Blockchain

เชื่อว่าหากเอ่ยถึงเทคโนโลยี “บล็อกเชน” (Blockchain) หลายคนคงคิดประโยชน์เในเรื่อง ของความปลอดภัยของข้อมูล แต่หากเรานำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้กับวงการสาธารณสุขล่ะ วันนี้จึงขอหยิบเรื่องดังกล่าวมา เล่าสู่กันฟัง ….

Blockchain กับสาธารณสุข

อย่างที่ทราบกัยดีกว่าจุดเด่นของ “บล็อกเชน” คือเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล ข้อมูลปรากฏนั้นจะมีความถูกต้อง และปลอมแปลงทำได้ยาก ข้อมูลมีความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ เรามักจะเห็นการใช้ เทคโนโลยีนี้ในอุตสาหกรรมทางด้านการเงินการธนาคารซะเป็นส่วนมาก

แต่ในความจริงแล้ว “บล็อกเชน” นั้นสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่คิด อย่างเช่นการนำไปใช้ให้บริการทางด้านสาธารณสุข ที่มีข้อมูลจำนวนมหาศาล ลองจิตนาการถึงแค่เพียงการสืบค้น “ชื่อ” ที่ในแต่ล่ะสถานพยาบาล มีชื่อของผู้ป่วยมากกว่า หมื่นรายชื่อ และอาจมีชื่อที่ซ้ำกันเป็นจำนวนมากทำให้ยากต่อการสืบค้น

และหากพิจารณาในแง่มุมที่ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นทุกวัน แต่เรายังไม่สามารถก้าวข้ามรูปแบบของการให้บริการแบบเดิม ๆ ที่มีความล่าช้า และข้อมูลขาดความเชื่อมโยงข้อมูล ที่ถูกต้อง นั่นหมายถึงความเสี่ยงของชีวิตผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

blockchain

5 ประโยชน์ที่ “บล็อกเชน” จะช่วยให้สาธารณสุขไทย

  • จัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลเวชระเบียนเพื่อการให้บริการด้านสาธารณสุข

แม้ว่าวันนี้เราจะได้เห็นการจัดเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลมากขึ้น ด้วยระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อจัดเก็บข้อมูลประวัติ
ผู้ป่วย และเวชระเบียน (Electronic Health Record: EHR) ทำให้ผู้ให้บริการสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล และนำข้อมูลเวชระเบียนไปใช้ประโยชน์ได้

แต่วันนี้การเก็บข้อมูลดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นมากกว่าการเก็บข้อมูลธรรมดาแต่ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย ในโลกที่ภัยไซเบอร์ทวีความซับซ้อนขึ้นทุกวัน การรักษาความเป็นส่วนตัว และความถูกต้องของข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่คำนึงถึงblockchain

การใช้งาน “บล็อกเชน” กับระบบ ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อจัดเก็บข้อมูลประวัติผู้ป่วย และเวชระเบียน จะช่วยสร้างความมั่นใจและสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลนั้นปลอดภัย เพราะข้อมูลจะถูก เข้ารหัส และมีเพียงผู้เป็นเจ้าของข้อมูลเท่านั้นจึงจะมี กุญแจถอดรหัสได้ (Private Key) อีกทั้งเจ้าของข้อมูลเท่านั้น

ที่จะเป็นผู้กำหนด “สิทธิ” ในการเข้าถึงเข้าถึงข้อมูลการรักษากับผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องได้ และหากมีการอัพเดตข้อมูลก็จะถูกบันทึกไว้บน “บล็อกเชน” ด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ “บล็อกเชน” กับระบบเวชทะเบียนแล้ว 

โดย MedRec หนึ่งในผู้ให้บริการแพลตฟอร์มระบบการจัดการ EHR ระหว่างผู้ป่วยกับสถานพยาบาล ในประเทศสหรัฐอเมริกาฯ ได้นำเอา “บล็อกเชน” ไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูลผลตรวจเลือด ประวัติการได้รับวัคซีน และการจ่ายยา รวมถึงประวัติการบำบัดรักษาของผู้ป่วย ทำให้เก็บข้อมูลที่แม่นยำ และถูกต้องมากขึ้น

ซึ่งมีผลตอบรับที่ดีมากจากสถาณพยาบาลทั่วประเทศ และมีการนำไปต่อยอดใช้งานกับหน่วยงานด้านอาหาร และยาของสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration: FDA) ด้วยผสมผสานใช้ร่วมกับเทคโนโลยี IBM Watson Health ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัติผู้ป่วย และเวชระเบียน

ผลการทดลองทางการแพทย์ ข้อมูลจากอุปกรณ์ติดตามตัวผู้ป่วย (Mobile Wearable Devices และ Internet of Medical Things: IoMT) เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาเพิ่มประสิทธิในกระบวนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่เปลี่ยนในระดับของสถานพยาบาลเท่านั้น แต่เป็นการนำไปใช้ในระดับประเทศด้วย

เพราะใน ประเทศเอสโตเนีย เองก็ได้นำเอาเทคโนโลยี “บล็อกเชน” มาใช้ในการจัดเก็บ และรักษาข้อมูลประวัติผู้ป่วย และเวชระเบียน ของผู้ป่วยกว่า 1 ล้านคน แล้ว

blockchain

  • เก็บรวบรวมข้อมูลเวชสถิติเพื่องานวิจัยด้านสาธารณสุข

เรายังสามารถนำ “บล็อกเชน” ไปประยุกต์ใช้ได้ในส่วนงานวิจัยด้านสาธารณสุข ได้เนื่องจาก เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้วว่าตัวเทคโนโลยีนั้นสามารถรักษาความลับของข้อมูลได้ ซึ่งจะสร้างความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวให้แก่เจ้าของข้อมูลได้

ซึ่งนักวิจัยจะไม่สามารถสืบไปถึงข้อมูลระบุตัวบุคคลหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล นั่นเอง อย่างไรก็ดีปัจจุบันได้เริ่มมีการนำเอา “บล็อกเชน” ไปพัฒนาต่อยอดในเชิงของการคาดการณ์เพื่อจัดการด้านสุขภาพของประชากร หรือพยากรณ์แนวโน้มสุขภาพของประชากร ในแต่ล่ะพื้นที่ได้ ทำให้เกิดการป้องกัน การแพร่กระจายของโรคได้

นอกจากนี้การที่ “บล็อกเชน” เข้าไปช่วยให้ข้อมูลนั้นมีความถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น ทำให้สามารถนำไปพัฒนาสู่สิ่งที่เรียกว่า “การแพทย์แม่นยำ” (Precision Medicine) ได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีไอซีที ร่วมกับเทคโนโลยีชีวโมเลกุล (Molecular Biotechnology) ซึ่งทำให้เกิดข้อมูลด้านเวชสถิตจำนวนมาก (Big Data)  มาวิเคราะห์ และใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้

  • สร้างระบบการจัดการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์

นอกจากนี้เรายังสามารถนำ “บล็อกเชน” มายกระดับงานในส่วนการจัดการเบิกจ่ายค่าชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ได้โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการทางการแพทย์ บริษัทประกัน หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น ประกันสังคมในบ้านเรา

โดยเราสามารถใช้ “บล็อกเชน” ในการเข้าถึง และติดตามตรวจสอบสถานะของข้อมูลต่าง ๆ ในทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ รวมถึงสามารถตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถลดปัญหาปัญหาในเรื่องการเบิกจ่ายซ้ำซ้อนได้

blockchain

  • สร้างระบบการจัดการกระบวนการ (Supply Chain) เพื่อการตรวจสอบ และป้องกัน

ด้วยการที่ “บล็อกเชน” เป็นเทคโนโลยี ที่ให้เรื่องของการปลอมแปลงข้อมูลที่ทำได้ยาก เพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ถูกบันทึกไปแล้วได้ เราจึงสามารถนำมาใช้ในการจัดการกระบวนการต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบติดตาม และปรับปรุง วิธีการขนส่ง และการจำหน่ายยาเพื่อให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า“การระบุ และค้นหาแหล่งทีมาได้” (Supply Chain Tracking) ซึ่งขั้นตอนนี้จะช่วยลด ปัญหาในเรื่องของ “ยาปลอม” ที่มักมีผู้ที่หัวใสออกแบบ บรรจุภัณฑ์ให้มีคล้ายคลึง ทำให้ผู้ป่วย เข้าใจผิดและได้รับอันตรายจากการรับประทานยา ทีทำเปลี่ยนแบบขึ้นมาได้

  • เพื่อออกแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโดยจูงใจให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อีกแนวคิดที่มีการนำเอา “บล็อกเชน” มาใช้ ซึ่่งผมขอเรียกว่าเรียกว่า “เงินรางวัลในรักษาตัวเอง” (Healthcoin) เป็นแนวคิดที่เพิ่งเริ่มมีการใช้ในวงการสาธารณสุขมากขึ้น คือการใช้ “บล็อกเชน” ในการออกแบบกระบวนการรักษาให้มีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยทำให้สามารถลดการรักษาโรคเรื่้อรัง ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาอย่างต่อเนื่อง

โดยหลักการแนวคิดนี้คือการ  “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ” ของตัวผู้ป่วยเองโดยสร้างแรงจูงใจให้
ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลคุณตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการรับยาอย่างต่อเนื่องตามแผนการรักษา

ซึ่งวิธีการคือการที่ผู้ป่วย นั้นจะต้องทำ “การชี้วัดการสัมผัสทางชีวภาพ” (Biomarker) เพื่อให้สามารถเก็บค่าต่าง ๆ ที่ได้ จากผลตรวจเลือด เพื่อยืนยันผลการดูแลตัวเองของผู้ป่วยไปในระบบ เมื่อมีการตรวจสอบยืนยันข้อมูลว่าผู้ป่วยได้ทำตามแผนการรักษาจริง มีผลด้านสุขภาพที่ดีขึ้นจริง ระบบจะประมวลผล 

และมอบรางวัลในรูป แบบของเงินดิจิทัล (Coin) ซึ่งผู้ป่วยสามารถนำไปใช้ในธุรกรรมอื่น ๆ ได้ เช่น นำไปลดเบี้ย
ประกัน หรือใช้เป็นส่วนลดค่าบริการทางสาธารณสุข
อื่น ๆ ได้

blockchain

อย่างไรก็ดีการนำเทคโนโลยี “บล็อกเชน” ไปใช้กับงานด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือข้อมูล (Data) จะต้องเป็นความจริงไม่ซ้ำซ้อน และจำเป็นต้องระมัดระวังในการใช้ในเรื่องข้อมูลในด้านนี้เนื่องจากเป็นข้อมูลอ่อนไหว และเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโดยตรง

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ศุภวาท (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
ทีี่มาข้อมูล: คณะกรรมการกิจการโทรทัศน์กิจการโทรทัศน์ 
           และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือกสทช. (กสทช)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่