ธุรกิจประกันรถยนต์ ลุยทำธุรกิจแบบ Mirco Segment ด้วยเทคโนโลยี IoT หวังเจาะกลุ่มคนขับน้อย ชูจุดเด่น “เปิดเมื่อขับ ปิดเมื่อจอด” แบบอัตโนมัต และจ่ายเท่าที่ใช้ (Pay Per Use)…

highlight

  • ประกันภัยไทยวิวัฒน์ นำโซลูชัน NB-IoT Motor Tracker เข้ามาเสริมขีดความสามารถให้กับธุรกิจประกันภัยรถยนต์ ช่วยให้ลูกค้าได้รับความคุ้มครองครบถ้วน และจ่ายค่าเบี้ยประกันตามการใช้งานจริง (Pay As You Drive)

ไทยวิวัฒน์ เดินเกมเปลี่ยนธุรกิจประกันรถยนต์ด้วย IoT 

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ (Thaivivat) เดินเกมเปลี่ยนเกมทำตลาดธุรกิจประกันภัยรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลใหม่ เน้นสร้างแพ็คเกจประกันตอบโจทย์รายบุคคล ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือไอโอที หวังเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้บริการ ที่สะดวกรวดเร็ว และจ่ายตามจริงเท่าที่ใช้งาน

จีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ประกันภัยไทยวิวัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจประกันต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับพฤติกรรมลูกค้าในยุคดิจิทัล ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการ และต้องสามารถควบคุมการใช้งานได้ด้วยตนเอง

จากความต้องการดังกล่าวทำให้ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มองหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวเรา จึงได้เดินหน้าพัฒนาประกันของเราให้ออกมาในรูปแบบที่ผู้ใช้บริการสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายของการซื้อประกันได้ด้วยตนเองผ่านอุปกรณ์พกพาติดตัวอย่างสมาร์ทโฟน

IoT
จีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ประกันภัยไทยวิวัฒน์

โดยในปีที่ผ่านมาเราได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น Thaivivat ที่มี T.Beacon ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือก “เปิด-ปิด” ได้ด้วยตัวเองผ่านแอปในโทรศัพท์มือถือ และระบบจะคิดค่าเบี้ยประกันตามนาทีจริงที่เราใช้รถ ซึงเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า เพราะจ่ายเท่าที่ใช้เท่านั้น

การพัฒนาของไทยวิวัฒน์ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นสิ่งเรียกว่าเป็นการทำตลาดในรูปแบบเฉพาะกลุ่ม (Micro Segmentation) ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคที่ต้องการซื้อประกันแต่ไม่อยากจ่ายเบี้ยเกินกว่าพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ของตนเอง 

อย่างไรก็ดีแม้ว่าในปัจจุบันตลาดเริ่มที่จะมีความเข้าใจมากขึ้นในขั้นตอนการใช้งานแล้วก็ตาม แต่เราก็ยังต้องการพัฒนาบริการของเรามากขึ้น เพราะเล็งเห็นถึงปัญหาที่ลูกค้าประสบ จากการใช้บริการ อาทิ การที่ต้องเปิด Bluetooth และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และห้ามปิด แอพฯ แม้ว่าจะเป็นการทำงานเบื้องหลัง  

หรือการลืมปิดการทำงานของ แอพฯ เมื่อรถหยุดจอด ทำให้ผู้ใช้เวลาจากระบบเบี้ยประกันที่ซื้อไปอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งแม้ว่าจะสามารถตั้งเวลาล่วง ปิด-เปิด เอาไว้ได้ล่วงหน้าก็ตาม แต่ก็ยังมีความผิดพลาดเกิดขึ้นล่าสุดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเราจึงได้จับมือกับผู้ให้บริการทางโครงข่ายสัญญาณที่มีเทคโนโลยี

และโซลูชั่น อย่าง เอไอเอส ในการพัฒนาบริการประกันแบบ เปิด-ปิด อัตโนมัติ ที่ผู้ใช้งานไม่ต้องมาคอยกังวลกับขั้นตอนในการใช้งานด้วยการใช้ เอ็นบี-ไอโอที Motor Tracker ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำงานอยู่บนคลื่นความถี่ต่ำ (Narrowband Internet of Things)

IoT

ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ล่าสุดของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ไอโอที ต่างๆ เข้าสู่อินเทอร์เน็ตมือถือ แทนที่จะเชื่อมต่อผ่าน 3G/4G และกินพลังงานน้อย ซึ่งตรงจุดนี้ทำให้อุปกรณ์ สามารถทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว แม่นยำขึ้น และเก็บรวบร่วมข้อมูลไปยังศูนย์ข้อมูล เพื่อทำการประมวลต่อไป

เราได้นำเอา เอ็นบี-ไอโอที Motor Tracker มาทำในชื่อ เอ็นบี-ไอโอที Motor Tracker for UBI โดยตัวโซลูชั่น จะทำงานโดยใช้เทคโนโลยีติดตามการทำงานของยานพาหนะบนเครือข่าย เอ็นบี-ไอโอที เมื่อมีการสตาร์ทรถยนต์ อุปกรณ์​ ไอโอที จะส่งค่า Engine Start 

ผ่านแพลตฟอร์ม เอไอเอส ไอโอที และมาประมวลผลยัง Thaivivat Server พร้อมแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชัน Thaivivat Motor เพื่อเริ่มต้นเปิดประกันภัยโดยอัตโนมัติ และเมื่อดับเครื่องยนต์ อุปกรณ์​ IoT ก็จะส่งค่า Engine Stop กลับมาอีกครั้ง

เพื่อปิดประกันให้อัตโนมัติเช่นกัน ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าของประกันภัยไทยวิวัฒน์ไม่ต้องเสียเวลาเปิด-ปิดด้วยตัวเองอีกต่อไป หรือในกรณีรถอยู่ในพื้นที่ห่างไกล อุปกรณ์จะเก็บข้อมูลไว้ และเมื่อเชื่อมต่อสัญญาณ NBIoTอีกครั้ง ก็จะส่งข้อมูลให้กับระบบทันที (Real-Time Clock)

จึงได้ความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลสูง ช่วยให้ลูกค้าได้รับความคุ้มครองและจ่ายค่าเบี้ยประกันตามการใช้งานจริง ขับค่อยจ่าย ไม่ขับไม่ต้องจ่าย ประหยัดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ไปได้ถึง 40% เลยทีเดียว อย่างไรก็ดี การใช้งานบริการนี้ ลูกค้า จะได้อุปกรณ์ ไอโอที ที่สามารถนำไปติดรถได้ในทันที

IoT

ผ่านช่องเสียบแบบ USB ทำให้การติดตั้ง ไม่ยุ่งยาก แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องซื้ออย่างน้อย 4 เดือนขึ้นไป โดยค่าอุปกรณ์จะร่วมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการซื้อประกันเรียบร้อยแล้ว แต่หากต้องการซื้อใช้งานน้อย ก็สามารถไปซื้อตัวอุปกรณ์ได้ที่ช้อปของเอไอเอสได้เช่นกัน

สำหรับการเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ์นั้น ก็สามารถใช้งานได้ครอบคลุมทั่ว 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยในส่วนของพื้นที่บางพื้นที่ ที่มีสัญญาณน้อยนั้น ผู้ใช้ก็ไม่ต้องห่วงเนื่องจากตัวอุปกรณ์สามารถเก็บข้อมูลได้ในตัว และส่งข้อมูลเข้าศูนย์กลางในทันทีเมื่อสัญญาณกลับมา 

นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยี ใหม่ อย่าง ไอโอที นี้ยังช่วยให้เราสามารถพัฒนาต่อยอดไปยังบริการอื่น ๆ ในอนาคตได้อีกด้วย 

เอไอเอส ตั้งเป้าหนุนธุรกิจสร้างธุรกิจใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยี

IoT
ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส

ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส กล่าวว่า เป้าหมายของเราคือการช่วยองค์กรธุรกิจต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยี และโซลูชั่น ใหม่ ๆ ไป Business Model ใหม่ ๆ ซึ่งการที่ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) 

มอบความไว้วางใจเลือกใช้โซลูชัน เอ็นบี-ไอโอที Motor Tracker for UBI ในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์ของไทยวิวัฒน์ ถือเป็นมิติใหม่ของวงการประกัน ด้วยการใช้ประโยชน์ของข้อมูล สร้างกระบวนทำงานของอุปกรณ์ในรูปแบบเรียลไทม์

และทำให้ดูแลลูกค้าขององค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยี เอ็นบี-ไอโอที มาเสริมศักยภาพการบริการให้กับธุรกิจประกันภัย ซึ่งเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของคนไทย และลูกค้าให้ความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน

IoT

โดยเอไอเอสพร้อมมอบบริการดิจิทัลที่พัฒนาเพื่อกลุ่มลูกค้าองค์กรในทุกอุตสาหกรรม ครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาอุปกรณ์ Device, แพลตฟอร์ม ไอโอที การออกแบบซอร์ฟแวร์และแอปพลิเคชันระบบ Cloud Computing ระดับเวิล์ดคลาส สำหรับการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูล, eSIM ที่พร้อมใช้งาน

กับอุปกรณ์ ไอโอที บนเครือข่าย เอไอเอส เอ็นบีไอโอที ที่ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ และพร้อมให้คำปรึกษากับทุกองค์กรที่สนใจนำ ไอโอที ไปใช้ในการทำงาน รวมไปถึงการขยายผลการเข้าถึงเทคโนโลยีไอโอที ไปยังกลุ่มลูกค้าทั่วไป

โดยทดลองวางจำหน่าย เอ็นบีไอโอที Motor Tracker ซึ่งเป็นโซลูชันติดตามยานพาหนะด้วยเครือข่าย เอ็นบีไอโอที ผ่าน AIS Shop และ AIS Online Store เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามความต้องการ

IoT

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่