การปฏิวัติการ ค้าปลีก กำลังเกิดขึ้น ผู้ค้าปลีกหลายรายเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ ตอบรับกับพฤติกรรมผู้บริโภค ด้วยการใช้งานเทคโนโลยีที่มาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมซับซ้อน มากขึ้

ปัจจุบันธุรกิจในหลายๆอุตสาหกรรม เริ่มล้มหายไปจาก ซึ่งสาเหตุนั้นมีอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัว หรือการที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปสู่การความต้องการความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่เป็นกุญแจในการทำให้ธุรกิจล้มหายไปมากที่สุดคือการที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่ทันสมัย

และยังคงคุ้นเคยกับการทำงาน และบริการ ในช่องทางการขายในรูปแบบเดิม อีกทั้งด้วยวงจรธุรกิจที่สั้นลง มีผลิตภัณฑ์ใหม่ แบรนด์ใหม่ เกิดขึ้น และตายภายในระยะเวลาสั้น ทำให้ธุรกิจเปลี่ยนแปลง และตั้งตัวไม่ทัน ซึ่งหากธุรกิจต้องการที่จะอยู่รอดการปรับตัวสู่การใช่เทคโนโลยี รวมไปถึงช่องทางใหม่ๆจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ค้าปลีก โลกกำลังเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในวงการค้าปลีกโลกในวันนี้ นั้นเกิดขึ้นจากการที่ผู้ประกอบการต้องการเพิ่มยอดขาย และกำไรที่มากขึ้น โดยพยายามตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของสินค้า ความสะดวกในการซื้อ ฯลฯ โดยทั้งหมดก็เพื่อมุ่งผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า

จึงทำให้การซื้อขายขยายวงกว้างมากกว่าเดิมเกิดศูนย์การค้า และร้านสะดวกซื้อทำให้ซื้อหาได้สะดวกรวดเร็วตรงตามความต้องการ และมีการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่ถือเป็นการปฏิวัติระบบการค้าปลีกโลก สิ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในวงการค้าปลีกโลกในวันนี้ นั้นเกิดขึ้นจากการที่ผู้ประกอบการต้องการเพิ่มยอดขาย และกำไรที่มากขึ้น

โดยพยายามตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของสินค้า ความสะดวกในการซื้อ ฯลฯ โดยทั้งหมดก็เพื่อมุ่งผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า จึงทำให้การซื้อขายขยายวงกว้างมากกว่าเดิมเกิดศูนย์การค้า และร้านสะดวกซื้อทำให้ซื้อหาได้สะดวกรวดเร็วตรงตามความต้องการ และมีการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงที่ถือเป็นการปฏิวัติระบบการค้าปลีกโลก  แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ก็มาพร้อมกับการทำตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน โดยเปลี่ยนแปลงจากการทำตลาดแบบ กลุ่มย่อย (Segment) ไปเป็นตลาดที่เล็กเป็นเศษส่วน (Fragment) โดยตอบสนองในแต่ล่ะความต้องการไปเป็นรายบุคคลมากขึ้น

ค้าปลีก
ขอขอบคุณภาพจาก pixabay.com

โดยการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงนี้จะสามารถเกิดขึ้นได้จากการนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้งาน และสร้างการมีส่วนร่วม ระหว่างผู้บริโภค และสินค้า โดยสร้างกิจกรรมระหว่างสินค้า และกลุ่มเป้าหมาย และปรับบทบาทจากการสื่อสารเพื่อให้บริโภคทางเดียวมาเป็นการสื่อสารที่สามารถโต้ตอบ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคได้

ยกตัวอย่างเช่น Facebook ถูกออกแบบให้เป็น Social Network Site เพื่อให้ผู้คนติดต่อสื่อสารกัน ไม่ว่าจะเป็นการแชท เล่นเกมส์ โพตส์รูปและโพสต์คลิปวีดีโอ เมื่อไหร่ที่แบรนด์สินค้ามองหากลยุทธ์ในการทำ Social Network กับผู้บริโภค Facebook จะกลายเป็น Site ที่จะสร้าง Brand-based Content และเป็น Fan Site ซึ่งจะเชื่อมโยงประสบการณ์ของแบรนด์เข้ากับผู้บริโภค

และรวมถึงเป็นที่ที่ผู้บริโภคจะสามารถจะสร้างเนื้อหาของตัวเองลงไปได้อีกด้วย นับเป็นนวัฒกรรมของช่องทางการสื่อสารในยุคใหม่ และยังเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้าในอีกรูปแบบอีกด้วย ซึ่งเรามักเรียกช่องทางนี้ว่า  “ออมนิแชนแนล”  (Omni Channel Retailing) หรือก็คือการหลอมรวม (Convergence) ทุกช่องทางเพื่อให้สามารถเข้าถึงและสื่อสารกับลูกค้า

ค้าปลีก

ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า คอลเซ็นเตอร์ เว็บไซต์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ เช่น ในอนาคต ลูกค้า 1 คนไม่ว่าจะดูสินค้าออนไลน์จากเว็บของร้านค้าแห่งหนึ่ง แต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ ข้อมูลการดูสินค้าของลูกค้าจะถูกเก็บไว้และนำไปใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ omni-channel ไม่ว่าจะเป็น คอลเซนเตอร์ หน้าร้าน ฯลฯ วันใดวันนึง

เมื่อลูกค้าเข้าไปที่ร้านจริง ข้อมูลการของลูกค้าจะดึงขึ้นมาเพื่อให้พนักงานขายได้บริการลูกค้าได้ถูกต้อง และดียิ่งขึ้น การที่จะทำให้ Omni Channel Retail เกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัย เทคโนโลยีที่ที่มีความสมบรูณ์ และสามารถจัดการฐานข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่(Big Data Management)

ซึ่งแน่นอนว่าองค์กรจำเป็นต้องปรับวิธีการจัดการธุรกิจใหม่ด้วย โดยต้องสามารถจัดการ Logistics ที่รองรับความต้องการสินค้าอันรวดเร็วของลูกค้า ปรับช่องทางการประสานงานระหว่างช่องทาง (Channel ) ที่มีอยู่ให้ทำงานเป็นเนื้อเดียวด้วยการลงทุนทั้งโซลุูชั่น และเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะสร้างความแตกต่างได้

เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เยี่ยมยอดในการชอปปิ้งของลูกค้าในยุคดิจิตัลที่พร้อมจะชอปปิ้งมากกว่าแค่บนหน้าจอ ด้วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วที่จะสามารถส่งมอบ สินค้า และบริการ ให้แก่ผู้บริโภค ในแบบ “เรียลไทม์” (Real-time) ซึ่งจะทำให้เกิดผลสะท้อนกลับมาในรูปแบบความประทับใจ (Impression) และสร้างยอดขาย ให้เพิ่มสูงขึ้น

ค้าปลีก

บทความจาก E-LEADER