CAT

กสท. โทรคมนาคม จำกัด หรือ CAT เผยผลกำไร 11 เดือน ทะลุ 1.3 หมื่นล้านบาท หลังรุกให้บริการ IoT, Big Data และ IT Security ในปี  61 ประกาศเตรียมลุยเสริมทัพแฟลตฟอร์มบริการด้าน Big Data รองรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐ และเอกชน…

CAT เสิรมทัพโซลูชั่น Big Data พร้อมเดินหน้าหนุนรัฐ เอกชน หลังกำไรพุ่งหมื่นล้าน

พักเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2560-2561 กสท ได้เดินหน้าให้บริการทางด้านโซลูชั่นที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ โดยครอบคลุมในหมวดหมู่ของเทคโนโลยีชั้นนำ IoT, Big Data และ IT Security

ทำให้ในช่วงปีที่ 2561 ที่ผ่านมา กสท. สามารถทำกำไรสุทธิได้กว่า 13,675 ล้านบาท โดยมีรายได้ 58,713 ล้านบาท จากการให้บริการทั้ง 3 โซลูชั่น โดยในกลุ่มโซลูชั่นทางด้าน IoT ที่ กสท ได้ให้บริการ “LoRa IoT by CAT” มาอย่างต่อเนื่อง โดยตลอด 2 ปี กสท. ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง

ไม่ว่าจะการวางโครงข่ายไฟเบอร์ออปติก, 3G, 4G และ LoRaWAN ทั้งหมดเพื่อรองรับทุกการเชื่อมต่อ IoT ในทุกภาคส่วนทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าภายใน 5 ปี ข้างหน้าตลาดของ IoT จะเติบโตมากถึง 3-4 เท่า ของจำนวน โมบาย หรือประมาณ 300 ล้านอุปกรณ์

CAT

นอกจากนี้ กสท. ยังได้เดินหน้าต่อยอดความร่วมมือกับพาทเนอร์ ไม่ว่าจะเป็น เอกชน และสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยี เพื่อคิดค้น วิจัย และพัฒนาอุปกรณ์ IoT ในหลากหลายรูปแบบบนโครงข่าย LoRaWAN เพื่อเชื่อมโยงสู่บริการทางด้าน สมาร์ท โซลูชั่น ในรูปแบบใหม่ ๆ

ซึ่งปัจจุบัน กสท. ได้ให้บริการ IoT และสมาร์ท โซลูชั่น แก่หน่วยงานทั้ง ภาครัฐ และเอกชน ภายใต้แบรนด์  “LoRa IoT by CAT” แล้ว ใน 26 จังหวัด ซึ่ง กสท. ยังคงเดินหน้าขยายโครงข่าย LoRaWAN และพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะสามารถติดตั้งได้ครบทุกจังหวัดภายในไตรมาส 2 ของปี 2562

โดยปัจจุบัน ได้มีการใช้บริการอัจจริยะ แล้วใน จังหวัดภูเก็ต ซึ่งถือเป้นเมืองต้นแบบในเรื่องของ สมาร์ท ซิติี้ โดย กสท. ได้เข้ายกระดับโครงข่ายการสื่อสาร โดยมีการใช้ LoRa IoT ในส่วนของการบริหารจัดการเมือง และเพิ่มความปลอดภัย อาทิ สมาร์ทไลต์ติ้ง สมาร์ทมิเตอร์ และสมาร์ทแทร็กกิ้ง

CAT

ด้าน ดร.วงกต วิจักขณ์สังสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มกลยุทธ์องค์กร กล่าวว่า เป้าหมายของ บริการทางด้าน IoT ของ  กสท. ภายในปีหน้า จะยังคงเดินหน้าในการเข้าสนับสนุนหน่วยงานรัฐ เพื่อช่วยให้พัฒนาสู่ Smart Government ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

ซึ่งคาดว่าจะเป็นการใช้งานที่คิดเป็นสัดส่วน 80% ของการใช้งานทาง IoT ในประเทศไทย นอกจากนี้ ภายในปี  2562 กสท. เตรียมสร้างธุรกิจใหม่ในด้านการยกระดับของบริการเชื่อมโยงข้อมูล และโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยแฟลตฟอร์มสำหรับคลาวด์ เดต้าเซ็นเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการรักษาความปลอดภัยระบบไอที

ผ่านบริการในชื่อ “CAT Big Data” ทั้งหมดทำเพื่อรองรับการเกิดขึ้นของข้อมูลจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะในส่วนของหน่วยงานรัฐ เนื่องจากในอนาคตทุกหน่วนงานของภาครัฐที่กำลังก้าวสู่การพัฒนาสู่ระบบดิจิทัล ทำให้จำเป็นมีแฟลตฟอร์ม ที่จะช่วยให้สามารถจัดระเบียบ และบูรณาการข้อมูล

ให้มีความพร้อมที่จะนำไปวิเคราะห์ และใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้สูงสุด อย่างไรก็ตามการเสริมทัพทางด้านโซลูชั่นทั้งหมด กสท. จะไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการทำทุกอย่าง แต่เราจะสร้างแฟลตฟอร์มกลางที่ได้มาตรฐาน

และช่วยให้คำปรึกษา ผ่านความร่วมมือทั้งจากภาคเอกชน และโซลูชั่นของ กสท ได้พัฒนาขึ้นมา แลพเพื่อให้สามารถบริการ Big Data ได้อย่างปลอดภัย จากการเพิ่มจำนวนของอุกรณ์ทางด้าน IoT เราจึงเดินหน้าพัฒนาบริการ CAT Cyfence แบบ 2 ระดับความปลอดภัย

ไม่ว่าจะเป็นบริการที่ผ่านมาตรฐาน ISO 27001 และศูนย์ Security Operation Center หรือ SOC ที่มีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่ได้รับการฝึกอบรมเทคนิคสำหรับการให้บริการทางด้าน IT Security

ทำให้สามารถดูแลรักษาความปลอดภัยของทุกส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ Big Data ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ข้อมูล หรือศูนย์ เดต้าเซ็นเตอร์ ที่ผ่าน ISO 27001 และศูนย์ SOC ที่เฝ้าระวังความปลอดภัยให้แก่ข้อมูลตลอดเวลา หรือแม้แต่ข้อมูลที่จัดเก็บในแต่ล่ะหน่วยงาน ก็สามารถมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยได้

CAT

สานต่อบริการเดิมที่มีอย่างต่อเนื่อง

ด้าน โครงการดิจิทัลพาร์คไทยแลนด์ ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นโครงการในการสร้างบุคลากรทางด้านเทคโนโลยี และพัฒนาองค์ความรู้ ในการผลิตเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล ให้กับพื้นที่ EEC และประเทศไทย ปัจจุบันผ่านการจัดเวทีสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (Public Hearing)

ร่วมไปถึงภาคเอกชน (Market Sondding) นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการในส่วนของ PPP (Pubilc Private Partnership) เป็นที่เรียบร้อย และเตรียมเปิดจำหน่ายเอกสาร TOR และกำหนดการคัดเลือกเอกชนร่วมทุนภายในปีหน้า

ขณะที่ในส่วนของความร่วมมือระหว่าง กสท. และ ทีโอที คณะทำงานควบรวมกิจการ ผู้บริหาร และสหภาพ ของทั้งเรา และทีโอที กำลังหารือร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการลงทุน ซึ่งเชื่อว่าเมื่อควบร่วมแล้วจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีขึ้น

เมื่อได้ข้อสรุปเตรียมนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และคณะรัฐมนตรี ซึ่งหากแต่ล่ะคณะให้ความเห็นชอบในแนวทางตามที่คณะทำงานฯ ก็จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีออกมติอนุมัติให้ควบร่วมกิจการ

ขณะที่ในส่วนของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ต ก็จะยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมไปถึงการเคลียร์ข้อพิพากที่ยังค้างคากับผู้ให้บริการเอกชนเดิม ซึ่งคาดว่า กสท. จะยังสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดให้เติบโตได้ตามภาวะของตลาดได้

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่