Schneider Electric

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น พร้อมเดินหน้าสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ประเทศด้วย EcoStruxure

highlight

  • ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทั่วโลกในปี 2562 มีรายได้ราว 26,000 พันล้านยูโร โดยภูมิภาคที่มีรายได้มากที่สุด ได้แก่ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  • EcoStruxure เป็นทั้งแพลตฟอร์ม และสถาปัตยกรรมแบบเปิด ที่ให้ความสามารถด้าน IoT ด้วยนวัตกรรมใน 3 ระดับ ทั้งระดับการเชื่อมต่อของผลิตภัณฑ์ (Connected product) การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทางที่ทำให้สามารถมอนิเตอร์อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบได้ (Edge Control)  และระดับแอปพลิเคชั่น การวิเคราะห์ และบริการ (Apps, Analytics and Services)

Schneider Electric ฟันกำไรทั่วโลก 26,000 พันล้านยูโร 

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ประธานชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประจำประเทศไทย และลาว กล่าวว่า ภาพรวมของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทั่วโลกในปี 2562 มีรายได้ราว 26,000 พันล้านยูโร โดยภูมิภาคที่มีรายได้มากที่สุด ได้แก่ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คิดเป็น 29%

รองลงมา ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ 28%และ ยุโรปตะวันตก 21% ตามลำดับ กลุ่มประเภทธุรกิจที่โตที่สุด คือ กลุ่มอาคารทั้งเชิงพาณิชย์ ที่พักอาศัย และอาคารโรงงานอุตสาหกรรม โดยคิดเป็น 40% อันดับที่ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม 29%และอันดับที่ ดาต้าเซ็นเตอร์ 16%

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รายได้ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ถีบตัวขึ้นกว่าปีที่แล้วที่มีรายได้ 24,700 พันล้านยูโร คือการปฏิรูปสู่ดิจิทัลในระดับโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นกลยุทธ์ที่จะสร้างเสถียรภาพ และประสิทธิภาพให้กับภาคธุรกิจต่างๆ อย่างยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยี

เช่น อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ IoT รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data ทำให้หลายบริษัทสามารถสร้างประสิทธิภาพและนวัตกรรม เป็นการเพิ่มข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน

Schneider Electric
ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ประธานชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประจำประเทศไทย และลาว

เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้นำรายได้ 5% ในแต่ละปี เพื่อทุ่มเทวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถเปลี่ยนไปสู่รูปแบบกระบวนการทางดิจิทัลได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น และด้วย EcoStruxure 

ซึ่งเป็นทั้งแพลตฟอร์ม และสถาปัตยกรรมแบบเปิดของทาง ชไนเดอร์ อิเล็คทริคเอง ให้ความสามารถด้าน IoT ด้วยนวัตกรรมใน 3 ระดับ ทั้งระดับการเชื่อมต่อของผลิตภัณฑ์ (Connected product) การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทางที่ทำให้สามารถมอนิเตอร์อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบได้ (Edge Control) 

และระดับแอปพลิเคชั่น การวิเคราะห์ และบริการ (Apps, Analytics and Services) ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผล วิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่แม่นยำ และถูกต้อง ขณะที่ EcoStruxure ในระดับของ แอปพลิเคชั่น การวิเคราะห์ และบริการ จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทราบสถานะ การแจ้งเตือน แนวโน้ม

ขอรายงานจากทีมผู้เชี่ยวชาญของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค พร้อมการวางแผนในการแก้ไขปัญหาหรือคาดการณ์แนวโน้มความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ก่อนที่จะเกิด ช่วยให้กระบวนการดำเนินงานต่างๆ มีประสิทธิภาพที่สุด

พร้อมสามารถที่จะเปรียบเทียบกระบวนการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม และด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์โดยตรงที่เราเรียกว่า ชไนเดอร์ อิเล็คทริค Service Bureau

นอกจากนี้ โรงงานชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย เอง ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู นับเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญด้านการเปลี่ยนแปลง จากโรงงานดั้งเดิมมาสู่โรงงานอัจฉริยะด้วยดิจิทัล โดยทางโรงงานได้นำโซลูชั่นอีโคสตรัคเจอร์ต่างๆ มาปรับใช้งานตามความจำเป็นในแต่ละช่วงเวลา

ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานกระบวนการผลิต ควบคู่กับการลดการใช้พลังงาน มีความโดดเด่นด้าน IoT สามารถมอนิเตอร์กระบวนการได้อย่างเรียลไทม์ โดยใช้โซลูชั่น

อาทิ สมาร์ทมิเตอร์ ให้ความแม่นยำด้านการวัดค่าพลังงาน ระบบ EcoStruxure Augmented Operator Advisor หรือ AOA สำหรับโรงงานอัจฉริยะ สามารถดูสถานะของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตผ่านแท็บเล็ต พร้อมแสดงวิธีการแก้ไขแบบเป็นขั้นตอนได้ ให้ความง่ายในการดำเนินงาน และลดระยะเวลาในการซ่อมบำรุง

Schneider Electric

เทคโนโลยีต้องสามารถเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่กับการลดการใช้ทรัพยากร

นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังเผยผลการใช้งานอีโคสตรัคเจอร์จากลูกค้าทั่วโลก ไว้ในรายงาน Global Digital Transformation Benefits Report 2019 ซึ่งว่าด้วยเรื่องประโยชน์หลักที่ธุรกิจจะได้รับจากการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CapEx) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OpEx)รวมถึงการสร้างความยั่งยืน ความรวดเร็ว และประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การรายงานมุ่งเน้นที่ 4 กลุ่มหลักที่มีผลต่อเศรษฐกิจ ได้แก่ กลุ่มอาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ อุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน

การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลนี้สามารถช่วยธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ ให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และใช้เวลาได้อย่างเหมาะสมได้ถึง 35% โดยเฉลี่ย นอกจากนี้ ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้สินทรัพย์และระบบงานใหม่ เฉลี่ยถึง 29% โดยทั้งองค์กร

และภาคธุรกิจต่างรายงานถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการใช้พลังงานได้ถึง 24% สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นถึง 50% แต่ใช้พลังงานน้อยลง ใช้วัตถุดิบน้อยลง ใช้แรงงานต่อชั่วโมงน้อยลง

ปัจจุบันอีโคสตรัคเจอร์ ได้มีการติดตั้งใช้งานมากกว่า 480,000 ไซต์งาน โดยผู้วางระบบกว่า 20,000 รายที่ให้การสนับสนุนในการติดตั้ง ซึ่งมีการเชื่อมต่อสินทรัพย์หรืออุปกรณ์มากกว่า1.5 ล้านรายการ

นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มองว่าการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ เทคโนโลยีต้องสามารถเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่กับการลดการใช้ทรัพยากร เพื่อความยั่งยืนทั้งชไนเดอร์ อิเล็คทริค ลูกค้า คู่ค้า และโลก ซึ่งล่าสุด ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้รับการจัดอันดับในหลากหลายสาขา

อาทิ ติดอันดับ 5 ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ในทำเนียบบริษัทที่น่ายกย่องมากที่สุดในโลกประจำปี 2562 ซึ่งจัดทำโดยฟอร์จูน, ติดอันดับที่ 11 ของทำเนียบซัพพลายเชนชั้นนำจากการ์ทเนอร์ใน 25 อันดับ, และยังได้ขึ้นทำเนียบท็อป 15 บริษัทของโลกที่ชูความเสมอภาคทางเพศ จาก Equileap 

ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศระดับโลก และที่สำคัญ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เข้าร่วมการประชุม COP 24 (Conference of Parties) หรือการประชุมรัฐภาคีออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 24

และได้ตอกย้ำคำมั่นสัญญาในการเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ภายในปี 2573 ด้วยการใช้โซลูชั่นที่จะช่วยเร่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งต่ำกว่าที่อุตสาหกรรมเคยกำหนดไว้ก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติในระบบนิเวศที่สำคัญ

Schneider Electric

และเพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งเน้นในการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย พร้อมเดินหน้าสานต่อนโยบายและสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการเติบโตของบุคคลากรในประเทศไทย

โดยได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา และสนับสนุนอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคการศึกษา รวมถึงพื้นที่ที่ไร้พลังงาน ด้วยแนวคิดที่ว่า การเข้าถึงพลังงานและดิจิทัล เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

ภาครัฐบาล ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านไฟฟ้า และมอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ช่างไฟสามารถมีองค์ความรู้ทัดเทียมกับช่างไฟทั่วโลก อาทิ ชุดอุปกรณ์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ และตู้ไฟของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ชุดอุปกรณ์โฮมออโตเมชั่น

เพื่อให้ช่างไฟได้สามารถต่อยอดองค์ความรู้ด้านระบบไฟฟ้าทั้งในปัจจุบัน และอนาคต เพื่อรองรับสังคมเมืองที่มีการเติบโต ซึ่งนอกจากจะมอบอุปกรณ์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังได้ถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้อีกด้วย

สถาบันการศึกษา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้สนับสนุนอุปกรณ์ และเปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษา อาทิสถาบันอุดมศึกษา โรงเรียนอาชีวะ ที่ต้องการต่อยอดองค์ความรู้ด้านวิศวกรรม และระบบไฟฟ้า เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เข้าใจเทคโนโลยี

รวมไปถึงได้ร่วมมือกับสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก ในการมอบความรู้ความเชี่ยวชาญให้กับครูอาชีวะทั่วประเทศ เพื่อให้ถ่ายทอดให้กับนักศึกษาเพื่อให้เข้าสู่อีอีซีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังเดินหน้าอย่างเข้มข้นทุกปีในโครงการ Access to energy ด้วยการมอบโคมไฟโมบิยาพลังงานแสงอาทิตย์ (Mobiya Solar Lanterns) ให้กับชุมชนที่ห่างไกลพลังงาน

ซึ่งปัจจุบันได้มอบไปแล้วจำนวน 1,173 ชุด ให้กับชุมชนที่พลังงานเข้าไม่ถึง มอบแสงสว่างให้แล้วถึง 4,692 ราย ซึ่งพวกเขาสามารถใช้ชีวิต ต่อยอดอาชีพได้ในพื้นที่ไร้แสงสว่างยามค่ำคืนได้ 

จากความมุ่งมั่นที่ ทุ่มเท ด้วยเจตนารมณ์อันหนักแน่นในการคิดค้นนวัตกรรมที่ให้ความยั่งยืนทั้งภาคธุรกิจและโลก ทำให้มีผลในเชิงบวกไปพร้อมๆ กัน ด้วยอีโคสตรัคเจอร์ ที่ล้ำหน้าด้วยเทคโนโลยีด้าน IoT ช่วยลดการใช้พลังงานควบคู่ไปกับการลดการใช้ทรัพยากร ลดกระบวนการที่ไม่จำเป็นในการดำเนินงาน

เพิ่มความคล่องตัว ลดปัญหาการการล่มของระบบ ให้ผลผลิตที่มากขึ้น ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานในยุคดิจิทัล รวมไปถึงการพัฒนากำลังคนด้านอาชีพและการศึกษาให้มีองค์ความรู้ทัดเทียมในระดับสากล การช่วยเหลือสังคมที่ไร้พลังงาน

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นดีเอ็นเอ ที่พนักงานของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทั่วโลก ให้ความสำคัญ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้วยคำมั่นสัญญาของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่มุ่งมั่นในเรื่องการสร้างนวัตกรรม ความหลากหลาย และความยั่งยืนช่วยให้ทุกคนมั่นใจได้ว่า Life is On” ในทุกที่สำหรับทุกคน และทุกช่วงเวลา

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่