e-Tax

เมื่อกล่าวถึงเรื่องระบบภาษีที่ทั่วโลกกำลังเร่งดำเนินการเปลี่ยนตัวเองให้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax) จะพบว่า ฟิลิปปินส์ คือหนึ่งในประเทศที่เดินหน้าอย่างจริงจังในการรื้อระบบภาษีเก่า ๆ และเดินหน้าสร้างโครงสร้างด้านภาษีใหม่ให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล…

highlight

  • ฟิลิปปินส์เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างภาษี ที่จะช่วยมอบความสะดวกสบายให้แก่ผู้เสียภาษี โดยการปรับปรุงระบบการบริหารการจัดเก็บภาษี (Tax administration) ให้ก้าวขึ้นไปอยู่ในรูปแบบของดิจิทัล แฟลตฟอร์ม และทำ Matching เพื่อตรวจสอบการเสียภาษี ทำให้สามารถจัดเก็บได้เพิ่มสูงถึงร้อยละ 400 ของเงินที่ลงทุนไปในระบบ ทำให้การเช็คข้อมูลเพื่อการตรวจสอบทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ฟิลิปปินส์ Role Model for e-Tax ภาษีออนไลน์ที่ทำได้จริง

ฟิลิปปินส์ (Philippines) ถือเป็นประเทศแรก ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงระบบภาษีแบบเก่าให้ก้าวไปสู่การการทำภาษีบนโลกดิจิทัล เพื่อลดปัญหาเรื่องของการอุปสรรคในการดำเนินงาน และสร้างรายได้เพิ่มให้กับประเทศ พร้อมสร้างแรงจูงใจให้แก่นักลงทุนชาวต่างชาติ ในเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศฟิลิปปินส์มากขึ้น

ท่ามกลางการปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ของแต่ละประเทศในอาเซียน ฟิลิปปินส์ ได้เดินหน้าขยับโดยการเสนอร่างกฎหมาย “โครงการปฏิรูประบบภาษีเร่งด่วน” (Tax Reform for Acceleration and Inclusion Act) ตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งโครงการปฏิรูปภาษีเร่งรัด ของฟิลิปปินส์  ถือเป็นการยกเครื่องครั้งใหญ่

เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา “อันดับความง่ายในการทำธุรกิจ” (Ease of Doing Business) ของฟิลิปปินส์ เมื่อเทียบกับสมาชิกอาเซียน ถือว่ามีพัฒนาการที่แย่ลง โดยถูกลดอันดับจาก 95 เป็น 103 ในปี 2016 จากทั้งหมด 189 ประเทศ ขณะที่แชมป์ยังคงเป็นสิงคโปร์ ต่อด้วยมาเลเซีย และประเทศไทย

ดังนั้น ฟิลิปปินส์ จึงมีความต้องการที่จะปรับระบบการชำระภาษี และเก็บภาษี ของตนเองเสียใหม่ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ชำระภาษีสามารถชำระภาษีได้ง่ายมากขึ้น และทำให้สามารถชำระภาษีในอัตราที่ต่ำงลง อีกทั้งยังเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาดำเนินธุรกิจมากขึ้น (*ภาษีมูลค่าเพิ่มของฟิลิปปินส์เดิม อยู่ที่ 12%

ถือเป็นอัตราสูงที่สุดในอาเซียน ยกเว้นภาษี เช่น สินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และปุ๋ย โดยประเทศส่วนใหญ่อยู่ที่ 10%) ซึ่งโครงการปฏิรูปภาษีเร่งรัด ของฟิลิปปินส์ ได้เสนอที่จะปฏิรูปภาษี 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), ภาษีสรรพสามิต ที่รวมถึงภาษีน้ำมันและรถยนต์ และภาษีอสังหาริมทรัพย์

นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยให้หน่วยงานรัฐ สามารถเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) ได้อย่างสมเหตุผลมากขึ้นอีกด้วย (*การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของฟิลิปปินส์ ในอัตราสูงสุดในอาเซียน คือ 32% ขณะที่ประเทศทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 23.68%)โดยการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานี้

e-Tax

จะช่วยให้ประชาชนของฟิลิปปินส์เสียภาษีได้อย่างสมเหตุสมผลมากขึ้น เนื่องจากแต่เดิมประชาชนของฟิลิปปินส์ จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นแบบขั้นบันได โดยหากมีรายได้ 10,001-30,000 เปโซ (Peso) ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ 10% หากมีรายได้ 30,001-70,000 เปโซ ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ 15%,

หากมีรายได้ 70,001-140,000 เปโซ ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ 20% และหากมีรายได้มากกว่า 5 ล้านเปโซ ขึ้นไป ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ 32% ก็จะเปลี่ยนเป็น หากมีรายน้อยกว่า 250,000 เปโซ ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี หากมีรายได้ 250,001-400,000 เปโซ ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ 15% หากรายได้ 250,001-400,000 เปโซ

ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ 20% แต่ผู้มีรายได้เกิน 5 ล้านเปโซ ต้องจ่ายภาษีให้รัฐเพิ่มขึ้นอีก 3% เป็น 35% ทั้งนี้น่าจะเป็นการแบ่งเบาภาระให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อยของประเทศฟิลิปปินส์ และเลือกที่จะไปเก็บเพิ่มในกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางจนถึงผู้มีรายได้สูงแทน ขณะที่การเก็บภาษีประเภทสินทรัพย์ (Property Tax) ก็จะปรับจากเดิมที่เป็น 2 อัตรา

คือ ในพื้นที่นอกเมืองเก็บไม่เกิน 1% และในเขตเมืองและเทศบาลอัตราไม่เกิน 2% เป็นไม่ต้องมีการแบ่งโซน แต่คิดจากมูลค่าทรัพย์สิน อาทิหากมูลค่าสินทรัพย์ไม่เกิน 200,000 เปโซ จะได้รับการยกเว้นภาษี หากมีมูลค่าระหว่าง 200,000-500,000 จะต้องจ่ายภาษีให้รัฐ 5% หากมีมูลค่า 2,000,000-5,000,000 เปโซ

ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ 11% เป็นต้น ขณะที่ ภาษีน้ำมัน ได้กำหนดอัตราภาษีใหม่ในช่วง 3 ปี (ปี 2018-2020) อาทิ น้ำมันเบนซิน จะปรับขึ้นจาก 4.35 เปโซต่อลิตรในปัจจุบัน เป็น 7 เปโซต่อลิตรในปี 2018 และขึ้นเป็น 9 เปโซต่อลิตรในปี 2019 และ 10 เปโซในปี 2020 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้น้ำมันน้อยลง

ด้านการจัด เก็บ “ภาษีความหวาน” ทางรัฐบาลฟิลิปปินส์ ได้ปรับการเก็บภาษีตามปริมาณในอัตรา 10 เปโซต่อเครื่องดื่ม 1 ลิตร ยกเว้นเครื่องดื่มบางชนิด เช่น น้ำผักหรือน้ำผลไม้ 100% ที่มีรสหวานโดยธรรมชาติ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2018 เป็นต้นไป และกำหนดให้ปรับขึ้นอัตราภาษีหลังจากนั้นทุก ๆ ปี ปีละ 4%

ซึ่งหากพิจารณาจากการทยอยปรับโครงสร้างภาษีอื่น ๆ ไปก่อนหน้า อย่างเช่น การเก็บภาษีสรรพสามิต ที่ปรับไปในปี 2012 กลุ่มสินค้าที่ทำลายสุขภาพ เช่น สุราและยาสูบ ที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ ปรับให้เก็บในอัตราภาษีเดียว และเรียกเก็บภาษีตามปริมาณ  ทำให้เกิดความเป็นธรรม และลดช่องว่างไม่ให้เกิดการหนีภาษีลงได้มาก

โดยจากการเปิดเผย World Bank ระบุว่าโครงการปฏิรูประบบภาษีเร่งด่วนทำให้ภายในปี 2012-2015 ที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์สามารถเก็บเงินภาษีบาปได้เพิ่มขึ้นถึง 155% ซึ่งได้นำไปใช้ในโครงการพัฒนาสวัสดิการสังคมต่าง ๆ เพิ่มขึ้น

e-Tax

โครงสร้างภาษีใหม่ เมื่อทำงานรวมกับเทคโนโลยีทำให้ผู้ชำระภาษีสะดวกมากขึ้น

แน่นอนว่าการปรับโครงสร้างภาษีเป็นเพียงโครงการนำร่องที่สร้างความเข้าใจให้แก่ภาคประชาชน และนักลงทุนต่างชาติ เพราะฟิลิปปินส์ยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างภาษี ที่จะช่วยมอบความสะดวกสบายให้แก่ผู้เสียภาษี โดยการปรับปรุงระบบการบริหารการจัดเก็บภาษี (Tax administration) ให้ก้าวขึ้นไปอยู่ในรูปแบบของดิจิทัล แฟลตฟอร์ม

ซึ่งจากการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้โดยเน้นการทำ Matching เพื่อตรวจสอบการเสียภาษี ทำให้สามารถจัดเก็บได้เพิ่มสูงถึงร้อยละ 400 ของเงินที่ลงทุนไปในระบบ ทำให้การเช็คข้อมูลเพื่อการตรวจสอบทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รวมทั้งการตรวจสอบข้อมูลระหว่างกรมศุลกากรอีกด้วย และยังสามารถแก้ปัญหาการหลบภาษีซื้อ ประการสำคัญคือ การลดระบบการพึ่งพามนุษย์ให้น้อยลง ลดการที่ เจ้าหน้าตรวจสอบภาษีต้องเจอกับผู้เสียภาษีเพื่อลดระยะเวลา ต้นทุนของผู้ตรวจสอบ ซึ่งผู้เสียภาษีสามารถติดต่อกับผู้ตรวจสอบผ่านระบบเครือข่าย

รวมทั้งการให้ระบบ e-report หากซอฟท์แวร์ตรวจพบความผิดปกติระบบส่งคำเตือนไปสู่ผู้บริหารขององค์กรทันที แทนที่จะส่งไปให้สมุบัญชีเนื่องจากผู้บริหารจะรักษาภาพพจน์ขององค์กรมากกว่า จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ฟิลิปปินส์ทำนั้นคือการรื้อโครงสร้างระบบภาษีเดิม จัดระเบียบใหม่ และจึงค่อยนำเอาเทคโนโลยีเข้าไปเสริมเพื่อให้เกิดความสะดวก

มากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางที่น่าสนใจที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้ได้ หลังจากที่เราได้มีการประกาศระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) ผ่านระบบ E-Tax Invoice by Email พ.ศ. 2560 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา

สำหรับผู้ประกอบการ ที่ยังไม่หายสงสัย หรือยังคงข้องใจกับการยกระดับกระบวนการด้านภาษีขององค์กรเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ภาษีอิเล็กทรอนิกส์ สามารถรอลงทะเบียนเข้าร่วมงาน “THE THAILAND e-TAX SYMPOSIUM 2019” ที่จะขึ้นโดย บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) กรมสรรพากร และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)

โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นภายในวันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนทัล กรุงเทพฯ เวลา 8.30-16.00 น. โดยภายในงานผู้เข้าร่วมจะได้รับข้อมูลที่มีประโยชนน์ และเกี่ยวข้องกับด้านภาษี จากผู้ให้บริการ และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ โดยเบื้องต้นขอสงวนสิทธิ์ในการเข้ารับฟังได้แก่กลุ่มผู้บริหารก่อน

e-Tax

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ บริษัท เออาร์ไอพี  จำกัด (มหาชน) Tel. 02-642-3400 ต่อ 4400 Fax. 02-641-2331 และ www.arip.co.th

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก www.pexels.com, www.thansettakij.com
                                        www.thansettakij.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage