Digital Health Care เป็นบริบทใหม่ของสังคมในการผลักดันระบบสาธารณสุขสู่ยุค Health Care 4.0 ที่ใช้ระบบไอทีเป็นแกนกลางของบริการทางการแพทย์ ตามยุทธศาสตร์ Digital Economy ของรัฐบาล

การเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ของการก้าวสู่ Digital Economy กลายเป็นการขับเคลื่อนพลวัตรให้เกิดการตื่นตัวในการก้าวสู่ดิจิทัลทั้งประเทศ วันนี้เรามีโอกาสได้รู้จักศัพท์ใหม่ ๆ อย่าง Thailand 4.0, Industry 4.0, Digital Economy, Digital Government และอีกหลายคำ รวมถึง Health Care 4.0 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีการขับเคลื่อนสู่ดิจิทัลอย่างจริงจัง

ภายใต้นิยามของ Health Care 4.0 นั้น เรากำลังพูดถึงการนำไอทีเข้ามาช่วยในการยกระดับและพัฒนาบริการทางการแพทย์และสาธารสุขให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า Digital Health Care ไม่ใช่แค่เพียงการสวมสมาร์ตวอตช์เพื่อวัดชีพจรสำหรับการออกกำลังกายเท่านั้น

Digital Health Care

ในต่างประเทศนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้กรอบไว้อย่างชัดเจน ว่า Healthcare 4.0  จะมีความเกี่ยวเนื่องกันใน 6 ด้าน ได้แก่ Service Delivery, Health Workforce, Information, Medical Products, Vaccines&Technologies, Financing และ Leadership/Governance ซึ่งแม้จะเป็นกรอบกว้าง ๆ ที่เข้าใจได้ยาก แต่เป็นกรอบของ Digital Health Care ทั้งหมด

ภายใต้กรอบและมาตรฐานดังกล่าว หลายประเทศได้ประยุกต์ใช้ไอทีเข้ากับการแพทย์และประสบความสำเร็จอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น อเมริกา ที่ปัจจุบันโรงพยาบาลมากว่า 83% มีการเก็บข้อมูลเวชระเบียนคนไข้ผ่านระบบออนไลน์

ขณะที่ในไทยเอง ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขกำลังอยู่ระหว่างการร่างแผนยุทธศาสตร์ eHealth ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะมีบทบาทในการผลักดัน eHealth หรือ Digital Health Care ให้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง

นั่นหมายถึง ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า ข้อมูลของคนไข้จะถูกเชื่อมโยงเข้าหากันผ่านเครือข่าย ทำให้โรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่งสามารถสืบค้นข้อมูล และนำมาใช้เป็นแนวทางในการพยาบาลและรักษาคนไข้ได้

นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการบูรณาการข้อมูลสาธารณสุขของประเทศ เพื่อก้าวไปสู่การแพทย์ที่เข้าถึงและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในทุกที่…

กลับมาที่บริการของโรงพยาบาล การก้าวสู่ Healthcare 4.0 เป็นการยกระดับบริการและคุณภาพในการรักษา โดยการใช้ระบบไอทีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ภายใต้เป้าหมายเพื่อให้คนไข้ได้รับบริการทางการแพทย์ที่ดีที่สุดนั่นเอง

แนวคิดที่น่าสนใจในการก้าวสู่ healthcare 4.0 เป็นการนำระบบไอทีเข้ามาจัดการระบบงานต่าง ๆ ในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถบริการคนไข้ได้ดีขึ้น

ระบบที่สำคัญ เช่น Electronic Health Record (HER) ซึ่งบันทึกข้อมูลจากทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลประวัติคนไข้ ประวัติการรักษา การแพ้ยา การจ่ายยา การวินิจฉัยโรค การดูแลผู้ป่วย รวมถึงข้อมูลจากห้องปฏิบัติการ เอ็กซเรย์ และแบ่งปันข้อมูลให้ส่วนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้โรงพยาบาลเข้าใจคนไข้ได้ดีขึ้น

ระบบ IT as Healthcare Service Enabler ที่เชื่อมโยงการสื่อสาร แลกเปลี่ยน และประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถบริการได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ เช่น การจ่ายยาอย่างไม่ผิดพลาด

ระบบ Clinical Decision Support System (CDSS) ระบบช่วยการตัดสินใจทางคลินิกเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และจัดการรักษาที่เหมาะสมและถูกต้อง

นอกจากนี้ยังมีระบบไอทีที่ช่วยในการจ่ายยา ระบบการรักษาแบบกลุ่มสำหรับผู้ป่วยที่ต้องพบแพทย์หลายสาขา (Care Co-Ordination) ระบบ Patient Engagement ที่ให้คนไข้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลการรักษาด้วยตัวเอง เป็นต้น

การยกระดับบริการเหล่านี้ โรงพยาบาลจำเป็นต้องพัฒนาระบบไอทีอย่างเหมาะสม ตั้งแต่การพัฒนาในระดับพื้นฐาน เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์ก จนถึงการพัฒนาระบบไอทีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น Data Center, Data Analytic ตลอดจนถึงการต่อยอดบริการผ่านโซลูชันต่าง ๆ

ปัจจุบันโรงพยาบาล และหน่วยงานสาธารณสุขส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาในการพัฒนาไอทีค่อนข้างมาก ตั้งแต่การพัฒนาในระบบพื้นฐาน การพัฒนาต่อยอด การขาดแคลนความตระหนักในปัญหาที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการขาดแคลนบุคลากรด้านไอที

Digital Health Care จึงเป็นการประกาศทิศทางการในการยกระดับบริการสาธารณสุขสู่ดิจิทัล โดยมียุทธศาสตร์ในการผลักดัน 6 ประการข้างต้น เพื่อเป็นแนวทางให้โรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขเดินตาม

จากปีนี้เป็นต้นไป เราอาจจะเห็นบริการสาธารณสุขของไทยนำไอทีมาใช้ในการพัฒนาบริการจนเทียบเคียงกับบริการในต่างประเทศ และก้าวสู่ความเป็น Medical Hub ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของประเทศไทย

ติดตามข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับ Healthcare