เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาทาง E-Leader.com ได้มาร่วมงาน “mai Forum 2018 : พัฒนา^ก้าวหน้า^สร้่งสรรค์” และได้มีโอกาสเข้าฟังหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจอย่าง “ทันเทรนด์ ICO-IPO ลงทุนแบบไหนคุ้มค่า” ที่ได้วิทยากรชั่นนำมาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ที่น่าสนใจ

mai Forum 2018 : ทันเทรนด์ ICO-IPO ลงทุนแบบไหนคุ้มค่า

โดยในหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจอย่าง “ทันเทรนด์ ICO-IPO ลงทุนแบบไหนคุ้มค่า” ที่ได้วิทยากร อาทิ คุณปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บล.ซีแอลเอส (ประเทศไทย) และดร.พงศ์ธร ธาราไชย ประธานกรรมการบริหาร บมจ.โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส (PPS) 

และมี คุณ เอื้อมพร ปัญญาใส กรรมการ และผู้จัดการใหญ่ บมจ.เออาร์ไอพี ร่วมเสวนาสอบถามทำให้สามารถสรุปได้ว่าโลกของการงทุนกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้รู้ทุกวันนี้หากเอยถึงเรื่อง IPO (Initial Public Offering) หรือการนำเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะ คงจะไม่มีนักลงทุน หรือบริษัทฯ ไม่รู้จัก

mai

แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปเทคโนโลยีได้ส่งผลทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ICO (Initial Coin Offering) ขึ้นมาแทน และกลายเป็นวิธีการระดมทุนแบบใหม่ที่ต้องให้ความสนใจ และต้องจับตามอง แล้วทำไมเราจึงต้องให้ความสนใจ ICO นั่นก็เพราะโลกของการเงินเกิดสิ่งที่เรียก

สกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ขึ้นมา หรือหลายๆท่านอาจคุ้นเคยในชื่อที่เรียกกันติดปากว่า “บิทคอยน์” นั่นเอง ความแตกต่างระหว่าง เงินตราปกติ กับ เงินดิจิทัล คือเงินปกติสามารถมีเพิ่มได้เรื่อยๆ ตามที่ธนาคารแห่งชาติของแต่ละประเทศจะตัดสินใจพิมพ์ออกมา ขณะที่บิทคอยน์ นั้นถูกออกแบบให้มีจำนวนจำกัด

โดยที่ผู้ที่เข้าร่วมจะเป็นผู้ที่ช่วยกันประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายบิทคอยน์ หรือที่เรามักเรียกกันว่า “การทำเหมือง” (mining) ซึ่งสัดส่วนที่มีก็จะแตกต่างกันไป โดยเมื่อในเครือข่ายมีผู้เข้าร่วมเต็มจนครบโควต้า (ส่วนใหญ่อยู่ที่ 21 ล้านคอยน์) แล้วก็จะไม่มีเงินก้อนใหม่เกิดขึ้นอีก ารได้มาซึ่งบิทคอยน์จะต้องมาจากการซื้อขาย

mai

หรือแลกเปลี่ยนเท่านั้น สรุปสั้นๆความแตกต่างกันคือ ICO ไม่ได้เป็นการซื้อหุ้น (equity) เหมือนกับการขายหุ้น IPO แต่เป็นการซื้อเหรียญ “โทเคน” (token) ซึ่งไม่มีอะไรรับประกัน จำเป็นต้องศึกษาความน่าเชื่อถือ โอกาส ความสามารถที่จะเติบโต เพราะ ICO สามารถสร้างได้เรื่อยๆ ดังนั้นหาข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ

แล้วเหตุใดโมเดล ICO หรือการขายคอยน์เพื่อระดมทุนก้อนแรกจึงกลายเป็นที่นิยมมากขึ้นก็เพราะมีความคิดที่ว่าถ้าหากได้เป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งสามารถขายเงินดิจิทัลเป็นเงินจริงมาใช้ได้ จากนั้นจึงนำเงินจริงไปจ้างบุคคลากร และลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี ที่ตั้งใจให้ได้ตามเป้านั่นเอง

ยกตัวอย่าง บริษัท สตาร์อัพ ทั้งหลายที่มีไอเดียดีๆ จะไปก็แบงค์ก็ไม่มีหลักทรัพย์ หรือความน่าเชื่อถือก็ไม่มี วิธีนี่ก็เป็นจริง อย่างไรก็ตาม ICO ยังเป็นวิธีการระดมทุนที่ใหม่ ที่ไม่มีกฎหมายรองรับ ทั่วโลก ดังนั้นผู้ที่จะลงทุนใน ICO ก็ต้องพิจารณาความเสี่ยงของแต่ละโครงการ ว่ามีความน่าเชื่อถือแค่ไหน

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่