จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด เผยภาพรวมการสรรหาว่าจ้างบุคลากรในไทย พบนายจ้าง ยังคงมองหาพนักงานคุณภาพ ที่มีทักษะ (Skills) สูงพร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยี เนื่องจากบุคลากรในปัจจุบันยังขาดทักษะในการทำงานที่หลากหลาย 

การสรรหาบุคลากร มุ่งหาผู้ที่มีทักษะ (Skills) หลากหลาย

บริษัทจัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด เผยภาพรวมการสรรหาว่าจ้างบุคลากรในไทย โดยการสำรวจนี้จัดทำใน 7 ประเทศ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮ่องกง เวียดนาม และประเทศไทย ครอบคลุมทั้งฝั่งผู้หางาน และฝั่งผู้ประกอบการใน 20 กลุ่มธุรกิจ

โดยแนวโน้มผลสำรวจสำหรับประเทศไทยยังเป็นบวกในฝั่งนายจ้าง ยังคงมองหาพนักงานคุณภาพ ที่มีทักษะสูงพร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยี

สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของตลาดงานในระดับภูมิภาค ส่วนด้านผู้หางานยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์จ้างงานอันเป็นผลจากการขาดทักษะในการทำงานที่หลากหลาย โดยที่ภาษา และเทคโนโลยียังเป็นปัจจัยท้าทายผู้หางาน

Skills

จุลเดช มัชฉิมานนท์ ผู้จัดการฝ่ายดูแลลูกค้าองค์กร บริษัท จัดหางาน จ็อบส์ ดีบี (ประเทศไทย จำกัด) เปิดเผยว่า จากผลสำรวจภาพรวมตลาดงานจากตัวแทนผู้ประกอบการพบว่า 50% ของผู้ประกอบการ คิดว่าจะมีแนวโน้มการจ้างงานมากขึ้นจากการขยายธุรกิจ และ 25% จะจ้างเฉพาะตำแหน่งงานที่จำเป็นเท่านั้น

ช่วงเวลาที่มีความต้องการการจ้างงานมากที่สุดคือเดือนมกราคมซึ่งเป็นช่วงหลังจากรับโบนัสปลายปี และเดือนมิถุนายน โดยเป็นช่วงที่คนเรียนจบและเริ่มหางาน ประกอบกับลูกจ้างที่ได้รับโบนัสในช่วงไตรมาสแรกของปี

จากผลสำรวจในส่วนของผู้ประกอบการ มีความเห็นว่า 5 อันดับธุรกิจที่เติบโตสูงสุดได้แก่ 1) ธุรกิจโฆษณา การตลาดและประชาสัมพันธ์ 2) ธุรกิจวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และวิศวกรรมเครื่องกล 3) ธุรกิจกิจไอที 4) ธุรกิจอุปกรณ์ไฟฟ้า/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ 5) ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

ในขณะที่ 5 กลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตของการลงโฆษณาประกาศหางานมากที่สุด คือ 1) ธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก 2) ธุรกิจการผลิต 3) ธุรกิจเทรดดิ้ง 4) ธุรกิจไอที และ 5) บริการด้านการเงิน นอกจากนั้นแล้วธุรกิจทั้ง 5 กลุ่มนี้ยังมีอัตราความต้องการบุคคลากรเพิ่มมากที่สุดด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

นอกจากนั้น 5 ตำแหน่งงานเฉพาะด้านที่มีความต้องการสูงสุดได้แก่ 1) พนักงานขายและพัฒนาธุรกิจ 2) วิศวกร 3) ธุรการและงานบุคคล 4) เจ้าหน้าที่ไอที และ 5) พนักงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ โดยมีปัจจัยผลักดันให้เกิดความต้องการจาก อัตราการลาออกสูง โลกาภิวัฒน์ ความต้องการด้านทักษะที่เปลี่ยนแปลงไป” นายจุลเดช กล่าวเสริม

Skillsด้าน วรวุฒิ วาริการ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ็อบส์ ดีบี (ประเทศไทย จำกัด) เปิดเผยว่า ผู้หางาน 53% ไม่มั่นใจว่าจะหางานได้ง่ายในปีนี้ เพราะมีความท้าทายหลายปัจจัย เนื่องจากผู้หางานต้องพัฒนาทักษะที่หลากหลาย ทั้งด้านการแข่งขันตามสายงานที่เข้มข้นขึ้น

และด้านภาษา การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรที่มีความแตกต่าง รวมถึงต้องเรียนรู้ด้านไอทีและโลกดิจิทัล ถึงแม้ตลาดงานจะมีตำแหน่งงานแต่การแข่งขันก็สูงขึ้นตามไปด้วย โดยจากผลสำรวจผู้หางานมีมุมมองว่าธุรกิจปิโตรเลียมและธุรกิจยานยนต์มีการเติบโตรวมถึงมีอัตราผลตอบแทนสูง

แต่ผลสำรวจพบว่าธุรกิจขายส่งและธุรกิจการผลิต ซึ่งเป็นธุรกิจพื้นฐานที่ขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศชาติอย่างแท้จริงนั้น มีอัตราการเติบโตของการลงประกาศงานในจำนวนที่สูง

รวมถึงปัจจัยเรื่องค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของพนักงานระดับบริหารที่น่าดึงดูดใจสร้างแรงจูงใจให้ผู้หางานปรับพฤติกรรมในการหางาน ด้วยการหางานอย่างจริงจังมากขึ้น

Skills

ด้าน แองจี้ เอส ดับเบิ้ลยู พัง (Angie SW. Phang) ผู้อำนวยการฝ่ายขาย และปฏิบัติการระดับภูมิภาค (Group Regional Sales & Operations Director) บริษัท SEEK Asia เปิดเผยว่า สถานการณ์การจ้างงานของผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคอาเซียน และฮ่องกงมีแนวโน้มสดใส

จากผลสำรวจพบว่า 47% ของผู้ประกอบการมีการขยายธุรกิจและจ้างงานเพิ่มขึ้น และอีก 27% มีการทดแทนตำแหน่งงานเท่าที่จำเป็น การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทยเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพรวมตลาดงานในประเทศ ดังนี้

● 50% ของผู้ประกอบการวางแผนขยายกิจการและจ้างงานเพิ่มขึ้น
● ความไม่สมดุลระหว่างการคาดการณ์กับความเป็นจริงของการเติบโตของธุรกิจ
● 3 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความต้องการจ้างงานโดยตรงประกอบด้วย อัตราการลาออกเพิ่มขึ้น โลกาภิวัฒน์ และความต้องการด้านทักษะที่เปลี่ยนแปลงไป

Skills

สิ่งที่เกิดขึ้นต่อไป

● ผู้หางานที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 53% ระบุว่าการแข่งขันจะมากและยากขึ้น
● ความไม่สมดุลระหว่างมุมมองการคาดการณ์ธุรกิจที่เติบโตและความเป็นจริงของการเติบโตตลาดงานที่สวนทางกัน
● การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการหางานที่พร้อมจะค้นหาความท้าทายใหม่ๆ ตลอดเวลา

คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ และผู้สมัครงานคือ

● องค์กรควรเสริมสร้างกลยุทธ์การสรรหาและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ โดยผู้หางานต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการคัดเลือกที่มีความเข้มข้นมากขึ้น
● ควรเตรียมความพร้อมทั้งในการสร้างและทดแทนผู้หางานที่มีความสามารถสูง ส่วนผู้สมัครงานต้องมีการพัฒนาศักยภาพและทักษะของตนเองให้มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา
● พัฒนาการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะช่วยในการดึงดูดผู้หางาน ผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์ ในขณะที่ผู้หางานต้องเปิดรับข้อมูลการจ้างงานจากช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่