Schneider Electric

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) แนะองค์กรเดินหน้าปฏิรูปธุรกิจสู่การบริหารจัดการพลังงานเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน….

Schneider Electric Innovation Summit 2018

ฌอง ปาสคาล ตริคัวร์ ประธานบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวว่า วันนี้โลกก้าวสู่ยุคของการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และยังจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น คลาวด์ (Cloud) ไอโอที (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมไปถึงการใช้ ข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data)

ซึ่งอยู่ภายใน เดต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) การเพิ่มจำนวนขึ้นของการใช้เทคโนโลยี ทำให้เกิดปริมาณการใช้พลังงานที่มากขึ้น และยุ่งยากในการควบคุมบริหารจัดการ และนำไปสู่การค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรื่องนี่จะไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นแค่เพียงอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึง แต่จะเกิดขึ้นในทุกอุตสาหกรรม

วันนี้เราจึงพร้อมที่จะนำเสนอ EcoStruxure ที่เป็นสถาปัตยกรรมและแพลตฟอร์มแบบระบบเปิด รองรับการใช้เทคโนโลยีทางด้าน IoT ในลักษณะ plug and play ที่สามารถทำงานร่วมกับระบบอื่นได้ ซึ่งจะมอบความสามารถในการตรวจจับ วิเคราะห์ และรักษาความปลอดภัยรวมไปถึงความสามารถในการควบคุมแอปพลิเคชั่น ด้วย Edge Control

Schneider Electric
ฌอง ปาสคาล ตริคัวร์ ประธานบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

นอกจากนี้ ในงาน Innovation Summit ที่ประเทศสิงคโปร์นี้ ยังแสดงให้เห็นถึงพลังเครือข่ายที่เติบโตขยายไปอย่างต่อเนื่องของบริษัท ทั้งในด้านเทคโนโลยี และพันธมิตรคู่ค้า รวมถึงสตาร์ทอัพ โดยจะมีการนำเสนอโซลูชั่นจากพันธมิตร อาทิ ไมโครซอฟท์ แอคเซนเจอร์ ซิสโก้ ออโต้กริด แดนฟอสส์ ซอมฟี่ และ AVEVA เป็นต้น

โดยทั้งหมดนี้ เราจะนำเสนอในงาน Innovation Summit 2018 ซึ่งเป็นงานประชุมด้านนวัตกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ของเราที่จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 20 -21 กันยายน 2561 ณ มารีนา เบย์ แซนด์ส ประเทศสิงคโปร์

เสริมประสิทธิภาพเพื่อใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Schneider Electric

แนวโน้มของการเชื่อมต่อแหล่งพลังงานที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ กับโครงข่ายไฟฟ้ากำลังเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก ในยุคสมัยนี้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ระบบอัตโนมัติสำหรับโครงข่ายไฟฟ้าในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการลงทุนในระบบอัตโนมัติ

และระบบอัจฉริยะ จากเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าเหล่านี้ เพราะอุตสาหกรรมต่าง ๆ กำลังก้าวสู่ความต้องการในการควบคุม ที่สามารถทำได้จากทุกที่ เพื่อตอบสนองต่อการคาดหวัง

และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นลง และแก้ปัญหาได้อย่างทันถ่วงที่เมื่อเกิดปัญหา อย่างไรก็ดีการใช้เลือกบริการด้านระบบไฟฟ้าสำรองที่เหมาะกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม อาจจะต้องพิจารณาในเรื่องของความต้องการของธุรกิจ

Schneider Electric

เพราะวันนี้ระบบไฟฟ้าสำรองนั้นแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบรวมศูนย์ (Centralized)  และแบบกระจาย (Distributed) โดยในแต่ละระบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน แต่การใช้เทคโนโลยี IoT เข้าควบคุมการจัดการด้านพลังงานไม่ว่ามองมุมใดก็มีประโยชน์

ยกตัวอย่างการยำไปใช้งานในเชิงพาณิชย์ เราสามารถนำไปใช้ตั้งแต่การนำไปเก็บข้อมูลปริมาณการใช้พลังงานในจุดต่าง ๆ ซึ่งมาจากเซ็นเซอร์ไอโอที (IoT) ที่อยู่ภายในอุปกรณ์ของเรา และเมื่อใช้รวมกับชุดโซลูชั่นของเรา ที่สามารถดู และบริหารจัดการได้ผ่านแดชบอร์ด (Dashboard) ก็จะช่วยทำให้เกิดการใช้ประโยชน์

และสร้างมูลค่าเพิ่มจากระบบพลังงานได้สูงสุด อาทิ การนำไปใช้กับธุรกิจโรงแรม ทำให้สามารถช่วยผู้เข้าพักอาศัยได้รับประสบการณ์ที่ดี จากการใช้อุปกรณ์ควบคุมได้ง่าย ขณะที่ตัวของฝ่ายผู้ดูแลเองก็สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประโยชน์สูงสุด เพราะสามารถโยกย้ายพลังงานไปยังจุดที่มีการใช้งานจริง ๆ

และหากมองในส่วนของอุตสาหกรรม สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการใช้พลังงานที่เหมาะสม และความสามารถในการรับรู้ปัญหา ที่จะส่งมาในรูปแบบของข้อมูลทั้งจาก ระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร และระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร

ซึ่งหมายถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่สามารถจัดการพลังงานไปทำให้เกิดธุรกิจใหม่ง่ายขึ้น และยังรวมไปถึงการสร้างกระบวนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย

เทคโนโลยีแห่งการเชื่อมโยง ที่เปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจ และ 4 ขั้นตอน ในการเปลี่ยนแปลงสู่การใช้ดิจิทัล (Digital Transformation)

Schneider Electric

ด้าน Harve Coureil Chief Digital Office Schneider Electric กล่าวว่า แนวคิดที่ชัดเจนสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล คือการทำให้องค์ธุรกิจ หรืออุตสาหกรรม สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นการใช้เทคโนโลยี อย่าง   Internet of things (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

และการวิเคราะห์บิ๊กดาต้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สร้างนวัตกรรมได้มากขึ้น ทำธุรกิจได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมความสามารถด้านการแข่งขัน ของทุกธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม สำหรับเราแล้ว เรามี 4 ขั้นตอนด้วยกันที่เราทำ ได้แก่

  1. การนำเสนอ (Operat) โทคโนโลยีที่จะสามารถเข้าไปช่วยตอบโจทย์ ธุรกิจ หรืออุตสาหกรรม ด้วยการศึกษารูปแบบ ธุรกิจ เพื่อหาจุดที่อ่อน และนำเอาเทคโนโลยีไปแก้ปัญหา
  2. นำเสนอวิธีการใช้ที่เหมาะสมที่สุด (Engage)  สิ่งเราทำคือการต่อยอดว่าส่วนใดที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีของเราได้ ซึ่งรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีจากพาทเนอร์ของเราด้วย แต่ทั้งหมดจะอยู่บนมาตราฐานความปลอดภัย
  3. แนะให้เห็นถึงโอกาสที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม (Create) เรื่องของการสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือเพิ่มมูลค่า จากการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการพลังงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำองค์กรมีวิธีการ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้
  4. สร้างกระบวนการป้องกัน หรือลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น (Secure) ซึ่งการใช้เทคโนโลยี IoT จะทำให้ความผิดพลาดที่เคยมีลดลง โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นจากส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับด้านพลังงานในทุกช่องทาง

Schneider Electric

ซึ่งด้วยการที่ EcoStruxure เป็นสถาปัตยกรรม และแพลตฟอร์มระบบเปิด ให้ศักยภาพด้าน IoT รองรับการใช้งานในลักษณะ plug and play สามารถทำงานร่วมกับระบบอื่นได้ไม่มีข้อจำกัด ไม่ว่าองค์กรนั้นจะใช้อุปกรณ์ของเราทั้งหมด หรือเพียงบางส่วน

นอกจากนี้ EcoStruxure ยังเป็นการยกระดับความก้าวหน้าในเรื่องของ IoT โมบิลิตี้ ระบบเซนเซอร์ คลาวด์ การวิเคราะห์ และระบบรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ เพื่อมอบนวัตกรรมในทุกระดับ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์เชื่อมต่อ ระบบควบคุมปลายทางไปยังแอปพลิเคชัน (Edge Control) การวิเคราะห์ และการบริการต่างๆ

และครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น EcoStruxure Power ที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการพลังงาน ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานมีความน่าเชื่อถือสูง เมิ่อทำรวมกับพร้อมแอพพลิเคชั่น EcoStruxure Power Advisor App และซอฟต์แวร์ EcoStruxure Power Monitoring Expert 9.0

และ Power Scada Operation 9.0 ซึ่งช่วยบริหารจัดการที่ควบคุมอุปกรณ์ปลายทาง (Edge Control Management Software) ผ่านผลิตภัณฑ์เชื่อมต่อ อย่าง Prologic ION9000 Meter and Easergy P3 Protection Relay รวมถึง EcoStruxure Building ที่ออกแบบมาเพื่อให้เกิดใช้พลังงานสำหรับอาคาร

อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงระบบควบคุมการทำงานปลายทาง EcoStruxure Building Operation 2.0 ที่มาพร้อมผลิตภัณฑ์การเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ SmartX IP Controller MPx และ SmartX Room Sensors อีกด้วย

ขณะที่ Ecostruxure Plant & Machine เป็นเทคโนโลยี IIoT ครอบคลุมถึง ซอฟต์แวร์ที่ผสานรวมการทำงานกับกระบวนการผลิตอัจฉริยะ ซึ่งจะมอบโอกาสใหม่ทางธุรกิจสำหรับโรงงาน และผู้ผลิตเครื่องจักร ช่วยเพิ่มผลกำไรด้วย EcoStruxure Triconex และเพิ่มผลผลิตที่ดีขึ้นด้วย EcoStruxure Machine Advisor 

เนื่องจากสามารถช่วยคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้า โดยทำงานผ่านคลาวด์ ด้วยการอาศัยข้อมูลในแบบ 24×7 ด้วย EcoStruxure Asset Advisor แอปพลิเคชันที่ให้บริการตรวจสอบอุปกรณ์ ทำให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ

 

Schneider Electric

โดยที่ผ่านมา EcoStruxure ได้มีการติดตั้งใช้งานมากกว่า 480,000 ไซต์งาน โดยผู้วางระบบและผู้พัฒนากว่า 20,000 รายที่ให้การสนับสนุน ซึ่งมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์มากกว่า 1.6 ล้านรายการ ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการผ่านบริการด้านดิจิทัลมากกว่า 40 บริการ

แน่นอนว่ามาถึงวันนี้ ผลกระทบจากการเติบโตที่รวดเร็วเทคโนโลยีนั้นเริ่มส่งผลกระทบกับธุรกิจหลายอุตสาหกรรมแล้ว ผู้ประกอบกิจการในหลาย ๆ ประเทศ ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ต่่างตื่นตัวกันเพิ่มมากขึ้น ในการแสวงหาเทคโนโลยี และโซลูชั่นต่าง ๆ มาใช้งาน

ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี IoT ด้วย โดยการใช้นั้นทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ดีเราต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงยังเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะยังคงติดทั้งในเรื่องงบของการลงทุน ซึ่งแต่ล่ะธุรกิจมีความต้องการที่แตกต่างกัน

หากถามว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก็ต้องบอกว่าวันนี้ธุรกิจเองจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหาความต้องการที่แท้จริงให้เจอก่อน ว่าจะใช้เทคโนโลยีเพื่อสิ่งใด แล้วค่อยลงทุนเทคโนโลยี ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกเทคโนโลยีที่มี แต่ใช้เท่าที่จำเป็นกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว ก็เป็นก้าวของการเริ่มต้นที่ดีแล้ว

Photo Gallery

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่