Hongmeng OS

Huawai ออกโรงแนะนำอุตสาหกรรมไทยใช้ Hongmeng OS เหมาะใช้ร่วมกับอุปกรณ์ IoT เพื่อยกระดับ ไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ และการใช้ชีวิต…

highlight

  • หงเหมิง” (Hongmeng) เป็นระบบปฎิบัติการที่เหมาะสมกับทุกอุตสาหกรรม เพราะสามารถใช้บนอุปกรณ์อัตโนมัติที่จะขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี IoT ซึ่งต้องการความหน่วงเวลา (Latency) ต่ำ ซึ่ง หงเหมิง สามารรถมอบความหน่วงไม่เกิน 5 มิลลิวินาทีหรือต่ำกว่านั้น และอาจต่ำกว่า 1 มิลลิวินาที เลยทีเดียว
  • หัวเว่ย ยัน ธุรกิจไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องของความปลอดภัยแต่อย่างใด เนื่องจากอุปกรณ์ของเราเชื่อมต่อเป็นเหมือนท่อนำส่งข้อมูล ซึ่งการที่จะเข้าถึงย่อมมีระบบข้อมูลเป็นตัวกำหนด และระบบเหล่านี้ก็ควบคุมโดยผู้ให้บริการระบบโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ ไม่ใช่หัวเว่ย

หัวเว่ย ชี้ Hongmeng OS เหมาะกับใช้พัฒนา IoT ในไทย 

ในงาน IoT Industry Summit 2019 ที่ผ่านมา มร. เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารหัวเว่ย ได้ออกมาพูดถึงระบบปฎิบัติการ หงเหมิง (Hongmeng) ที่เป็นประเด็นสืบเนื่องจากพิษสงครามการค้าระหว่างจีน และสหรัฐ ว่าเป็นระบบปฎิบัติการที่เหมาะสมกับทุกอุตสาหกรรม 

เพราะสามารถใช้บนอุปกรณ์อัตโนมัติที่จะขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี IoT ซึ่งต้องการความหน่วงเวลา (Latency) ต่ำ ซึ่งประเทศไทยการที่จะสามารถขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้สำเร็จ ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things : IoT) เป็นหนึ่งเทคโนโลยีเทรนด์ที่สำคัญที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมต่าง ๆ

เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ และการใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด ได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็น รากฐานที่สำคัญของการพัฒนาไปสู่เรื่องการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บิ๊กดาต้า (ฺBig Data) และยังเป็นส่วนสำคัญของ 5G อีกด้วย

ซึ่งการที่ ระบบปฏิบัติการ “หงเหมิง” นั้นมีความล่าช้าต่ำในระดับคงที่ โดยในแต่ละจุดจะมีความหน่วงไม่เกิน 5 มิลลิวินาทีหรือต่ำกว่านั้น และอาจต่ำกว่า 1 มิลลิวินาที ทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น จากการใช้ประโยชน์ที่เทคโนโลยีมอบให้

Hongmeng OS

ซึ่งประเทศไทยสามารถนำ หงเหมิง มาผนวกใช้กับเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้จนประสบความสำเร็จ ซึ่งจะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับสังคม และเศรษฐกิจของประเทศ ในฐานะเทคโนโลยีที่ใช้ขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0  หรือแม้แต่เรื่องของการสร้างเมืองอัจริยะ (Smart City) ได้ อาทิ

เราสามารถใช้ หงเหมิง มาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างระบบที่ช่วยให้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Self-Driving Car) สามารถเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งปกติการเปลี่ยนเกียร์ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 มิลลิวินาที ถ้าความหน่วงเวลาไม่คงที่ การเข้าเกียร์อาจผิดพลาด และอาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานร่วมกันได้

เป้าหมายของ OS นี้คือ สร้างโลกที่ทุกสิ่งอย่างมีความอัจฉริยะและเชื่อมต่อกันได้ให้เป็นจริง” 

แน่นอนว่าผู้ใช้งาน หงเหมิง ในการพัฒนาธุรกิจไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องของความปลอดภัยแต่อย่างใด เพราะเราแค่ขายอุปกรณ์เปล่า ๆ ที่ทำหน้าที่เหมือนอย่างท่อน้ำ หรือก๊อกน้ำ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดีไวซ์ จะทำหน้าเหมือนกับก๊อก ส่วนอุปกรณ์เชื่อมต่อก็เปรียบเหมือนกับท่อน้ำ สิ่งที่ไหลผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือน้ำมัน

ย่อมมีระบบข้อมูลเป็นตัวกำหนด และระบบเหล่านี้ก็ควบคุมโดยผู้ให้บริการระบบโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ ไม่ใช่เรา ซึ่งเราเองก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงข้อมูล และขอยืนยันด้วยว่าเราไม่เคยติดตั้งประตูหลังเพื่อสอดแนมข้อมูลของผู้ใช้ เหมือนอย่างที่มีการกล่าวหาแต่อย่างใด

ซึ่งการพัฒนา หงเหมิง ขึ้นมานั้น เนื่องจากเราต้องการสร้างความพึงพอใจให้ผู้คนในสังคม เป้าหมายสูงสุดของเราคือการให้บริการผู้บริโภค ซึ่งก็คือ คนกว่า 6,500 ล้านคน และอาจจะมากกว่านั้นในอนาคต

Hongmeng OS

เมื่อ IoT เชื่อมต่อกับทุกสิ่งได้มากขึ้น เราจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับผู้บริโภค และตอบสนองความต้องการของทุกผู้คน ในฐานที่เราเป็นผู้นำด้าน 5G ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ และโซลูชัน 5G เชิงพาณิชย์แบบครบวงจร ที่ตรงตามมาตรฐานของ 3GPP 

ยิ่งไปกว่านั้น อุปกรณ์ 5G ของเราถือว่าดีที่สุดในโลก และจะยังไม่มีบริษัทไหนตามเราทันได้ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า จึงไม่มีปัญหาด้านการจัดส่งแน่นอน  ฝ่ายผลิตของเรายังทุ่มเททำงานกันอย่างเต็มที่ สิ่งที่ยืนยันความตั้งใจในการสนับสนุนประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

คือการก่อตั้งศูนย์โอเพ่น แล็บ (Open Lab) ในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันของนักพัฒนาแอพในประเทศอีกด้วย ในวันนี้ถึงแม้ว่าจะมีการโจมตีหัวเว่ยอย่างหนัก แต่ผู้บริโภคก็ยังคงซื้อสินค้าจากเรา เพราะความไว้วางใจที่เกิดจากการทุ่มเททำงานเพื่อลูกค้า และสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อพวกเขาตลอดหลายปีที่ผ่านมา

โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์ และโซลูชันของหัวเว่ย ได้ให้บริการแก่ผู้คนกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลก ในจีน และอีกหลายประเทศทั้งในทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา 

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่