ในปัจจุบันมีแนวโน้มมากขึ้นด้านการเชื่อมต่อแหล่งพลังงานที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ กับโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ระบบอัตโนมัติสำหรับโครงข่ายไฟฟ้าในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการลงทุนในระบบอัตโนมัติ และระบบอัจฉริยะ เพื่อบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าเหล่านี้ แต่จะเลือกอย่างไรคือสิ่งที่หลายฝ่ายอยากทราบ

สงสัยไหมว่า? ทำไมการสร้างระบบไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ต้องใช้ควบคู่กันทั้งแบบรวมศูนย์ และแบบกระจาย

เมื่อตัดสินใจเลือกบริการด้านระบบไฟฟ้าสำรอง คำถามที่เกิดขึ้นคือระบบแบบไหนที่จะเหมาะกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบัน ระบบไฟฟ้าสำรองแบ่งออกเป็นสองแบบ คือแบบรวมศูนย์ (Centralized)  และแบบกระจาย (Distributed)  โดยในแต่ละระบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน

ทั้งนี้ ปัจจัยในการเลือกระบบสำรองไฟไม่ได้มีแค่การนำไปปรับใช้ในธุรกิจ การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะในการติดตั้งระบบสำรองไฟในบางระบบ จำเป็นต้องมีผู้เขี่ยวชาญในการติดตั้ง บำรุงรักษา และจัดค่าโหลดของกำลังไฟอย่างแม่นยำ ในบทความนี้ เราจะเห็นถึงปัจจัยบางอย่างที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกระบบสำรองไฟได้ง่ายขึ้น

และเพื่อไม่ให้สับสน ก่อนจะเข้าเนื้อหาหลัก ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงดันไฟฟ้า ขนาด 1 เฟส และ 3  เฟส ก่อน โดยระบบไฟฟ้าขนาด 1 เฟส จะมีแรงดันไฟฟ้า 220 – 230 โวลต์ (Volt)  ส่วนใหญ่จะใช้ในบ้านเรือนทั่วๆ ไป  ส่วนระบบไฟฟ้าขนาด 3 เฟส คือระบบไฟที่ใช้ในเชิงพาณิชย์หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องการแรงดันไฟฟ้ามากๆ โดยมีแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 380 – 400 โวลต์ ฉะนั้น การเลือกระบบสำรองไฟ ก็จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

การพิจารณาการใช้งาน UPS แบบรวมศูนย์ และแบบกระจาย

ในการติดตั้งระบบ UPS คุณอาจคิดว่า UPS แบบ Centralized จะให้ประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีกว่าแบบ Distributed เพราะเป็นการติดตั้ง UPS ขนาดใหญ่ไว้จุดเดียว สามารถบริหารจัดการได้ง่าย  แต่ถ้าเป็นระบบ Centralized แบบ 3 เฟส ขนาดใหญ่ขึ้นไป แนวคิดนี้คงใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะระบบดังกล่าวต้องการวิศวกรที่มีความชำนาญด้านไฟฟ้าเพื่อติดตั้ง และกำหนดค่าต่างๆ อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งต้องจ้างทีมวิศวกรเข้ามาดูแลและทำการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง

ในทางตรงกันข้าม UPS แบบ Distributed จะมีขนาดเล็กกว่าแบบ Centralized มาก รูปแบบการใช้งานจะเป็นแบบ Plug and Play สามารถยกมาวางแล้วเสียบใช้งานได้ทันที ดูแลรักษาง่าย เพราะสามารถติดตั้งและบำรุงรักษาเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องจ้างทีมวิศวกรเข้ามาดูแล แต่แน่นอนว่านี่จะขึ้นอยู่กับขนาดของโหลดที่ต้องการป้องกัน หากมีขนาดใหญ่เกินไปอาจจำเป็นต้องใช้ UPS แบบ 3 เฟส

การพิจารณาความน่าเชื่อถือในการเลือกใช้ UPS

โดยทั่วไปแล้วการพิจารณาว่าจะเลือกใช้ UPS  แบบใด ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรของคุณต้องการสำรองไฟเพื่อใช้ทำงานในลักษณะใด ซึ่ง UPS แบบ 3 เฟส (Centralized) สามารถให้ประสิทธิภาพดีกว่าระบบ 1 เฟส ในเรื่องของระยะเวลาเฉลี่ยระหว่างการเสียหาย (MTBF) นานขึ้น ทำให้อุปกรณ์ทำงานได้นานขึ้นหากเกิดเหตุฉุกเฉินเพราะมีแบตเตอรี่ใหญ่ และระบบที่ทำให้จ่ายกำลังไฟได้อย่างเสถียร ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ดี และน่าเชื่อถือได้มากกว่า UPS แบบ 1 เฟส หากจะนำมาใช้กับอุปกรณ์สำคัญ

แต่ UPS แบบ Centralized  ก็มีข้อเสียใหญ่อยู่หนึ่งจุด ซึ่งในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทั้งหมดจะไม่ได้รับการปกป้อง นั่นแปลว่าไฟอาจจะดับทั้งโรงงานได้  แตกต่างจาก UPS แบบ Distributed ซึ่งถ้าเกิดปัญหาขึ้นจะส่งผลในวงแคบๆ โดยอาจจะเป็นแค่คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่เท่านั้น

การกำหนดค่า UPS ในทางปฏิบัติ: 1 อาจไม่เหมาะกับทุกอย่าง

ทั้งนี้ การเลือกใช้ UPS ในการทำงานจริงไม่จำเป็นต้องเลือกสร้างแค่ระบบใดระบบหนึ่ง องค์กรใหญ่ๆ มักมีส่วนผสมของ UPS แบบรวมศูนย์ (Centralized)  และแบบกระจาย (Distribute) อยู่ในที่เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ในโรงพยาบาล อาจเลือกใช้ UPS แบบรวมศูนย์สำหรับต่อไฟฉุกเฉินระหว่างทางเดิน เพราะเป็นการง่ายที่จะเชื่อมต่อวงจรทั้งหมดไว้ในจุดเดียวกัน แต่การทำงานในห้องผ่าตัด หรือห้อง MRI นั้นแตกต่างออกไป เพราะแต่ละห้องนั้นจะมี UPS แบบกระจายเป็นของตนเองเพราะเป็นพื้นที่สำคัญที่ไม่ต้องการความเสี่ยง ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ UPS ส่วนกลางมีปัญหา เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มีความสำคัญมาก

เช่นเดียวกับห้างสรรพสินค้า การเลือกใช้ UPS แบบกระจายเพื่อใช้งาน ณ จุดขาย (Point of Sale)  และเลือกใช้ UPS แบบรวมศูนย์ เพื่อรองรับการทำงานของระบบแสงสว่างและระบบปรับอากาศ (HVAC) ซึ่งระบบดังกล่าวนี้จะถูกใช้ในโรงงานผลิตที่มีเครื่องจักรจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ในกรณีของห้องปลอดเชื้อ (Cleanroom) อาจมีจุดสำคัญบางอย่างที่ต้องให้ความสำคัญในการเลือกใช้ ทั้งนี้ ก็เพื่อรับประกันการป้องกันพลังงานเกิดปัญหา

ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจออกแบบ UPS

สรุปคือไม่ว่าระบบ UPS แบบใดก็มีความสำคัญ การจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อยู่ที่วิธีการของแต่ละองค์กร ซึ่งในความเป็นจริงในการเลือกติดตั้ง UPS ในแต่ละรูปแบบ คุณควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะสามารถแนะนำคุณตลอดทั้งกระบวนการตัดสินใจและการออกแบบที่เหมาะสมในแต่ละโหลดและมุมมองเกี่ยวกับด้านความเสี่ยงทางธุรกิจ

เพื่อให้คุณได้เริ่มต้นถูก เราขอแนะนำให้คุณไปที่เว็บไซต์ของ Schneider Electric Business Continuity คุณจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้ง Healthcare, Oil and Gas และอุตสาหกรรมอื่นๆ พร้อมกับมีตัวเลือก UPS ที่หลากหลายสำหรับการใช้เงินในเชิงพาณิชน์และอุตสาหกรรม ซึ่งหากคุณต้องการ  ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังมีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือในการกำหนดค่า UPS ที่ดีที่สุดสำหรับโรงงานของคุณ

บทความโดย

Gael Souchet

ที่มา : blog.schneider