DGA

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) (สพร.) หรือ DGA เดินหน้าสานต่อโครงการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หวังสร้างบริการที่สะดวกรวดเร็วให้แก่หน่วยงานรัฐ และประชาชน ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลชองทุกหน่วยงานรัฐเข้าไว้ด้วยกัน…

highlight

  • พ.ร.บ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 หรือ พ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัล มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 23 พฤษภาคม 2562 แล้ว นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการบริการภาครัฐให้สะดวกขึ้น โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศ

DGA เร่งเครื่องสร้างรัฐบาลเปิด และเชื่อมต่อกัน

ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) (สพร.) หรือ ดีจีเอ กล่าวว่า กฎหมายนี้มีที่มาจากข้อเสนอการปฏิรูปประเทศ และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ ที่มุ่งหวังให้เกิดการปฏิรูประบบข้อมูลภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลที่เปิดเผย และเชื่อมต่อกัน (Open and Connected Government) รวมทั้งเป็นกลไกขับเคลื่อน

การปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ระบบการทำงาน และข้อมูลของภาครัฐสามารถเชื่อมโยงระหว่างกันได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่วมถึงเป็นการเปิดเผย และสร้างโปร่งใส ที่อยู่ภายใต้ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เป็นไปตามกลไกกฎหมาย และไม่ซ้ำซ้อนกับกฎหมายดิจิทัลอื่น

กลไกสำคัญของกฎหมายธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ 8 ข้อ
  • มีการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (แผนระดับชาติ)   
  • มีคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
  • ให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายนี้
  • มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เป็นกรอบในการจัดการบริหารข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
  • หน่วยงานภาครัฐจัดทำข้อมูลและบริการในรูปแบบดิจิทัล (Digitization)
  • หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล (Open Government Data)      
  • หน่วยงานของรัฐแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน (Integration) และมีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง
  • สนับสนุนการเชื่อมโยงบริการดิจิทัล ให้เกิดบริการสาธารณะแบบเบ็ดเสร็จ

ซึ่งเมื่อกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้แล้วจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อหน่วยงานรัฐเอง ร่วมไปถึงประชาชนทั่วไป เนื่องจากการทำงานภาครัฐจะเปลี่ยนไป จะสามารถเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกันได้สะดวกขึ้น การบริหารงานก็จะมีความโปร่งใส และมีความปลอดภัยด้วยธรรมาภิบาลข้อมูล ด้านประชาชนก็จะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น 

ไม่ว่าจะเป็น การได้รับการบริการจากภาครัฐที่สะดวกและรวดเร็วไม่สร้างภาระแก่ประชาชน ลดการใช้สำเนาเอกสารในการติดต่อราชการ  ช่วยให้เรื่องการติดต่อภาครัฐ ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวทำได้ทุกเรื่อง ผ่านช่องทางการติดต่อออนไลน์ได้แบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ลดขั้นตอนในการดำเนินงานระหว่างรัฐ และเอกชน

DGA
ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) (สพร.) หรือ ดีจีเอ (DGA)

และทำให้เกิดการใช้ข้อมูลเปิดจากหน่วยงานภาครัฐ ที่สามารถติดตาม และตรวจสอบการดำเนินการได้ ร่วมไปถึงช่วยทำให้สามารถนำข้อมูลเปิดของหน่วยงานรัฐ ไปพัฒนานวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคม ได้ต่อไปในอนาคต โดย พ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัล ฉบับนี้ ยังร่วมไปถึงการกำหนดให้หน่วยงานรัฐทุกหน่วยต้องเร่งปรับตัวใช้เทคโนโลยี

และวางแผนพัฒนาบุคลากรของตนเองให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีนั้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงให้ทุกหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงานเป็นบริการดิจิทัลนั้นต้องใช้เวลา ซึ่งทางเราวางแผนเอาไว้ว่าภายใน 5 ปี หน่วยงานภาครัฐต้องสามารถให้บริการในรูปแบบดิจิทัลอย่างน้อย 80% ในบื้องต้นเริ่มในเอกสารที่จำเป็น 120 บริการ 

เริ่มจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับทะบียนต่าง ๆ อาทิ ทะเบียนบ้าน, ทะเบียนอาวุธ, ข้อมูลเครดิต, ใบสั่ง, ประกันสังคม, ตรวจสอบสวัสดิการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ และแน่นอนเมื่อมีการพลักดันให้เกิดการใช้ Digital ID ได้เมื่อไรก็จะช่วยให้เกิดการใช้การพิสูจน์อัตลักษณ์ตัวตน ก็จะทำให้เรื่องของการตรวจสอบข้อมูลง่ายขึ้น

DGA

คัดเลือกกรรมการเพื่อกำหนดทิศทางไปทิศเดียว

อภิณห์พร อังคกมลเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) (สพร.) หรือ ดีจีเอ กล่าวว่า ในการคัดเลือกกรรมการการปฏิรูประบบข้อมูลภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลที่เปิดเผยนี้ จะเป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมายในมาตราที่ 6 

ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิตามคณะกรรมการชุดต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการฯชุดนี้ เป็นการรวมคณะกรรมการด้านดิจิทัลจากหลากหลายคณะ ทำให้สามารถเชื่อมโยงการทำงานในภาพรวมเพื่อให้การพัฒนาประเทศไปในทิศทางเดียวกัน

ซึ่งในส่วนงานหน่วยงานราชการสามารถเตรียมการ หรือเริ่มการดำเนินการตามกฎหมายฉบับนี้ได้เลย โดยการนำระบบดิจิทัลที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้กับการบริหารงานและการให้บริการประชาชน ลดการใช้กระดาษหรือสำเนาเอกสาร การจัดให้มีระบบการชำระเงินทางดิจิทัลอีกช่องทางหนึ่ง

รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่บุคลากรในการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ เป็นต้น ในช่วงเริ่มต้น การดำเนินการในบางเรื่องจำเป็นต้องรอให้มีการกำหนดรายละเอียดในแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตลอดจนมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายนี้ก่อนจึงจะสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบ

ซึ่ง สพร.ได้จัดการประชุมระดมสมอง ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เพื่อนำความคิดเห็นมาจัดทำร่างกรอบแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลต่อไป โดย ดีจีเอ จะเป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่อำนวยการเพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการดำเนินงานเกี่ยวกับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล

ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเราได้เตรียมความพร้อมโดยได้ดำเนินการสำรวจความต้องการ และระดมความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน ซึ่งในส่วนภาครัฐปัจจุบันก็เร่งปรับตัว โดยเริ่มเปลี่ยนตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ ระดับ อบต. อบจ. ส่วนภาคประชาชนในเบื้องต้นเท่าที่ได้สำรวจ

เราพบว่าประขาขนเองก็ตั้งตารอที่จะใช้บริการ และใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานภาครํฐ และสร้างบริการที่เบ็ดเสร็จ แม้ว่าวันนี้เราจะยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องของคณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ที่จะเข้ามาดูในส่วนนี้ แต่เราไม่สามารถหยุดดำเนินการได้ ซึีงหากมีความชัดเจนในเรื่องนี้เมื่อไรก็จะสามารถดำเนินการได้ทันที

DGA

สร้างให้เกิดบริการภาครัฐแบบ One Stop Service

ไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) (สพร.) หรือ ดีจีเอ กล่าวว่า การเป็นรัฐบาลดิจิทัลสิ่งสำคัญต้องให้ประชาชนได้สัมผัสถึงความเป็นดิจิทัล ซึ่งหนึ่งในกลไกหลักของ พ.ร.บ. รัฐบาลดิจิทัลในหัวข้อการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชื่อมโยงระหว่างกัน

คือ จะต้องมีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง โดยกฎหมายกำหนดให้ในช่วง 2 ปีแรก ดีจีเอ จะต้องดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ เพื่อการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลและการดําเนินงาน ให้สามารถเห็นข้อมูลประชาชนเป็นภาพเดียวที่สมบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service หรือ OSS)

โดยแบ่งออกเป็นการบริการภาคประชาชน (Citizen Portal) และ ภาคเอกชน (Business Portal)  ซึ่งได้ดำเนินงานสำหรับภาคประชาชน (Citizen Portal) ด้วยการพัฒนาระบบ Citizen Portal ในส่วนของ Information ให้เป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับบริการภาครัฐแล้ว

ในปัจจุบันประชาชนสามารถประเมินความพึงพอใจหลังใช้บริการภาครัฐได้ผ่านแอปพลิเคชัน CITIZEN info ได้ทันที เพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถพัฒนา และยกระดับบริการได้ตรงใจประชาชนมากที่สุด ซึ่งจะพัฒนาต่อยอดให้เป็นเสมือน Google ภาครัฐที่ให้บริการข้อมูลด้านอื่น ๆ เพื่อการติดต่อกับภาครัฐได้ในแอปเดียว

ทั้งติดตามสถานะบริการ จองคิวออนไลน์ ติดต่อทำธุรกรรมของหน่วยงานต่างๆ ออนไลน์ สามารถนำทางไปยังพิกัดสถานที่ราชการ สถานประกอบการ และสถานที่อื่นๆ เป็นข้อมูลเปิด เป็นต้น สำหรับการพัฒนา OSS ในภาคเอกชน (Business Portal) ปัจจุบันมีการเชื่อมโยงขอใบอนุญาตบริการภาครัฐแล้วกว่า 40 ใบอนุญาต

ที่เว็บไซต์ biz.govchannel.go.th ตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจ การขอใบอนุญาตต่าง ๆ โดยในอนาคตจะมีการเพิ่มบริการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการประกอบธุรกิจมากขึ้นอีก

สร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเปิดของรัฐ 

การให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนในเรื่องของ ข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) ให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ผ่านศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ โดยประชาชนสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดธุรกิจเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

จะเห็นได้ว่าเนื้อหาส่วนใหญ่ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เป็นเรื่องของข้อมูลทั้งสิ้น จึงต้องมีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) เป็นกรอบการกำกับดูแลข้อมูล โดยกรอบการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Framework) มีเพื่อกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการข้อมูล

เพื่อให้ได้มาและการนำไปใช้ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถูกต้อง ครบถ้วน และมั่นคงปลอดภัย รวมไปถึงรักษาความเป็นส่วนบุคคล และสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นทุกส่วนราชการต้องให้ความสำคัญ ทั้งการออกนโยบาย แนวปฏิบัติ การรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

สิ่งเหล่านี้จะเป็นกลไกที่สำคัญที่จะทำให้สามารถบริหารจัดการข้อมูลหน่วยงานของตนเองได้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยกฎหมายนี้ได้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานดำเนินการให้เป็นไปตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รวมทั้งข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย

โดยมีคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินการตามกฎหมายนี้ ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน รัฐสภา ศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และหน่วยงานอิสระของรัฐ 

โดยเราเชื่อว่าการเชื่อมโยงข้อมูลจะช่วยให้สามารถคาดเดาความน่าจะเป็น จากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และวางแผนรับมือได้ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศ การวางแผนบริหารจัดการมลภาวะทางอากาศ ฯลฯ และยังช่วยให้ส่งเส้รมให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลเปิดของภาครัฐ ไปสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com และ FB : DGAThailand

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่