ผลสำรวจชี้ยอดผู้ใช้โปรแกรม แบบ stalkerware ตกเป็นเป้าหมายโดนละเมิดความเป็นส่วนตัวเพิ่มสูง 35% ขณะที่พบสายพันธุ์ย่อย (variant) มากถึง 380 ตัว ใน 8 เดือน ของปี 2019…


highlight

  • ในช่วงเดือน มกราคม ถึง สิงหาคม 2019 นับเป็นสัดส่วนเพิ่มสูงถึง 35% เมื่อเทียบกับตัวเลขปีที่แล้วในช่วงเดือนเดียวกัน และสายพันธุ์ย่อย (variant) ของโปรแกรมสปายแวร์มากถึง 380 ตัว มากกว่าปีที่แล้วถึง 31%
  • พบยอดผู้ใช้ที่ตกเป็นเป้าหมายที่มีการพยายามติดตั้งโปรแกรมสปายแวร์ ลงในโมบายดีไวซ์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง เพิ่มสูงเป็น 37,532 ราย

เพียง 8 เดือน พบ stalkerware ละเมิดความเป็นส่วนตัวเพิ่มสูง 35%

จากการเปิดเผยรายงานการสำรวจล่าสุดในรายงานเรื่อง “The State of Stalkerware in 2019” ของแคสเปอร์สกี้ (kaspersky) พบยอดผู้ใช้ที่ตกเป็นเป้าหมายที่มีการพยายามติดตั้งโปรแกรมสปายแวร์ ลงในโมบายดีไวซ์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง เพิ่มสูงเป็น 37,532 ราย

ในช่วงเดือน มกราคม ถึง สิงหาคม 2019 นับเป็นสัดส่วนเพิ่มสูงถึง 35% เมื่อเทียบกับตัวเลขปีที่แล้วในช่วงเดือนเดียวกัน นอกจากนี้ขอบข่ายของโปรแกรมดังกล่าวสปายแวร์ก็ขยายกว้างขึ้น โดยพบว่ามีสายพันธุ์ย่อย (variant) ของโปรแกรมสปายแวร์มากถึง 380 ตัว

มากกว่าปีที่แล้วถึง 31% โดยโปรแกรมดังกล่าวเป็นสปายแวร์ (Spy Ware) ที่มักใช้เป็นเครื่องมือในการสอดส่องรุกล้ำชีวิตส่วนตัวของผู้ใช้งาน มีความสามารถในการเข้าถึงข้อความ รูปภาพ โซเชียลมีเดีย พิกัดที่อยู่ คลิปภาพ และคลิปเสียง

stalkerware

ซึ่งในบางกรณีสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย โปรแกรม สปายแวร์ดังกล่าวจะซ่อนการทำงานภายใต้แบ็คกราวน์โดยที่ผู้ใช้ไม่ยินยอมหรือไม่รู้ตัว ซึ่งแตกต่างจากแอปถูกกฎหมายที่ผู้ปกครองใช้ควบคุมดีไวซ์ของบุตรหลาน (parental control)

โดยจากข้อมูลแปดเดือนแรกของปี 2019 มีผู้ใช้ 37,532 รายที่เป็นเป้าหมายพบความพยายามติดตั้งโปรแกรมสปายแวร์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2018 ซึ่งมี 27,798 ราย ตัวเลขนี้อาจดูไม่มากนักเมื่อเทียบกับมัลแวร์ประเภทอื่น ๆ

 

แต่ผู้ใช้ต้องพึงตระหนักว่า โปรแกรมสปายแวร์ นั้นถูกใช้เพื่อสอดส่องเหยื่อที่เล็งไว้โดยเฉพาะ และผู้ละเมิดจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมนี้ลงในโมบายดีไวซ์ของเหยื่อด้วยตัวเอ นอกจากนี้ ในช่วงเดือนมกราคม ถึง สิงหาคม 2018 ยังตรวจพบสายพันธุ์ย่อย 290 ตัว

ในปี 2019 นี้พบ 380 ตัว ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งในสามเลยทีเดียว ในประเทศไทยตรวจพบโปรแกรมสปายแวร์จำนวน 32 โปรแกรม ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีตัวเลขที่สูงกว่า นั่นคือ อินโดนีเซีย 392, ฟิลิปปินส์ 286, มาเลเซีย 217, เวียดนาม 107 และสิงคโปร์ 73 โปรแกรม

stalkerware

เอริก้า โอลเซน ผู้อำนวยการโครงการ Safety Net Project ที่เครือข่ายแห่งชาติเพื่อยุติความรุนแรงในครอบครัว (National Network to End Domestic Violence) กล่าวว่า โปรแกรมสปายแวร์ นี้ถูกออกแบบในทำงานในโหมดล่องหน

และควบคุมให้ไม่มีการแจ้งเตือนใดๆ แก่เจ้าของดีไวซ์ จึงทำให้ผู้ล่วงละเมิดและผู้ติดตามสอดส่องมีเครื่องมือที่ใช้คุกคาม ตามเฝ้าดู สอดส่อง และล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัวเหยื่อได้ การละเมิดนั้นน่าหวาดหวั่น สร้างความบอบช้ำ และสร้างความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อสปายแวร์

  • ตั้งค่าปิดกั้นการติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่รู้จัก
  • ไม่เปิดเผยพาสเวิร์ดหรือพาสโค้ดของโมบายดีไวซ์ให้คนอื่นรู้
  • ไม่เก็บไฟล์หรือแอปพลิเคชั่นที่ไม่รู้จักในดีไวซ์
  • เปลี่ยนการตั้งค่าความปลอดภัยทุกอย่างเมื่อจบความสัมพันธ์กับคู่รักหรือคู่สมรส เพื่อป้องกันการนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ในทางที่ผิดได้
  • ตรวจสอบรายการแอปพลิเคชั่นในโมบายดีไวซ์ เพื่อดูว่ามีโปรแกรมน่าสงสัยติดตั้งในดีไวซ์โดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่
  • ใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ เพื่อตรวจสอบและแจ้งเตือนเมื่อพบโปรแกรมสปายแวร์ที่พยายามรุกล้ำความเป็นส่วนตัวในโมบายดีไวซ์ เช่น Internet Security
  • หากสงสัยว่าตนเองตกเป็นเป้าหมายให้ติดต่อองค์กรหรือหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอความช่วยเหลือ
ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน : ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก : www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage