22 แบงก์ไทย และต่างประเทศ จับมือร่วมใช้ บล็อกเชน (Blockchain) บนระบบเดียวกัน ตั้งเป้าธุรกิจไทยเปลี่ยนมาใช้บริการหนังสือค้ำประกันบนบล็อกเชน 50% ภายใน 3 ปี พร้อมตั้ง “บีซีไอ” (BCI)พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศและผลักดันเทคโนโลยีให้เข้าถึงทุกกลุ่มธุรกิจ

highlight

  • ครั้งแรกของโลกในอุตสาหกรรมธนาคารที่ธนาคารไทย และธนาคารต่างประเทศร่วมใช้บล็อกเชนบนระบบเดียวกัน พร้อมตั้งเป้าธุรกิจไทยเปลี่ยนมาใช้บริการหนังสือค้ำประกันบนบล็อกเชน
  • ตั้งเป้าเพิ่มการใช้งานหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บนบล็อกเชนเป็น 50% ของหนังสือค้ำประกันทั้งประเทศ ภายใน ปี

แบงค์ไทย และต่างชาติ ร่วมใช้ Blockchain หนุนธุรกิจใช้ e-LG

ประเด็นดังกล่าวนับเป็นข่าวดีของธุรกิจทีต้องการจะทำงานให้กับหน่วยงานรัฐ ซึ่งโดยปกติแล้วหากต้องการยื่นประมูล หรือประกวดราคาในโครงการต่าง ๆ ของรัฐ จะต้องทำการเสนอราคาผ่านวิธีประกวดราคาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-ฺBidding) ซึ่งบ่อยครั้งจะมีประเด็นถกเถียงกันว่าไม่โปร่งใส หรือมีการฮั่วประมูลกันเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง

แต่ในวันนี้ปัญหาดังกล่าวนาจะมีทางออกแล้ว เมื่อ 22 แบงก์ไทย และต่างประเทศ ได้ร่วมสร้างโครงข่ายหนังสือค้ำประกันแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบ 100% โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ผ่านบริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่สนองนโยบายภาครัฐ

ที่ต้องการให้การ จัดซื้อจัดจ้าง ของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปอย่างโปร่งใส และให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมไม่มีการสมยอมระหว่างผู้เสนอราคา กับหน่วยงานรัฐ นั่นเอง ซึ่งที่ผ่านมา ผู้ประกอบการ ที่ต้องการจะเข้าประกวดราคาในโครงการของรัฐนั้นจะต้องมีการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

หรือเรียกว่า “หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์” (e-Letter of Guarantee หรือ e-LG) ซึ่งเป็นหนังสือรับรองสินทรัพย์หรือวงเงินผ่านระบบออนไลน์ ที่ผู้รับเหมาก่อสร้างที่สนใจงาน จัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ สามารถไปขอทำได้จากสถาบันการเงิน เพื่อนำไปยื่นต่อผู้รับหนังสือค้ำประกันที่เป็นภาครัฐ

และใช้เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หรือภาระผูกพันต่าง ๆ ที่ผู้ยื่นขอมีต่อผู้รับหนังสือค้ำประกันได้ ทำให้มีโอกาสมากขึ้นในได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ เพราะมีสถาบันการเงินเป็นผู้เข้ามารับประกัน ซึ่งมีการทำผิดสัญญา หน่วยงานรัฐที่รับหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์สามารถเรียกร้องให้สถาบันการเงินชำระหนี้แทนได้ในทันทีนั่นเอง

ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้ Thailand Blockchain Community Initiative เพื่อศึกษาเทคโนโลยีบล็อกเชน และนำมาพัฒนาเป็นบริการที่จับต้องได้จริงในภาคการเงิน และภาคธุรกิจ

ซึ่งเริ่มต้นจากธนาคารพาณิชย์ 14 ราย ร่วมกับรัฐวิสาหกิจ และธุรกิจขนาดใหญ่ในปี 2561 ที่ผ่านมา และปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์เข้าร่วมเพิ่มเติมรวมเป็น 22 ราย และให้สามารถใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด จึงได้มีการรจัดตั้ง บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด. ขึ้น

ซึ่งจะเป็นผู้ให้บริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บนระบบบล็อกเชนเป็นบริการแรก ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความร่วมมือ และขยายชุมชน บล็อกเชน ของไทยให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง สามารถรองรับบริการที่หลากหลายในอนาคต และช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ

จากการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน (Shared Infrastructure) และเทคโนโลยีบล็อกเชน ร่วมกัน ซึ่งจะสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวม ไม่เฉพาะต่อภาคการเงินของไทย แต่จะมีประโยชน์โดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน และการให้บริการของภาครัฐ ต่อไป  

Blockchain

ด้าน ปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย และประธานกรรมการ บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีบล็อกเชนได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและมีการนำมาใช้กว้างขวางมากขึ้น ในขณะที่ในประเทศไทยก็เริ่มใช้บล็อกเชนในทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มความสะดวก ปลอดภัย

และลดการจัดการเอกสารที่เป็นกระดาษลง ซึ่งการเชื่อมต่อทุกธนาคารที่เข้าร่วมด้วยแพลทฟอร์มเดียวกัน จะช่วยให้สามารถต่อยอดระบบให้เกิดเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และผลักดันเทคโนโลยีให้เข้าถึงทุกกลุ่มธุรกิจ เสริมประสิทธิภาพ และยกระดับการแข่งขันให้กับธุรกิจ และเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ บริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บนเทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นบริการแรกของบริษัท ที่มุ่งหวังให้ธุรกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่สามารถเข้าถึง ใช้งานได้จริง ด้วยต้นทุนที่รับได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการจัดการเอกสารและการดูแลข้อมูล ตลอดจนลดขั้นตอนในการทำงาน ภายใต้ความปลอดภัยระดับโลก

โดยเป็นการรับรองหนังสือค้ำประกัน ผ่านระบบ Cloud Technology ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ อาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งช่วยให้การใช้งานคล่องตัว ปลอดภัย เชื่อถือได้ ป้องกันการปลอมแปลงหนังสือค้ำประกัน รองรับการทำธุรกรรม และสามารถตรวจสอบสถานะได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ ทำให้ผู้ออกหนังสือค้ำประกันสามารถวางหนังสือค้ำประกันได้เร็วขึ้น ผู้รับวางหนังสือค้ำประกันสามารถตรวจสอบเอกสารได้อย่างรวดเร็วบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ 100% โดยบริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บนบล็อกเชนนี้จะเริ่มใช้งานในเดือนมิถุนายนนี้

และอยู่ภายใต้การทดสอบใน Regulatory Sandbox ของ ธปท. และสามารถรองรับองค์กรที่เป็นผู้รับหนังสือค้ำประกันเพิ่มได้ในไตรมาส 3 และในอนาคตจะมีการพัฒนาบริการอื่น ๆ บนเทคโนโลยีบล็อกเชนเพิ่มขึ้นด้วย

โดยเราตั้งเป้าเพิ่มการใช้งานหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บนบล็อกเชนเป็น 50% ของหนังสือค้ำประกันทั้งประเทศ ภายใน ปี จากมูลค่าหนังสือค้ำประกันผ่านระบบสถาบันการเงินไทยทั้งภาครัฐ และเอกชนกว่า 1.35 ล้านล้านบาท จำนวนมากกว่า 500,000 ฉบับต่อปี ในปัจจุบัน

Blockchain

ข้อมูลบริษัท

บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งจากเงินลงทุนเริ่มต้นของ 6 ธนาคารพาณิชย์ไทย คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย และธนาคารไทยพาณิขย์ ซึ่งจะร่วมใช้งานระบบพร้อมกับอีก 16 ธนาคารที่เข้าร่วมในปัจจุบัน

ได้แก่ ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ. ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย  ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ธนาคารทิสโก้ ธนาคารธนชาต ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์  ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย

ธนาคารมิซูโฮ ธนาคารยูโอบี ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทยธนาคารออมสิน ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) และธนาคารฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น

พร้อมทั้งกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ร่วมใช้งาน ราย ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) บมจ. ไทยออยล์ บมจ. ปตท. เอสซีจี บมจพีทีที โกลบอล เคมิคอล บจก. จีซี มาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่นส์ และ บมจไออาร์พีซี

โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาในการจัดตั้งบริษัท รวมถึงด้านกฎหมาย บริษัท ได้แก่ บจก. เอคเซนเชอร์ โซลูชั่นส์ บจก. เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ บจก. ศูนย์ประมวลผล บจก. ไอบีเอ็ม ประเทศไทย บจก. ทีบีเอ็น ซอฟต์แวร์ และบจก. กสิกร บิซิเนส เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน : ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก : www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage