ก.อุตสาหกรรม ลงพื้นที่ 3 จังหวัดภาคอีสาน บึงกาฬ ขอนแก่น และอุดรธานี โชว์ศักยภาพศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับจังหวัด (Mini ITC) หวังยกระดับ  SMEs ไทย ในธุรกิจยุค 4.0 สู่มาตรฐานสากล

รมต และ รมช. กระทรวงอุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับจังหวัด (Mini ITC) ใน 3 จังหวัดภาคอีสาน ประกอบด้วยจังหวัดบึงกาฬ ขอนแก่น และอุดรธานี เพื่อให้ความช่วยเหลือ บ่มเพาะ และต่อยอดธุรกิจ SMEs ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ผลิตระดับชุมชนและผู้ประกอบการ

เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับ  การบริการด้านนวัตกรรม การแปรรูป การออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ หวังยกระดับ SMEs ไทยในธุรกิจยุค 4.0 สู่มาตรฐานสากล พร้อมแข่งขันได้ในตลาดโลก

MOI ลงพื้นที่ภาคอีสาน เร่งยกระดับ SMEs ไทย

MOI

อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การยกระดับ SMEs ไทย ในวันนี้ ไม่ใช้เรื่องของการการนำเอาเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องยกระดับความรู้ ความเข้าใจ ร่วมถึงสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ท้องสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย ช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ๆ

เพื่อสร้างเติบโตอย่างยั่งยิน ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) ซึ่งที่ผ่านมาทาง กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เดินหน้ายกระดับการพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อยตั้งแต่ในระดับชุมชนทั่วประเทศ ร่วมถึงเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้ง ภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา

เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ด้วยนัวตกรรมใหม่ ทั่ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถก้าวสู่การเป็นทียอมรับในระดับสากล วันนี้นอกจากการที่ได้ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมการพัฒนาศูนย์ (Mini ITC) และรับฟังปัญหาของเกษตรกรในภาคอีสานแล้ว ทางกระทรวงอุตฯ

ยังได้หารือร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชนโดยสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สมาพันธ์ SME ไทย ในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 1 (บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี) เพื่อกำหนดแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2561-2564)

MOI

และเพิ่มศักยภาพด้านเกษตรอุตสาหกรรมชั้นนำ การค้า และการท่องเที่ยวสากล ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน และจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 13 ธันวาคม 2561 โดยครอบคลุม 3 เรื่อง ได้แก่

โครงการพัฒนาศักยภาพเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (ข้าว และสมุนไพร)

เพื่อยกระดับผู้ประกอบการให้มีความสามารถด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารจากวัตถุดิบภายในประเทศ พัฒนานวัตกรรมอาหารอนาคตที่มีมูลค่าสูงสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เชื่อมโยง และเปิดตลาดสู่ตลาดโลกด้วยช่องทางดิจิทัล พร้อมสร้างปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร

และการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ โดยภาคเอกชนมีความต้องการให้กระทรวงอุตสาหกรรม พัฒนาและยกระดับในด้านองค์ความรู้และการแปรรูปผลิตภัณฑ์เรื่องข้าวอินทรีย์/สมุนไพรในพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของตลาดและเพิ่มมูลค่าในตัวผลิตภัณฑ์ โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในกลุ่มจังหวัดกว่า 1,423 ล้านบาท

ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม โดยศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 จ.อุดรธานี ) จะช่วยสนับสนุนและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีการผลิต การบรรจุ บรรจุภัณฑ์และการออกแบบแก่ผู้ประกอบการ SMEs ได้ ส่งเสริมระบบมาตรฐานในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เช่น มผช. มอก.s ฯลฯ

MOI

โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ และการยกระดับผ้าทอมือสู่สากล

เพื่อ รวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาและพัฒนาวัตถุดิบผ้าทอมือให้ได้มาตรฐาน พัฒนาการผลิตเส้นใยไหม เส้นใยฝ้ายสู่มาตรฐาน จัดหาเครื่องมือปั่นไหม ฝ้าย รวบรวมภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ผ้าทอมือ และตั้งศูนย์ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ผ้าทอมือลุ่มน้ำโขง

และยกระดับผ้าทอมือ สร้างมูลค่าและเพิ่มศักยภาพสู่สากล พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือให้ตรงกับกลุ่มผู้ใช้และกลุ่มตลาดต่างประเทศ ฝึกอบรมสร้างเยาวชนนักออกแบบรุ่นใหม่ สร้างผู้ประกอบการผ้าทอมือรุ่นใหม่ พัฒนาตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ ตั้งศูนย์ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ผ้าทอมือลุ่มน้ำโขง

ร่วมไปถึงส่งเสริมการตลาดผ้านาข่า พัฒนาตลาดนาข่าให้เข้าสู่ระบบ Smart Market ตั้งศูนย์กระจายสินค้า Distribution Center สร้างการรับรู้ในระดับสากล วงเงินงบประมาณ 97 ล้านบาท โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมผ้าทอพื้นเมืองกว่า 4,000 ล้านบาท

ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เข้าไปศึกษาในรายละเอียดของโครงการฯ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการยกระดับผ้าทอมือในพื้นที่ต่อไป

MOI

สานต่อโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

โดยจะดำเนินการบนพื้นที่ 2,170 ไร่ โดยภาคเอกชนขอรับการสนับสนุน สิทธิประโยชน์ต่างๆให้เทียบเท่าผู้ประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เนื่องจากมีความพร้อมด้านการลงทุน และการดำเนินการของเอกชนในพื้นที่ และอยู่ห่างจากชายแดนเพียง 53 กิโลเมตร

พร้อมทั้งเสนอให้มีการสำรวจและศึกษาเพื่อก่อสร้างถนน Local Road เชื่อมต่อจากถนนเลียบทางรถไฟหนองตะไก้จนถึงใจกลางเมืองอุดรธานี ระยะทาง 15 กิโลเมตร เพื่อเพิ่มเส้นทางสัญจรและรองรับการเติบโตของชุมชนรอบนิคมฯ ในอนาคต

ซึ่งคาดว่าหากโครงการสำเร็จจะมีโรงงานเกิดขึ้น 80-100 โรงงาน เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น 15,000-20,000 อัตราในพื้นที่ และจะก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนประมาณ 100,000 ล้านบาท

MOI

 

“อย่างก็ดีโครงการนี้จำเป็นต้องทำอย่างต่อ เพราะการยกระดับ SMEs ไทย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีความอยาก เพราะมีวิธีการที่แตกต่างกัน ด้วยความรู้ที่ผู้ประกอบการรายย่อย แต่ล่ะรายมีความพร้อมไม่เท่ากัน ทำให้การยกระดับจริงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งยังต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาให้เกิดวงจรที่จะขับเคลื่อนได้ในระยะยาว”

การยกระดับต้องอาศัยความร่วมมือคนพื้นที่ และทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง

MOI

ด้าน สมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปและอุตสาหกรรมอาหาร
ครบวงจร

เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการบริการด้านนวัตกรรม การแปรรูป การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป

และยกระดับการบริการของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสู่การเป็น “ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับจังหวัด (Mini ITC)” เพื่อให้ความช่วยเหลือ บ่มเพาะ และต่อยอดธุรกิจ SMEs ไทยสู่ธุรกิจยุค 4.0 ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ผลิตระดับชุมชนและผู้ประกอบการ SMEs

เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในด้านรูปลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ รวมถึงสินค้าอาหารปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พร้อมเปิดให้บริการศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ให้ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวม 87 ศูนย์ ประกอบด้วยศูนย์ ITC ส่วนกลาง กล้วยน้ำไท ๑ แห่ง ศูนย์ ITC ระดับภูมิภาค 12 แห่ง สำนักงานนิคมอุตสาหกรรม 10 แห่ง

และศูนย์ Mini ITC 64 แห่ง ซึ่งขณะนี้ได้เปิดให้บริการศูนย์ Mini ITC อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งการทำงานของศูนย์ Mini ITC จะเน้นการให้บริการเบื้องต้น (FRONT DESK) รับความต้องการจากผู้ประกอบการให้บริการด้านการออกแบบชิ้นงาน โดยมีการให้บริการ 4 ด้าน ได้แก่

MOI

ITC Match: เป็นศูนย์กลางการจับคู่ธุรกิจ เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ, ITC Innovation: บริการสาธิต อบรม บ่มเพาะ ทำให้เกิดนวัตกรรม เปิดมุมมองการปรับเปลี่ยนธุรกิจ, ITC Share: รวมบริการเครื่องมือ เครื่องจักร เพื่อสร้างคุณค่า และมูลค่าเพิ่ม

และ ITC Fund: บริการปรึกษาแนะนำสินเชื่อที่เหมาะสมกับธุรกิจ พร้อมทั้งเชื่อมโยงส่งต่อความต้องการไปยังศูนย์ ITC ระดับภูมิภาค (FRONT OFFICE) ที่ตั้งอยู่ในศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม และศูนย์ ITC ส่วนกลาง (HEAD OFFICE)

ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับจังหวัด (Mini ITC) ได้ดำเนินงานเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการบริการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมการผลิตการออกแบบ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป

ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมการสร้างความรับรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและการใช้บริการในศูนย์ ITC ระดับจังหวัด และการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และการดำเนินธุรกิจในเบื้องต้น

ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ให้เข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561 มีผู้ประกอบการได้รับการบริการทั่วประเทศแล้ว 27,619 ราย ส่วนใหญ่เข้ามาใช้บริการขอศึกษาดูงานและการฝึกอบรม ประมาณ 11,121 ราย

การบริการในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ 465 ราย การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 240 ราย การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ 208 ราย การให้บริการเครื่องจักรกลาง 275 ราย และการแปรรูปการเกษตรและอาหาร 174 ราย และรอรับบริการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และออกแบบผลิตภัณฑ์ 111 ราย ในส่วนการให้บริการ ณ ศูนย์ Mini ITC มีจำนวน 11,730 ราย

MOI

ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่เข้าเยี่ยมชมศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับจังหวัด (Mini ITC) ทั้ง 3 แห่ง ได้มองเห็นถึงความสามารถผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งสามารถเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ ให้ก้าวไปสู่การแข่งขันกับผู้ประกอบการในระดับโลกได้

ซึ่งศูนย์ “Mini ITC” จะเป็นตัวแปรในการเชื่อมโยงการทำงานกับสำนักอุตสาหกรรมจังหวัด เป็นผู้ให้บริการในลักษณะแบบ Front Desk ติดต่อหาลูกค้า ก่อนจะส่งต่องานที่ต้องใช้ทักษะองค์ประกอบทางวิชาการ และองค์ความรู้
ที่สูงขึ้น มาที่ศูนย์ ITC ภูมิภาค

เพื่อมีการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันในอนาคตเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมการผลิตการ Transform SMEs ในภาคการค้า การบริการ และการเกษตร เพื่อให้ผู้ประกอบการมีการยกระดับตัวเองให้มี ขีดความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ต่อยอดธุรกิจ SMEs สู่ธุรกิจ 4.0 ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ผลิต

และผู้ประกอบการ SMEs ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งในด้านรูปลักษณ์
บรรจุภัณฑ์ รวมถึงสินค้าปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

“วันนี้ยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลง เพราะแต่ล่ะพื้นที่ ไม่ง่าย เพราะแต่พื้นที่มีความคิดความเชื่อ และความซื่อสัตย์ ต่างกันไป ในเรื่องของความซื่อสัตย์เราป้องกันได้ แต่ก็แค่ในระดับหนึ่ง ไม่สามารถดูได้ครอบคลุม เพราะผู้ประกอบการมีจำนวนมาก แต่สิ่งที่เราทำได้คือการสร้าง โอกาส ด้วยการสานความร่วมมือเพื่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน”

Photo Gallery

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่