Digital Tranformation

ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การทรานส์ฟอร์เมชัน (Tranformation) กลายเป็นภารกิจสำคัญสำหรับผู้บริหารทุก ๆ องค์กร

highlight

  • องค์กรที่จะอยากจะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วยเทคโนโลยี นอกจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลแล้ว ยังจะต้องสร้างวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง และสอดประสานเข้ากับข้อมูล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานหรือรูปแบบขององค์กร
  • ใน 3 โครงการประสบปัญหา เนื่องจากขาดกลยุทธ์ที่ชัดเจนสำหรับการปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน หรือมีการลงทุนที่สูงเกินไปในส่วนงานที่ไม่ค่อยมีความสำคัญ หรือวิเคราะห์สถานการณ์ผิดพลาด
  • องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลอย่างจริงจัง แต่เริ่มเฉพาะตอนเริ่มต้นโครงการเท่านั้น จะประสบความสำเร็จได้ยาก ซึ่งหากแต่มีการวิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่องในทุกขั้นตอน ก็จะช่วยให้สามารถระบุผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ที่อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินโครงการปฏิรูปเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือไม่
  • องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดำเนินกระบวนการปฏิรูปธุรกิจได้สำเร็จ มักจะดำเนินการปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยทำการเปลี่ยนแปลงก้าวเล็ก ๆ ทีละก้าว แทนที่จะดำเนินการปรับเปลี่ยน “อย่างฉับพลัน” ในคราวเดียว  

Digital Tranformation Business ให้สำเร็จทำได้อย่างไร

ทุกวันนี้ สภาพตลาด และความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้การทรานส์ฟอร์เมชันธุรกิจเป็นภารกิจสำคัญสำหรับผู้บริหารทุกๆ องค์กร  อย่างไรก็ดี การปฏิรูปองค์กรให้สำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ดังจะเห็นได้จากโครงการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ใน 10 โครงการในสหรัฐฯ

และยุโรปประสบความล้มเหลว จึงเกิดคำถามขึ้นว่า อะไรคือปัจจัยที่จะรับประกัน หรืออย่างน้อยก็เพิ่มโอกาสที่โครงการปฏิรูปธุรกิจจะประสบความสำเร็จ?

คำตอบของคำถามนี้คือ “ข้อมูล” (Data) กล่าวคือ นอกจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลแล้ว ยังจะต้องสร้างวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง และสอดประสานเข้ากับข้อมูล ที่จริงแล้ว องค์กรธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานหรือรูปแบบขององค์กร

เมื่อเทียบกับบริษัทที่พึ่งพาข้อมูลน้อยกว่า ทัศนคติที่จริงจัง อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนอกจากจะเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิรูปธุรกิจแล้ว ยังเป็นตัวกำหนดทิศทางของการพัฒนาในระยะยาวอีกด้วย 

Digital Tranformation

วิเคราะห์ / คาดการณ์ / ค่อยเป็นค่อยไป = Success 

แต่ทำไมธุรกิจบางส่วนจึงไม่ประสบความสำเร็จความพยายามในการปฏิรูปธุรกิจมักจะล้มเหลว เพราะดำเนินการในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง ผลการศึกษาชี้ว่า โครงการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ใน 3 โครงการประสบปัญหา เนื่องจากขาดกลยุทธ์ที่ชัดเจนสำหรับการปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน หรือมีการลงทุนที่สูงเกินไปในส่วนงานที่ไม่ค่อยมีความสำคัญ

หรือวิเคราะห์สถานการณ์ผิดพลาด เรียกว่า “ไม่ได้วิเคราะห์ก่อนลงมือ” ส่งผลให้มีการกำหนดกลยุทธ์ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม องค์กรธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลไม่ได้อ้างอิงสมมติฐานในการกำหนดกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ที่จริงแล้ว

โดยในองค์กรที่ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ผู้บริหารมีแนวโน้มที่จะสร้างโครงการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งจะอ้างอิงข้อมูลเชิงลึกที่กลั่นกรองจากข้อมูลดิบที่มีอยู่ หรือใช้ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินโครงการ 

แต่บางครั้งข้อมูลดังกล่าวอาจมีแหล่งที่มาจากภายในองค์กร หรืออาจได้มาจากภายนอกองค์กร องค์กรธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจะประเมินข้อมูลที่มีอยู่อย่างเป็นกลาง ก่อนที่จะเริ่มต้นดำเนินโครงการปฏิรูปที่ต้องใช้เวลา และงบประมาณจำนวนมาก วิธีนี้ช่วยให้ผู้บริหารหลีกเลี่ยงอคติในการเลือกหรือตีความข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Digital Tranformation

องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลอย่างจริงจัง หรือ “ไม่คาดการณ์สิ่งที่ไม่คาดคิด” แต่เริ่มเฉพาะตอนเริ่มต้นโครงการเท่านั้น ซึ่งหากแต่มีการวิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่องในทุกขั้นตอน ก็จะช่วยให้สามารถระบุผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือโครงสร้างบางอย่างได้ 

โดยมากแล้วองค์กรเหล่านี้มีการปรับใช้ระบบตรวจสอบข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญในแบบเรียลไทม์ เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติหรือไม่คาดคิด ที่อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินโครงการปฏิรูปเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือไม่  และองค์กรก็สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

เช่น ดำเนินการต่อโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือทำการแก้ไขในบางจุด หรือระงับโครงการทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องอาศัยการอ้างอิงข้อมูล สิ่งสำคัญสำหรับองค์กรเหล่านี้อาจไม่ใช่ข้อมูลเสมอไป หากแต่เป็นวิธีคิดหรือทัศนคติในการตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน องค์กรธุรกิจเหล่านี้

รวมถึงผู้บริหารที่กำกับดูแล ยอมรับว่าตนเองไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิรูปธุรกิจอย่างกว้างขวาง และยอมรับว่า ความคล่องตัว” และ การตอบสนองอย่างฉับไว” และความสามารถในการปรับตัวไม่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าหากไม่มีการตรวจสอบและเฝ้าระวังหนทางข้างหน้า 

องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลสามารถลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการพึ่งพาสัญชาตญาณของผู้บริหารมากเกินไป เพราะองค์กรเหล่านี้ให้ความสำคัญกับข้อพิสูจน์หรือหลักฐานที่เป็นรูปธรรมและตรวจวัดได้เกี่ยวกับการดำเนินการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ  

ดังนั้นองค์กรเหล่านี้จึงสามารถระบุผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดล่วงหน้า และดำเนินมาตรการที่เหมาะสม แทนที่จะตอบสนองในลักษณะที่มากหรือน้อยเกินไปต่อตัวแปรที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในแผนการดำเนินงาน

Digital Tranformation

ที่จริงแล้ว องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดำเนินกระบวนการปฏิรูปธุรกิจในลักษณะที่แตกต่างจากองค์กรที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับข้อมูล กล่าวคือ องค์กรเหล่านี้มักจะดำเนินการปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยทำการเปลี่ยนแปลงก้าวเล็ก ๆ ทีละก้าว หรือ “พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป” แทนที่จะดำเนินการปรับเปลี่ยน “อย่างฉับพลัน” ในคราวเดียว  

โครงการขนาดเล็กในลักษณะเช่นนี้อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย และไม่ได้กลายเป็นข่าวคราวใหญ่โตในแวดวงธุรกิจ  นอกจากนี้ยังช่วยให้องค์กรลดความเสี่ยง และความเสียหายต่อความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น และก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญต่อพนักงานและลูกค้าภายในเวลาอันรวดเร็ว

จึงทำให้ทุกภาคส่วนพร้อมที่จะให้การสนับสนุนสำหรับการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยรวมแล้ว องค์กรธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพิ่มโอกาสความสำเร็จสำหรับการเปลี่ยนผ่านธุรกิจ  

แล้วอะไรคือปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการสร้างวัฒนธรรมที่เหมาะสมแน่นอนว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลทั่วทั้งองค์กรในแบบเรียลไทม์ช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้บริหารในการอ้างอิงข้อมูลเพื่อรองรับการตัดสินใจ

ทั้งยังช่วยให้สามารถทดสอบสมมติฐานต่างๆ รวมไปถึงข้อมูลเชิงปริมาณที่สะท้อนหลากหลายแง่มุมของธุรกิจ แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ทัศนคติขององค์กรทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลและการปรับเปลี่ยนธุรกิจโดยรวม กล่าวคือ ยิ่งองค์กรให้ความสำคัญกับข้อมูลในกระบวนการตัดสินใจมากเท่าไร

Digital Tranformation

ผู้บริหารก็จะยิ่งให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงเหนือกว่าความรู้สึกของตนเองมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในทางกลับกันก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่การปฏิรูปองค์กรอาจถูกขับเคลื่อนด้วยแรงจูงใจที่ไม่ถูกต้อง เช่น ความทะเยอทะยานของบุคคล หรือวาระซ่อนเร้น  

ข้อมูลจะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านธุรกิจเริ่มต้น ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และก่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพราะข้อมูลจะเป็นเครื่องชี้นำและทำให้ผู้บริหารและพนักงานรับทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับองค์กรธุรกิจนั้น ๆ นั่นเอง

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
***  ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
**** ขอขอบคุณข้อมูลจาก ดรัฟ ดูมัทการ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม
     โซลูชั่นประจำออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ของเน็ตแอพ

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่