ในยุคที่ธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับเปลี่ยนแปลง (Disrupt) ซึ่งเกิดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Digital Transformation) ปัญหาที่องค์กรส่วนใหญ่ต้องประสบนั้นคือจะทำอย่างไรกับการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีที่ลงทุนไปแล้ว และเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ได้อย่างลงตัว ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาจึงเกิดแนวคิดในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีที่เรียกว่า Hybrid IT ขึ้น

Hybrid IT

การเปลี่ยนแปลงองค์กรเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีนั้นอย่างที่ทราบกันดีว่าเป็นเรื่องของความยุ่งยากในกระบวนการที่แต่ละอุตสาหกรรมจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปตามแต่ละธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณ ความเหมาะสมลงตัวของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้งาน หรือแม้แต่ความพร้อมของบุคลากร เป็นต้น

ล่าสุดทาง ELEADER ได้รับเชิญจาก บริษัท ยิบอินซอย จำกัด (Yip In Tsoi) และ Hewlett Packard Enterprise (HPE) เข้าร่วมงานสัมมนา CIO.NXT Forum 2017 ซึ่งเป็นงานแสดงนวัตกรรมการเชื่อมโยงเทคโนโลยี เก่า และใหม่ หรือที่เรียกว่า “ไฮบริด ไอที” เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่องค์กร

โดยภายในงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารของ บริษัท ยิบอินซอย คือ คุณมรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (President & CEO) คุณสุภัค ลายเลิศ กรรมการอำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Executive Director & COO)

ร่วมไปถึง คุณพลาศิลป์ วิชิวานิเวศน์ กรรมการผู้จัดการของ HPE ประเทศไทย ซึ่งได้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องของแนวคิด “การเชื่อมระหว่างไอที” ไว้อย่างน่าสนใจ เกี่ยวกับแนวคิดในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีที่เรียกว่า ไฮบริด ไอที 

Hybrid IT

เปลี่ยนแนวคิด มองเทคโนโลยี Hybrid IT เป็นเรื่องที่ “ยืดหยุ่น และเชื่อมโยงได้”

มรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (President & CEO) บริษัท ยิบอินซอย (Yip In Tsoi) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะที่ ยิบอินซอย อยู่ในวงการธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและเชี่ยวชาญอยู่หลากหลายส่วน ตั้งแต่การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี ออกแบบ ติดตั้ง บริการซ่อมบำรุงระบบงานเครือข่าย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริมที่มีคุณภาพได้อย่างครบวงจร มากกว่า 30-40 ปี

เราจึงมองเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อองค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมว่าเป็นการตอบสนองความต้องการธุรกิจโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินการที่ต้องการความรวดเร็ว แม่นยำ ปลอดภัยสูง แต่ยังสามารถที่จะปรับตัวยืดหยุ่นได้ แต่แน่นอนว่าธุรกิจได้มีการลงทุนไปแล้ว และอาจจะยังไม่พร้อมต่อการลงทุนครั้งใหม่

ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่มาถึงนี้ ควรที่จะต้องให้สมรรถนะที่เพิ่มขึ้นได้บนพื้นฐานของการผสมผสานเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่ และเทคโนโลยีใหม่ ให้ลงตัวเกิดประสิทธิภาพ นำไปสู่ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ธุรกิจได้วางไว้ ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรธุรกิจและลูกค้า อยู่ในจุดที่เปลี่ยนแปลงพลิกผันได้แบบทันทีทันใด

วันนี้เราเห็นแล้วว่าธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมกำลังเร่งปรับเปลี่ยนตัวเองในช่วงรอยต่อนี้  เพราะเริ่มที่จะมีผู้ประกอบการหน้าใหม่เข้ามาแย่งกลุ่มลูกค้าของตน  ตัวอย่างที่ชัดที่สุดของการเปลี่ยนแปลงในวันนี้คือ ภาคการเงินการธนาคาร เพราะโลกกำลังก้าวสู่การทำธุรกรรมที่ไม่จำเป็นผ่านเคาเตอร์ธนาคารอีกต่อไปแล้ว

Hybrid IT

เราจึงเห็นธนาคารเริ่มทำตัวเป็นนักลงทุนให้แก่ สตาร์ทอัพ หรือทำตัวเป็น สตาร์ทอัพ เสียเองมากขึ้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อคิดค้นนำเสนอนวัตกรรมและกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่สามารถออกมารองรับให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ดีเรายังเห็นธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมที่ยังคงคิดหาวิธีที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงนี้

และยังปรับตัวยังช้าอยู่ อาทิ ธุรกิจประกันภัยที่ในวันนี้เริ่มมีพัฒนาการในการนำเสนอบริการผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่น แต่ก็ยังเป็นเพียงมุมของการให้บริการในการเรียกใช้เฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ยังไม่มีบริการครอบคลุมลงลึกไปในระดับความต้องการรายบุคคล ซึ่งหากดำเนินการได้เป็นผลสำเร็จในระดับนั้น

เราจะเห็นรูปแบบของธุรกิจประกันเปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่ เช่น การนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาผนวกรวมกับข้อมูลของลูกค้า และทำระบบตอบโต้แบบ บอท หรือแชทบอท (Chat Bot) มาไว้คอยให้บริการ เป็นต้น  ดังนั้นธุรกิจวันนี้จะต้องเปลี่ยนแนวคิดในการทำธุรกิจ

โดยมองเรื่องของการลงทุนเทคโนโลยีเป็นการสร้างสมรรถนะและความรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจ ให้มีความยืดหยุ่น และปรับตัวได้ตามกระแสของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ซึ่งในส่วนของผู้บริหารองค์กรที่ยังรอดูทิศทางการดำเนินการเปลี่ยนแปลงอยู่นั้น ยิบอินซอย ในฐานะที่เป็น SI (System Integrator) รายใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน

และอยู่เบื้องหลังโครงการไอทีขนาดใหญ่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ก็มีความพร้อมที่จะเข้าไปนำเสนอ เพื่อให้เห็นประโยชน์ว่าธุรกิจของท่านนั้นยังสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมได้ และเปิดรับเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างรูปแบบนวัตกรรมการบริการ

หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งจะยกระดับขีดความสามารถ เกิดความพร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งรายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้สะดวก ภายในกรอบเวลาที่รวดเร็ว ทันต่อการช่วงชิงความได้เปรียบเชิงการค้ามากยิ่งขึ้น

เปลี่ยนตัวเองไปพร้อมช่วยกับช่วยลูกค้า

สุภัค ลายเลิศ กรรมการอำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Executive Director & COO) บริษัท ยิบอินซอย (Yip In Tsoi) จำกัด เสริมว่า นอกเหนือไปจากบทบาทที่ ยิบอินซอย มีความพร้อมที่จะเข้าไปให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกค้าในกลุ่มธุรกิจต่างๆ แล้วนั้น อีกบทบาทที่เราให้ความสำคัญ คือ การยกระดับความสามารถของ ยิบอินซอย เองด้วย

ไม่ใช่รอให้ลูกค้าของเรามาถามหาเทคโนโลยี แต่ทีมงานยิบอินซอยต้องมีศักยภาพที่จะช่วยคิด ชี้แนะ ให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า และมีความเข้าใจต่อธุรกิจอละเทคโนโลยีอย่างดีพอที่จะเสนอลูกค้าได้ว่าเทคโนโลยีใดที่จะเหมาะสม สามารถเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ให้ธุรกิจไปถึงเป้าหมายได้ เช่น ทีมงานฝ่ายขายดูแลลูกค้าของเรานั้น

จะทำแต่เพียงขายเทคโนโลยีอย่างเดียวไม่ได้แล้ว หรือกล่าวคือ ทีมงานต้องรู้และเข้าใจในตัว ผลิตภัณฑ์ (Product) อย่างถ่องแท้ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ ว่ามากน้อยเต็มที่อย่างไร หรือจะช่วยสร้าง “คุณค่าต่อธุรกิจ” (Business Value) เพิ่มเติมให้ลูกค้าได้อย่างไร

Hybrid IT

โดยถือเป็นหลกัปฏิบัติของทีมงานของยิบอินซอยที่จะต้องมองอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น ประเภทธุรกิจ การดำเนินงาน การตลาด คู่แข่ง และเทคโนโลยีให้แก่ลูกค้า กล่าวคือ ต้องมีความเป็นที่ปรึกษา (consultant) ในตัวเองซึ่งเป็นธุรกิจความเชี่ยวชาญของเรา  

ส่วนปัญหาปัจจุบันขององค์กรส่วนใหญ่ที่มักจะขาดบุคลากรสารสนเทศในองค์กร  ยิบอินซอยมีบริการเอาท์ซอร์ส เซอร์วิส (Outsourcing Service) เพื่อให้บริการดูแลโครงสร้างระบบ โซลูชั่น ติดตั้ง แก้ปัญหาให้ลูกค้าแบบครบวงจร นอกจากนี้ยิบอินซอยยังวางแผนที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบของการทำงานให้มีความยืดหยุ่น ทันสมัย รับทิศทางปัจจุบันมากขึ้น 

โดยเราใช้วิธีการทดลองแนวทางใหม่ๆ เช่น มีชั่วโมงการทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Working Hours) หากมีแนวโน้มที่ดี ในอนาคตก็อาจพัฒนาไปสู่ทิศทางการทำงานจากบ้าน (Work at Home)  ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มอิสระและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน และในส่วนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีจาก สตาร์ทอัพ ที่หลายนวัตกรรมพบว่าน่าสนใจมีประโยชน์มาก

ทาง ยิบอินซอย เองมีโครงการจัดตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ขึ้นมาเพื่อให้คัดสรรและสนับสนุน สตาร์ทอัพ ที่น่าสนใจให้มาร่วมงาน และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยกัน แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องมาอยู่ภายใต้บริษัทยิบอินซอย แต่จะเป็นในรูปแบบการทำงานร่วมกัน ซึ่งอาจจะเป็นในลักษณะของบริษัทร่วมทุน และน่าจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นภายในปีหน้า (2561)

Hybrid IT

ก้าวไปสู่องค์กรยุคใหม่ได้ด้วย Hybrid IT

พลาศิลป์ วิชิวานิเวศน์ กรรมการผู้จัดการ  Hewlett Packard Enterprise หรือ HPE ประเทศไทย กล่าวถึงแนวคิดเรื่องของการเชื่อมระหว่างระบบไอทีระบบเก่ากับใหม่ หรือ Hybrid IT  ว่า เรื่อง เทคโนโลยีไอที ในวันนี้จะมุ่งไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IT Infrastructure) ให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจในยุค Digital Transformation ไม่ว่าจะเป็น ระบบคลาวด์

ซึ่งมีหลายแบบ ทั้ง Infrastructure as a Service (IaaS), Platform as a Service (PaaS), Software as a Service (SaaS)  และยังรวมไปถึง Workloads ของแอพพลิเคชันที่จะมารันบนโครงสร้างพื้นฐาน หรือการทำงานผสานระหว่าง Infrastructure กับ Workloads เองก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นกับองค์กร คือระบบไอทีเก่าก็ยังต้องดำเนินต่อไป

ในขณะเดียวกันก็พัฒนาระบบใหม่ๆ ขึ้นด้วย และด้วยเทคโนโลยีใหม่ของHPE ซึ่งสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานทางไอที ซึ่งมักเน้นไปที่ฝั่งฮาร์ดแวร์ ตอนนี้ HPE มีผลิตภัณฑ์ครบทั้ง 3 ด้านแล้ว คือ ระบบประมวลผล (Compute) ซึ่งเรามีเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant Gen10 และ ระบบเครือข่าย (Networking)

Hybrid IT

ได้แก่HPE Aruba Networks รวมไปถึง สตอเรจ (Storage) ได้แก่ HPE 3PAR และ HPE Nimble Storage นอกจากฮาร์ดแวร์แบบดั้งเดิมแล้ว HPE ยังพัฒนาฮาร์ดแวร์สำหรับตลาดใหม่ๆ เช่น HPE SimpliVity ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์แบบ Hyper-Converged และ HPE Synergy ที่เป็นเบลดเซิร์ฟเวอร์ยุคใหม่

ภายใต้เทคโนโลยี ‘composable Infrastructure’ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในยุคถัดไป แต่HPE ได้เป็นผู้นำในการริเริ่ม ณ ขณะนี้ ที่นำมาประกอบและปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นตามขอบเขตของงาน ขณะที่ในฝั่งของแอพพลิเคชันที่จะมารันบน โครงสร้างพื้นฐาน ก็ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเช่นกัน ด้วยแนวคิด DevOps ของHPE สามารถทำการผสานระหว่างของทั้งแบบเก่า และใหม่ เข้าด้วยกัน

ทำให้ระยะเวลาที่เคยดำเนินการ (Deploy) จากเป็นเดือนเหลือเพียงไม่กี่นาที นอกจากนี้ เรายังมีเครื่องมือที่ช่วยให้การจัดการระบบไอทีขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นไปโดยอัตโนมัติมากขึ้น อาทิ การควบคุมระยะไกล (Management API) ระบบการบริหารภาพรวมผ่าน Consoleหรือ Dashboard

ขณะที่เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเราได้ก่อตั้ง ธุรกิจด้านบริการและที่ปรึกษาไอทีใหม่ ที่ชื่อว่า HPE Pointnext ขึ้นมาทำธุรกิจ 3 ด้านคือให้คำปรึกษา (Advisory), การออกแบบและอิมพลีเมนต์ระบบ (Design & Implement) และการรับดูแลบริหารจัดการระบบต่างๆ (Operation Service) จึงทำให้HPE มีความพร้อมที่ให้บริการอย่างครอบคลุมทุกด้าน

Hybrid IT

อย่างไรก็ดีบทบาทของเราคือการสนับสนุนพาทเนอร์ ดังนั้นการตั้ง HPE Pointnext  จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้พาทเนอร์ของเรา อย่าง ยิบอินซอย สามารถให้บริการลูกค้าได้ดีมากขึ้น

แต่อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงยังต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจ และขนาดขององค์กร ปัจจัยที่จะทำให้เกิดขึ้นคือ การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ การใช้งานของผู้บริโภค และคู่แข่งรายใหม่ๆ ที่กระโดดเข้ามาร่วมในธุรกิจ ยกตัวอย่างกรณี  สตาร์ทอัพ และ ฟินเทค เป็นต้น 

การทำธุรกิจวันนี้จำเป็นต้องมองเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ไปสู่ระดับที่เป็นไมโคร เซอร์วิส เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นองค์กรจำเป็นจะต้องบริหารจัดการ โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม และผสานกับเทคโนโลยีใหม่ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรมากที่สุด” พลาศิลป์ กล่าวปิดท้าย

ส่วนขยาย
Yip In Tsoi & Co.,Ltd.
Hewlett Packard Enterprise - HPE Pointnext

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่