EXAT

ในชีวิตประจำวันของคนกรุงเทพมหานคร หลายคนเคยใช้บริการทางด่วนหรือการทางพิเศษ (EXAT) เพื่อเดินทางจากจุดเชื่อมต่อหนึ่งไปยังอีกจุดหมายให้ถึงจุดหมายได้สะดวกและรวดเร็ว แต่ในบางครั้งหรือบางเวลาทางด่วนก็มีการจราจรที่ไม่ด่วน เพราะเหตุสุดวิสัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้น อาทิ รถยนต์ขัดข้อง อุบัติเหตุ ฯลฯ  ซึ่งอาจทำให้เกิดกีดขวางเส้นทางจราจร และส่งผลต่อการเดินทางได้

ความเป็นมา (Background)

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (The Expressway Authority of Thailand หรือ EXAT) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งขึ้นในปี 2515 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้าง หรือจัดให้มีทางพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจร โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กทพ. ได้ดำเนินการขยายเส้นทางพิเศษเพื่อรองรับปริมาณการเจริญเติบโตของเมือง และปริมาณยานพาหนะที่เพิ่มขึ้น และได้เปิดให้บริการทางพิเศษ 8 สายทาง คือ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษศรีรัช, ทางพิเศษฉลองรัช, ทางพิเศษบูรพาวิถี, ทางพิเศษอุดรรัถยา

ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์, ทางพิเศษกาญจนาภิเษก และเส้นทางล่าสุดทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ซึ่งครอบคลุมทุกความต้องการของผู้ใช้เส้นทางการเดินทางจากเมืองสู่ปริมณฑล ด้วยเป้าหมายสำคัญคือการยกระดับคุณภาพของเส้นทางพิเศษ และการบริการที่สร้างความพึงพอใจสูงสุด

 EXAT

EXAT and the Challenge of Turning to Digital 4.0

อย่างทีทราบกันดีกว่าการเติบโตของสังคม และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้เส้นทางพิเศษต่างๆ นั้นจำเป็นต้องปรับ และขยายเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังต้องการความสะดวกในการใช้เส้นทาง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากของหน่วยงานอย่าง กทพ. ในฐานะผู้ให้บริการทางพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวก ที่จะต้องก้าวในทันต่อการเจริญเติบโตดั่งกล่าว

กทพ. จึงมองหาโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่สามารถสนับสนุนการเติบโตนี้ เพื่อให้บริการให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ให้ผู้ใช้บริการเส้นทางพิเศษได้ และยกระดับให้ กทพ. ก้าวสู่การเป็น ผู้ให้บริการที่ใส่ใจต่อเรื่องของ ความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) และสอดรับกับการเคลื่อนประเทศด้วยดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาล

ซึ่งหลังจากการประเมินตัวเลือกที่หลากหลาย กทพ. ได้ตัดสินใจเลือกระบบและอุปกรณ์วิทยุสื่อสารดิจิตอล ที่ทันสมัย มาตรฐาน APCO-P25 เพราะสามารถรองรับความต้องการของเราได้ในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านสื่อสารจากระบบอนาล็อค ไปสู่ระบบดิจิทัลได้ อีกทั้งยังสามารถรองรับโครงการในอนาคตของเราได้

EXAT

ชุมพล โล่ห์จินดา ผู้อำนวยการ กองกู้ภัยและสื่อสาร ฝ่ายควบคุมการจราจร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (Expressway Authority of Thailand) กล่าวว่า เรื่องของการติดต่อสื่อสารถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างมากในส่วนงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ) โดยเฉพาะหน่วยงานระบบสื่อสารที่มีหน้าที่รับผิดชอบ

โครงการวิทยุสื่อสารให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ เพราะต้องสื่อสารกับหลายฝ่ายใน 8 เส้นทางพิเศษ โดยมีโจทย์ที่สำคัญคือเรื่องของความปลอดภัยของผู้ใช้ทางพิเศษ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในแต่ล่ะเส้นทางเป็นสำคัญ ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างมากที่จะเปลี่ยนจากระบบการสื่อสารแบบเก่าที่เป็นอนาล็อค

บนคลื่นความถี่วิทยุเดิม 2 คลื่นความถี่ ที่ กทพ. ใช้อยู่ ซึ่งมีปัญหาในเรื่องของช่วงสัญญาณวิทยุที่น้อย ทำให้การสื่อสารระหว่างศูนย์ควบคุมกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในแต่ล่ะเส้นทางต้องใช้คลื่นเท่าทีมีอยู่ในการติดต่อสื่อสารประสานงานระหว่างกัน

และทำให้เกิดการสื่อสารแบบรวมที่ทุกฝ่ายได้ยินเหมือนกันไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องอาศัยความคุ้นเคยในการจดจำรูปแบบของเสียง และลักษณะในการพูดของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในแต่ล่ะเส้นทาง เพื่อจับใจความ ซึ่งรูปแบบนี้ส่งผลทำให้เกิดความสับสนในการสื่อสาร

และทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้า อีกทั้งด้วยจำนวนคลื่นที่น้อย และภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันทำให้ไม่สามารถทำให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ ส่งผลทำให้คุณภาพเสียงลดลงอีกด้วย

EXAT

เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี Digital Radio System

แม้ในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีใหม่ของวิทยุสื่อสารคมนาคมระบบ ที่เรียกว่า “ทรั้งค์” (Trunked Radio) ที่มีการทำงานคล้ายกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ออกมาให้ใช้งานแล้ว แต่ยังมีราคาที่สูงเกินไป กทพ. จึงมองหาเทคโนโลยี และโซลูชั่น

ที่สามารถทำงานได้ในลักษณะคล้ายกันคือมีสถานีกลาง (System Control) ทำหน้าที่จัดช่องสัญญาณให้มีจำนวนช่องสัญญาณเพียงพอในการรองรับการใช้งานของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดในระบบ และทำหน้าที่เชื่อมโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ของเครือข่ายนั้นๆ

และเลือกช่องสัญญาณที่ว่างอยู่ให้ลูกข่ายโดยอัตโนมัติ อีกทั้งสามารถเรียกเฉพาะเครื่องลูกข่ายที่ต้องการติดต่อได้ และมีระบบการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม (Private Call) ได้ ซึ่งวิทยุสื่อสารดิจิตอล มาตรฐาน APCO-P25 นั้นสามารถทำงานได้เช่นเดียวกันแต่เป็นระบบดิจิทัล

กทพ. ถึงตัดสินใจขอคลื่นเพิ่มจากทาง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NBTC

EXAT

ทางพิเศษ “บูรพาวิถี” ที่มีระยะทางกว่า 55 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ที่เชื่อมการคมนาคมขนส่งระหว่างกรุงเทพมหานครกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศ โดยสิ้นสุดที่จังหวัดชลบุรี และด้วยการที่เส้นทางดังกล่าวนั้นเป็นเส้นที่มุ่งสู่นิคมอุตสากรรมใหญ่ของประเทศ

ตลอดจนยังเป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่เมืองท่องเที่ยว ทำให้เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่มีปริมาณรถหนาแน่นอยู่ตลอดเวลา และถือเป็นความท้าทายเป็นอย่างมากที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เส้นทาง จากประเด็นดังกล่าวทำให้เรื่องของระบบการสื่อสาร กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องการให้บริการ

และดำเนินการในเหตุการณ์ต่างๆ ให้ทันท่วงที แต่ด้วยระบบ Digital Radio System ที่ผ่าน มาตรฐาน APCO-25 จากวิทยุดิจิตอลของสมาคมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (TIA) ทำให้ กทพ. สามารถแก้ปัญหาในส่วนการติดต่อสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในแต่ล่ะเส้นทาง

กับศูนย์ควบคุมกลาง (Control Room) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีความยืดหยุ่นในการทำงานทั้งใน ระบบอนาล็อก ระบบลูกผสมอนาล็อก-ดิจิตอล หรือระบบดิจิตอลเพียงอย่างเดียว และทำให้ กทพ. บริหารใช้งานคลื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งสถาปัตยกรรมนี้รองรับการใช้งานทั้งระบบวิทยุ สื่อสารไร้สายทั่วไป

EXAT

และระบบทรั้งค์เรดิโอ (Trunked Radio) ที่สามารถในการรองรับ-ส่งภาพเคลื่อนไหวแบบ Multi media ได้ รวมถึงการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต หรือนำเอาไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่ง (Global Positioning System หรือ GPS) มาใช้งานกับสื่อสารได้

ทำให้ทราบตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ที่อยู่ใกล้เคียงจุดเกิดเหตุ ซึ่งหากในอนาคต กทพ. ต้องการจะยกระดับให้มากกว่าที่แค่การใช้งานเสียงก็สามารถทำได้ นอกจากนี้ในการยกระดับงานสื่อสาร ทางโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมกับ กทพ. ตั้งแต่งานวางตำแหน่งสื่อสารในแต่ละการติดตั้งสถานีฐาน รวมถึงการฝึกอบรมผู้ใช้งาน

โดยคำนึงในด้านของข้อจำกัดในด้านภูมิศาสตร์ เพื่อให้ระบบไม่ไปรบกวนคลื่นความถี่วิทยุที่ใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังช่วยอบรมเจ้าที่ในศูนย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของ กทพ. ที่มีความคุ้นเคยในระบบเก่า ทำให้สามารถใช้งานโซลูชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น

EXAT

โดยหลังจากที่ได้ทดลองใช้สิ่งที่ กทพ. ได้คือเจ้าหน้าสามารถบริหารการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะไม่มีการรบกวนจากการใช้งานคลื่นในรูปแบบเดิม เพราะสามารถแยกช่องทางสัญญาณโดยแบ่งแยกตามกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ

อีกทั้งด้วยการที่ระบบนั้นสามารถส่งสัญญาณเสียงเรียลไทม์ ทำให้เกิดความรวดเร็ว ในการบริหารจัดการงานในส่วนต่างๆได้อย่างแม่นยำ ซึ่งในอนาคต กทพ. เตรียมที่จะขยายไปในอีก 4 เส้นทางพิเศษที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กทพ. และภายใน 3 ปี หลังจากนี้จะขยายไปยังโครงการที่อยู่ในระบบสัมปทาน ต่อไป

“โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ ได้ทำงานร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการเปลี่ยน การสื่อสารเป็นระบบดิจิตอล ซึ่งใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือนในการดำเนินงาน ตั้งแต่การวางแผนการจัดกลุ่มการสื่อสาร การติดตั้งเสาอากาศให้รองรับสัญญาณให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน ทำให้การดำเนินงานโดยรวม ทำงานได้รวดเร็วและสะดวกขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีการสื่อสารนี้รองรับการทำงานที่เป็นระบบ Trunk ในอนาคต” สุปราณี เกื้อกูลเงิน ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัทโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริม

EXAT

 

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่