วันนี้แนวโน้มของเรื่อง คลาวด์ (Cloud) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและประเทศไทย นั้นมีอยู่ปัจจัย 3 เรื่อง ซึ่งเป็นแนวโน้มที่กำลังจะกำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจในปัจจุบันแบบพลิกฝ่ามือ

เรื่องแรกคือการที่นวัตกรรมและโมเดลทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่กำลังเข้ามาสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและบริษัททุกขนาด เรื่องที่สองการเกิดขึ้นของข้อมูลมหาศาลที่กำลังเพิ่มจำนวนเป็นเท่าทวีคูณ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภาพ วิดีโอ เซ็นเซอร์ ข้อมูลการเต้นของหัวใจ ฯลฯ และเรื่องสุดท้ายคือเรื่อง Digital Transformation ซึ่งเป็นเรื่องที่องค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าองค์กรนั้นจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหนก็ตาม

ในปัจจุบันมีองค์กรเพียง 15% เท่านั้น ที่มีขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิบและระบบวิเคราะห์ขั้นสูงทั่วทั้งองค์กร ปริมาณข้อมูลมหาศาลทำให้แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเก่าไม่มีศักยภาพเพียงพอ ขณะที่บทบาทของคลาวด์ก็กำลังเปลี่ยนไป

กล่าวคือ เรากำลังก้าวผ่านยุคของการแสวงหาระบบคลาวด์ที่เหมาะสมกับองค์กร มาสู่ยุคของการใช้คลาวด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของนวัตกรรมทางธุรกิจ โดยงานวิจัยชิ้นใหม่จากสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBM Institute for Business Value: IBV) ในหัวข้อ “Beyond Agility: How Cloud is Driving Enterprise Innovation” ได้สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมวิจัย 1,000 รายจาก 18 อุตสาหกรรมทั่วโลก พบว่า

ปัจจุบันบริษัทร้อยละ 71 ใช้คลาวด์ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ขณะที่ร้อยละ 76 เปิดเผยว่าโครงการริเริ่มด้านคลาวด์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของตน กำลังก่อให้เกิดการขยายตัวสู่อุตสาหกรรมใหม่ ๆ ธุรกิจกำลังใช้ประโยชน์จากคลาวด์ในฐานะแพลตฟอร์มการสร้างแบบจำลองทางธุรกิจใหม่ ๆ ช่วยลดเวลาการนำที่ต้องใช้ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด นำสู่การเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า และเป็นเครื่องมือในการขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ

คลาวด์กำลังก้าวเข้าสู่บทบาทของการเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กร แต่จากผลสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ องค์กรต่าง ๆ ยังมองว่าปริมาณงานประมาณ 45% ของตนยังคงต้องพึ่งพาเซิร์ฟเวอร์แบบ On Premise ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เกือบเท่ากันกับเมื่อสองปีก่อน คลาวด์ในรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานจะเริ่มกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป

แต่เทคโนโลยีที่มีให้บริการบนคลาวด์จะกลายเป็นสิ่งที่เพิ่มมูลค่าและมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเครื่องมือวิเคราะห์ เครื่องมือด้าน Cognitive และเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา ในแง่ของการใช้คลาวด์ในรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที Hybrid Cloud จะเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุด และกลายเป็นทางเลือกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ เพราะองค์กรเหล่านี้ไม่ต้องการจะเคลื่อนย้ายทุกสิ่งไปไว้ใน Public Cloud หรือเก็บรักษาทุกสิ่งไว้ใน Private Cloud

สร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจด้วย 3 ระยะ

การพิจารณาถึงผลลัพธ์จากการลงทุนใช้คลาวด์ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย และการสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน โดยระยะแรกองค์กรจำเป็นต้องพิจารณาว่าคลาวด์จะส่งผลต่อการลดต้นทุนรวมอย่างไร เพราะการใช้คลาวด์จะช่วยให้องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปรับปรุงอุปกรณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ 2-3 ปี

โดยให้ผู้ให้บริการคลาวด์แบกรับต้นทุนต่าง ๆ ของ Date Center แทน ระยะที่สองคือเมื่อลูกค้าจะเริ่มหันมาใช้ องค์กรควรใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมถึงใช้เทคโนโลยีที่อยู่บนคลาวด์เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลดิบที่มีจำนวนมหาศาล นำมาซึ่งความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะช่วยเร่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยช่วยให้การสร้างต้นแบบแนวความคิดใหม่ ๆ นั้นทำได้เร็วขึ้น โดยสามารถทดลองหรือยกเลิกการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้ทันทีหากแนวคิดนั้น ๆ ไม่ประสบผลดังที่คาดไว้

ระยะที่สาม เมื่อมีการปรับใช้ระบบคลาวด์กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น นั่นหมายถึงการเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถแบ่งปันข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ทำให้สามารถแบ่งปันข้อมูลที่มีความสำคัญบางอย่างผ่านทาง API ซึ่งนับเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าคลาวด์สามารถช่วยสนับสนุนนวัตกรรมและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ การแบ่งปันข้อมูลและองค์ความรู้ขององค์กรกับกลุ่มพันธมิตรในระบบนิเวศ จะช่วยส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมทั่วทั้งระบบนิเวศ

ขณะที่การใช้คลาวด์เป็นแพลตฟอร์มในการสร้างนวัตกรรมร่วมกันจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้บริษัทตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงสตาร์ทอัพ อันเป็นการช่วยกระตุ้นและสร้างความยั่งยืนให้เศรษฐกิจไทยในระยะยาว

และเนื่องจากการที่คลาวด์เป็นแพลตฟอร์มที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ สามารถช่วยสนับสนุนส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กร อาทิ ส่วนงานปฏิบัติการ งานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ หรือแม้แต่การถอดมุมมองเชิงลึกจากข้อมูลจำนวนมหาศาลด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะอย่าง เทคโนโลยี Cognitive Computing โดยจากงานวิจัยของเรายังพบว่าองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีคลาวด์จะสามารถใช้สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆได้ เช่น

สามารถเพิ่มฟีเจอร์ของผลิตภัณฑ์และบริการ พร้อมทั้งปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้สามารถใช้งานง่าย สามารถช่วยสร้างต้นแบบ พัฒนา รวมถึงเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ โดยที่สามารถออกแบบประสบการณ์ของลูกค้าตลอดเส้นทางการซื้อให้ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละคน อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ และเข้าถึงอุตสาหกรรมหรือตลาดใหม่ ๆ ได้ ซึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจก็มีเกิดขึ้นแล้ว

เช่น กรณีของ ConvoLab สตาร์ทอัพสัญชาติไทย ที่ได้ใช้เทคโนโลยี AI ขั้นสูงผนวกกับเทคโนโลยี Machine Learning ที่เปิดให้เข้าถึงได้บนแพลตฟอร์มคลาวด์ “IBM Bluemix” ในการพัฒนา Chatbot ที่ทำหน้าที่ตอบคำถามลูกค้าของธนาคาร ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจโทรคมนาคม หรือแม้แต่ธุรกิจโฆษณายักษ์ใหญ่ของโลก ผ่าน Facebook, Messenger หรือ LINE ซึ่งช่วยลด Workload ของเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าเฉลี่ยถึง 60% ลดความหงุดหงิดในการรอคิวเพื่อคุยกับเจ้าหน้าที่ให้บริการ ซึ่งนำสู่ความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นกว่า 80%

นอกจากนี้ยังทำให้อัตราการใช้บริการ Customer Services ผ่าน Chatbot เพิ่มขึ้นถึง 250% หรืออย่างเวิร์ลพูลเลือกใช้เทคโนโลยี Internet of Things ที่อยู่บน IBM Bluemix ในการพัฒนาความสามารถและช่วยลดการใช้พลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

เช่น การพัฒนาเครื่องซักผ้า ที่สามารถสื่อสารกับเครื่องอบผ้าว่ามีปริมาณและลักษณะผ้าอย่างไร เพื่อให้สามารถเลือกโปรแกรมการอบผ้าได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังสามารถเรียนรู้รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้เพื่อส่ง Feedback ให้วิศวกรของเวิร์ลพูลในการออกแบบเครื่องให้ตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น หรือเพื่อช่วยผู้ใช้ในการสั่งผงซักฟอก แผ่นกรอง หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยตรงผ่านร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น

แน่นอนว่าประโยชน์เทคโนโลยีคลาวด์นั่นไม่ได้มีประโยชน์แค่กับกลุ่มของสตาร์ทอัพเพียงเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับองค์กรทุกระดับ ดังเช่นในกรณีของธนาคารกสิกรไทยได้เริ่มนำเทคโนโลยี Blockchain ที่อยู่บนแพลตฟอร์มคลาวด์ มาใช้ IBM Bluemix ในการรับรองเอกสารต้นฉบับ สร้างระบบให้บริการการเก็บรักษาและเรียกใช้เอกสารต้นฉบับดังกล่าว

โดยมุ่งเน้นความถูกต้องมีมาตรฐานเดียวกัน ลดความเสี่ยง สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วปลอดภัย ถือเป็นอีกตัวอย่างในการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ช่วยเร่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม และสร้างต้นแบบแนวคิดทางธุรกิจใหม่ ๆ จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่าคลาวด์ได้ก้าวเข้ามามีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการบริหารงานและการบริการลูกค้าขององค์กรในปัจจุบัน

ประสบการณ์ที่แปลกใหม่จากการลงทุนใช้คลาวด์

ด้วยความสามารถต่าง ๆ ที่อยู่บนแพลตฟอร์มคลาวด์ อาทิ เทคโนโลยี Cognitive, Internet of Things, Blockchain, Quantum Computing ฯลฯ จะนำสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมและโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ช่วยให้ผู้บริโภคจะสามารถสัมผัสกับประสบการณ์การให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่

ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ทาง จินนี โรเมตตี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไอบีเอ็ม ระบุว่าจะมีคนจำนวน 1 พันล้านคนทั่วโลกที่จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี IBM Watson ภายในปีนี้ ในกิจกรรมทุกเรื่องนับตั้งแต่การเลือกประกันภัย การดูแลสุขภาพ การศึกษา การใช้บริการหรือซื้อสินค้า การสำรองการเดินทาง

หรือแม้แต่การมีส่วนร่วมกับรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันคลาวด์ของไอบีเอ็มและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ให้บริการอยู่บนคลาวด์ จะทำหน้าที่เสริมศักยภาพให้กับแบรนด์ชั้นนำระดับโลกต่าง ๆ มากมาย อาทิ American Airlines, AT&T, AIG, BNSF, Etihad Airways, Kimberly Clark, Lufthansa, Pratt & Whitney, Royal Bank of Canada, Shop Direct, Siemens, U.S. Army, Vodafone India และ 1-800-Flowers อาทิ

 

สายการบิน American Airlines ประกาศย้ายกลุ่มแอพพลิเคชันที่สำคัญที่สุดมาไว้บน IBM Cloud ครอบคลุมถึงการย้าย aa.com โมบายแอพฯ สำหรับลูกค้าและแอพพลิเคชันคีออสก์ของสายการบิน หรือเมื่อเร็ว ๆ นี้ H&R Block ได้ใช้เทคโนโลยี IBM Watson ที่อยู่บนคลาวด์เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าใจทางเลือกต่าง ๆ ในการยื่นและลดภาษีได้ดีขึ้น

ในอนาคตคลาวด์จะฉลาดขึ้น

ในอนาคตคลาวด์สำหรับองค์กรธุรกิจในระยะต่อไปจะต้องประกอบด้วยสามคุณลักษณะสำคัญ คือแข็งแกร่งรองรับการใช้งานในองค์กรทุกขนาด Public Cloud ในอนาคตจะมีความยืดหยุ่นและสามารถช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วน Private Cloud จะเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการจัดเก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อนไว้อย่างปลอดภัย หรือด้วยเหตุผลข้อบังคับต่าง ๆ

อย่างไรก็ดี Hybrid Cloud จะเป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ได้ลงทุนไปแล้วและได้รับประโยชน์จาก Public Cloud ในขณะเดียวกันระบบคลาวด์ จะต้องมีการประมวลผลที่ตอบสนองความต้องการใช้งานที่หนักหน่วงขององค์กรและนักเล่นเกม (ตั้งแต่การมี Bare Metal ไปจนถึงเครือข่ายศูนย์ข้อมูลที่มีทั่วโลก ซึ่งช่วยจะลด Latency ลง) และสามารถส่งมอบโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมสำหรับทั้ง Private Cloud, Public Cloud และ Hybrid Cloud

นอกจากนี้การมี Cloud Data Center ในหลายประเทศยังจะเป็นการช่วยให้ลูกค้าสามารถเก็บรักษาข้อมูลเฉพาะที่และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการได้อย่างรวดเร็ว รองรับข้อบังคับและกฎระเบียบที่เข้มงวดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การเงิน ยานยนต์ การบิน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค รวมถึงอุตสาหกรรมที่ต้องดำเนินธุรกรรมสำคัญ ๆ

และคลาวด์ในอนาคตจะคำนึงถึงข้อมูลเป็นอันดับหนึ่ง จะต้องช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถย่อยข้อมูลดิบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก นั่นหมายถึงองค์กรหนึ่ง ๆ จะต้องสามารถประมวลผลทั้งข้อมูลสาธารณะ ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลที่มีใบอนุญาตร่วมกันได้ สามารถจัดการข้อมูลไว้เฉพาะที่หรือแยกเดี่ยวได้ (เพื่อไม่ให้ข้อมูลปนกันและสร้างความสับสน)

โดยจะมีการออกแบบที่เน้นรองรับการทำงานกับข้อมูลมหาศาลหลากหลายประเภท สามารถย่อย จัดระบบ และเชื่อมโยงเหตุผลของข้อมูลสาธารณะ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลที่มีใบอนุญาต และข้อมูลแบบ Multimodal Data ช่วยให้ลูกค้าสามารถย้ายข้อมูลระหว่างศูนย์ข้อมูลทั่วโลกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีเทคโนโลยี Cognitive, AI หรือ Machine Learning เพื่อช่วยให้สามารถพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับการแก้ไขปัญหาเฉพาะที่ซับซ้อนของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น