8 เทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยให้บริษัทในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม รักษาขีดความสามารถด้านการแข่งขันในตลาดที่เต็มไปด้วยคู่แข่ง…

highlight

  • เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น และยังคงความเป็นผู้นำในตลาดนี้ ผู้ประกบธุรกิจจำเป็นต้องเร่งปรับตัวทั้งกระบวนการด้วยการใช้เทคโนโลยี เข้ามาเสริมเพื่อลบข้อจำกัดแบบเก่า ๆ ออกไป และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต กระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ ด้วย 8 เทคโนโลยี ได้แก่  ERP, CRM, HCM, IoT, PLM, Warehouse Management, Supply Chain Management และCloud Computing

แนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหาร และเคร่ืองดื่มพบไทยชะลอตัว

อย่างที่ทราบกันกีว่าอุตสาหกรรมอาหารนั่นถือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้ประเทศไทย และจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของธุรกิจที่สำคัญ แต่จากการเปิดเผยโดยธนาคารออมสินที่ (GSB) ได้ทำการสำรวจ Food Industry and Drinks ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา

พบว่ามีอัตราการเติบโตชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.14 และ 0.88 (%yoy) ตามลำดับ โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมยังคงเติบโตได้ ได้แก่ ความต้องการสินค้าปศุสัตว์แปรรูป โดยเฉพาะสินค้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูปจากประเทศคู่ค้าหลัก (ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และเกาหลีใต้) ที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี

ขณะที่เทรนด์การดูแลรักษาสุขภาพของผู้คนในยุคปัจจุบัน โดยหันมาเลือกบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ส่วนสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทยที่ได้รับผลบวกจากสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ และจีน อาทิสินค้ากลุ่มผลไม้สด และผลไม้แปรรูป รวมถึงอาหารแปรรูป และอาหารทะเลแปรรูป อาหารทะเลปรุงแต่ง

อย่างไรก็ดี การที่ สหรัฐฯ ได้ปรับระดับสถานะเรื่องสถานการณ์การค้ามนุษย์ของไทยมาอยู่ที่ระดับ Tier 2 ทำให้ภาพลักษณ์สินค้าประมงไทยปรับตัวดีขึ้น และนโยบายสนับสนุน และส่งเสริมจากภาครัฐที่มีส่วนช่วยต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่มของไทย แม้ว่าภาพรวมจะไม่เติบโต และไม่ได้แย่

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมจะสามารถนิ่งนอนใจได้ เพราะในเวทีการแข่งขันโลก ย่อมมีคู่แข่งที่ทัดเทียมกันโดยฌฉพาะประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ที่เริ่มมีอัตตราการส่งออกขยับใกล้ประเทศมากขึ้น อาทิ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส, อินโดนีเซีย, อินเดีย และเวียดนาม 

8 เทคโนโลยีสำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม

8 เทคโนโลยีที่อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่มต้องใส่ใจ

ซึ่งแม้ว่าหลายประเทศจะโดดเด่นในด้านของการส่งออกทางสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี แต่การส่งออกสินค้าจำพวกอาหาร และเครื่องดื่มเองก็เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น และยังคงความเป็นผู้นำในตลาดนี้ ผู้ประกบธุรกิจจำเป็นต้องเร่งปรับตัวทั้งกระบวนการ

ด้วยการใช้เทคโนโลยี เข้ามาเสริมเพื่อลบข้อจำกัดแบบเก่า ๆ ออกไป และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต กระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งต่อไปนี้คือเทคโนโลยีที่ผู้ที่ประกอบธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มจำเป็นต้องใช้ เพื่อเตรียมความพร้อม ได้แก่

โซลูชั่น ERP ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ

ธุรกิจส่วนใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ จะมีโซลูชั่นที่ใช้ในการวางแผนทรัพยากรขององค์กรอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามธุรกิจขนาดใหญ่กว่ามักจะใช้ซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัยที่ได้รับการปรับปรุงเป็นส่วน ๆ (Patch) และแอปพลิเคชั่นที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ในขณะที่สตาร์ทอัพมักชอบใช้โซลูชั่นทางบัญชีแบบทั่ว ๆ ไป ที่ให้ความสำคัญกับระบบลูกหนี้ เจ้าหนี้ และระบบสินค้าคงคลังเท่านั้น โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โซลูชั่นด้านการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) ที่ทันสมัยมีความก้าวหน้าสำคัญหลายประการด้วยเทคโนโลยีที่มีอิทธิพล

ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ต่างๆ ขยายขีดความสามารถของ ERP ไปครอบคลุมถึงเครื่องมือในการวางแผน การคาดการณ์ และการวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีโซลูชั่นเฉพาะทางที่เจาะจงไปยังแต่ละอุตสาหกรรรม ซึ่งมีคุณสมบัติ

และคุณประโยชน์ต่าง ๆ ติดตั้งมาพร้อม ช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องทำการปรับแต่งโค้ดให้ยุ่งยาก และช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการปรับปรุงระบบ โซลูชั่นเหล่านี้ยังช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน และให้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในโซลูชั่นนั้น ๆ 

อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม

การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า 

เชื่อว่าทุกคนทราบดีว่าความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management หรือ CRM) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จโดยรวมของบริษัท ลูกค้าในยุคปัจจุบันมีความคาดหวังสูง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าในธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคทั่วไป (B2C) หรือทำธุรกิจระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ก็ตาม

บริษัท และคู่แข่งขององค์กรนั้น ๆ ล้วนต้องมองหาแนวทางที่จะใช้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าของตน และเชื่อมต่อกับผู้บริโภคด้วยแนวทางที่เหมาะสม โดยจะต้องเป็นผู้คุมเกมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการกับคำสั่งซื้อที่เข้ามา การคาดการณ์ และวางแผนสินค้าที่จะนำเสนอในแต่ละฤดูกาลหรือช่วงเทศกาลต่าง ๆ

หรือการวางแผนโปรโมชั่นให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้า โซลูชั่นการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า จะช่วยให้ท่านบริหารจัดการ และเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง

การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล

ความแข็งแกร่งของบริษัทขึ้นอยู่กับบุคลากร (Human Capital Management หรือ HCM) บริษัทในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ที่ทันสมัยจำเป็นต้องพึ่งพาบุคลากรที่มีทักษะหลากหลายด้าน ตั้งแต่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D) ไปจนถึงทีมงานฝ่ายจัดซื้อ

ซึ่งจะต้องสรรหาวัตถุดิบที่สดใหม่และคาดการณ์เกี่ยว กับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป การสรรหาพนักงาน การฝึกอบรม และการรักษาบุคลากรที่มีทักษะหลากหลายด้านนั้น อาจเป็นความท้าทายที่น่าหวาดหวั่

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันซึ่งบุคลากรที่มีความชำนาญถือเป็นสมบัติอันล้ำค่า โซลูชั่นการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสรรหาและจัดการดูแลบุคลากรที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถไว้กับองค์กรได้อย่างยาวนาน

อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม

การบริหารจัดการสินทรัพย์องค์กร และ อินเตอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT)

โซลูชั่นเพื่อจัดการวงจรชีวิตของเครื่องจักรในโรงงาน ผสานรวมเข้ากับเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ IoT จะช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง โซลูชั่นเหล่านี้จะช่วยให้โรงงานดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีปัญหาจากการที่ระบบหยุดทำงานโดยกระทันหัน

เซ็นเซอร์ที่ติดตั้งไว้ในเครื่องจักรจะทำหน้าที่เฝ้าสังเกตสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องดำเนินการซ่อมบำรุง จากนั้นระบบจะแจ้งเตือนฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรในระยะยาว

การจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Lifecycle Management หรือ PLM)

ผู้บริโภคในปัจจุบันคาดหวังจะเห็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บ่อยครั้งมากขึ้น และผู้บริโภคต้องการมีข้อเสนอและมีสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น รองรับความต้องการที่แปลกใหม่ มีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม และการจัดเตรียมที่แตกต่างจากเดิม

ซึ่งนั่นหมายความว่าองค์กรธุรกิจจะต้องทำการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โซลูชั่น PLM ที่ทันสมัยจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการดังกล่าว และเพิ่มความรวดเร็วในการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดมากขึ้น

โซลูชั่นการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management หรือ WM)

เมื่อธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง ความท้าทายในการจัดการสินค้าคงคลังของวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีความท้าทายในเรื่องการจัดการห้องเย็น ห้องแช่แข็ง และแม้กระทั่งคลังสินค้านอกสถานที่ ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะบริหารจัดการและตอบสนองอย่างฉับไวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ระบบการจัดการคลังสินค้าที่ทันสมัยจะมีขีดความสามารถในการทำงานแบบโมบาย เพื่อช่วยในการจัดเก็บแบบสองขั้นตอน การใช้ระบบ cross-docking และ slotting และการจัดส่งสินค้าขาเข้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในการจัดการ และวางจำหน่ายสินค้า

อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม

การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management หรือ SCM)

บริษัทด้านอาหาร และเครื่องดื่มที่ทันสมัยมีความต้องการใช้ประโยชน์จากระบบซัพพลายเชนที่ซับซ้อนและเครือข่ายซัพพลายเออร์จำนวนมาก และโดยมากแล้วมักจะครอบคลุมทั่วโลก ความสามารถในการตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้ง และสถานะของสินค้าที่จัดส่งได้อย่างทั่วถึงจึงมีความสำคัญมาก

เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบที่ได้รับจะอยู่ในสภาพสดใหม่และมีการจัดส่งตรงเวลาเพื่อรองรับกระบวนการแปรรูปตามตารางเวลาที่กำหนด ระบบซัพพลายเชนที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจปรับเปลี่ยนได้แบบ ณ เวลาจริงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนสถานภาพการแข่งขันให้ได้เปรียบ

การใช้ระบบคลาวด์ (Cloud Computing)

การติดตั้งใช้งานระบบคลาวด์มักจะมาพร้อมกับการอัพเดตซอฟต์แวร์ ERP หรือการนำโซลูชั่นใหม่ๆ มาใช้งานเพิ่มเติม โซลูชั่นทั้งหมดที่กล่าวถึงข้างต้นสามารถทำงานบนระบบคลาวด์ได้ และแน่นอนว่าองค์กรธุรกิจจำเป็นต้องใช้โซลูชั่นที่ยืดหยุ่นและมีความคล่องตัวสูงสุด เพื่อรักษาขีดความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว นั่นคือการใช้ระบบคลาวด์

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
**** ขอขอบคุณข้อมูลจาก วัลลภา เปี่ยมนพเก้า ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและตลาดเกิดใหม่ อินฟอร์

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่