วได้ถึง 4.8 Gpbs เพิ่มความสามารถในการรองรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้มากถึง 8 เท่า ตอบโจทย์การเติบโตของ IoT โดยในส่วนของ Fix Broadband นั้น

นอกจากจะขยายพื้นที่ให้บริการอย่างต่อเนื่อง ยังเสริมความแข็งแกร่งการบริการ ICT เพื่อองค์กร ที่จะส่งมอบผ่าน CS LoxInfo ในรูปแบบของ One Stop ICT Services อีกด้วย

AIS

นอกจากนี้ เรายังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง เพราะแม้ว่าจะยังไม่มี business case ที่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่า 5G จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากคุณสมบัติ 3 ส่วน

คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น, ขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อของ IoT และเครือข่ายตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด ซึ่ง AIS ได้เตรียมเครือข่ายให้พร้อมรับทั้ง 3 ด้านมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น 4.5G ที่เร็วระดับกิตกะบิท ,Massive MIMO 32T 32R ครั้งแรกในโลก, NEXT G, เครือข่าย NB IoT และ EMTC

AIS

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณภาพการตอบสนองของเครือข่าย หรือ Latency ก็เป็นรายแรกที่เริ่มปรับโครงสร้างเครือข่ายหลักที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค (AIS Core Network Architecture Ready for 5G) ให้สามารถสื่อสารตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์บริการต่างๆได้ทันที โดยไม่ต้องย้อนกลับมาผ่านศูนย์กลางเครือข่ายในส่วนกลาง

ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้อัตราการตอบสนองได้เร็วขึ้น เพราะค่า Latency ต่ำ ตอบโจทย์การใช้งานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางการแพทย์ หรือ อุตสาหกรรมยานยนต์อย่าง Self Driving Car อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยที่ผ่านมา เราได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งในการศึกษา วิจัย 5G เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศ จาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และภาคการศึกษา อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในเบื้องต้น ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้ทันทีในวันที่เทคโนโลยีพร้อม

ที่ผ่านมาเราทยอยนำเทคโนโลยี Artificial Intelligence, Machine Learning, Robotic มาอยู่ในกระบวนการให้บริการลูกค้า โดยปีนี้จะชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วยแนวคิด Unman Service ซึ่งจะเปิดตัวให้ได้สัมผัสอย่างต่อเนื่องตลอดปีนี้

พร้อมหนุน Ecosystem ในทุกแง่มุม

AIS

ในฐานะองค์กรเอกชนไทย นอกจากการสร้างสรรค์ และ พัฒนา Digital Platform แล้ว เรายังให้ความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาบุคลากรของ AIS ให้พร้อมในทุกมิติผ่าน AIS Academy ซึ่งพร้อมจะช่วยเสริมองค์ความรู้คนไทยให้ตื่นรู้และตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกยุค Digital ด้วยเช่นกัน

ในครั้งนี้จึงจัดสัมมนา “AIS ACADEMY for THAIs : Intelligent Nation Series” ขึ้นอีกครั้ง  โดยเชิญสุดยอดวิทยากรชั้นนำระดับโลกทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และตั้งใจให้เวทีนี้ ตอกย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือที่ภาคส่วนต่างๆ ได้มาแลกเปลี่ยนความคิด ทักษะ และศักยภาพที่แต่ละองค์กรมีอยู่

เพื่อร่วมสนับสนุนให้เกิด Ecosystem ในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ เทคนิค วิธีการต่างๆ กระจายออกสู่สังคมไทยในวงกว้าง  โดย AIS จะเป็นอีกหนึ่งตัวกลางที่พร้อมส่งเสริมในด้านเทคโนโลยี บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการ Transform องคก์กร เพื่อสร้างความแข็งแรงและเสริมศักยภาพให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างเท่าเทียมต่อไป

นอกจากการเตรียมพร้อมด้านองค์ความรู้แล้ว การรู้เท่าทันเทคโนโลยีก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะ Digital นั้นแม้ว่าจะมีประโยชน์มหาศาล แต่ก็อาจก่อให้เกิดโทษได้ ดังนั้นความตั้งใจสูงสุดของ เอไอเอส ในฐานะผู้ให้บริการ Digital จึงขออาสาทำหน้าที่ Network Educator

AIS

ด้วยการส่งต่อแบบชี้วัดความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ DQ – Digital Intelligence Quotient ไปสู่เยาวชน รวมถึงพัฒนา Network Protector ที่จะช่วยทั้งป้องกัน ปลูกจิตสำนึก สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อปลูกฝัง และพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีให้เยาวชนพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม

ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้ประเทศไทย พร้อมต่อการใช้เทคโนโลยี Digital มาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ และยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้เรายังมีความมุ่งหวังที่จะสร้างให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยใช้ข้อมูลที่ เอไอเอส มีภายใต้กรอบกฏหมายที่ยินยอมให้ทำได้ ซึ่งเราเชื่อว่าสิ่งนี้จะช่วยให้ประเทสไทยก้าวไปสู่ประเทศที่มีเครือข่ายในด้านองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ยิ่งใหญ๋ได้

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่