เผยผลสำรวจ ”ดัชนีชี้วัดการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์” (Dell Technologies Digital Transformation Index (the DT Index) พบว่ามีเพียงแค่ 7% ของธุรกิจในไทยที่เป็นผู้นำทางด้านดิจิทัล ขณะที่กว่า 28% ลงทุนเพียง เล็กน้อย และบางส่วนยังไม่ลงทุน …

Dell Technologies Digital Transformation Index 2018

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท เดลล์ อีเอ็มซี (ประเทศไทย) ได้ออกมาเปิดเผยถึงผลสำรวจ ดัชนีชี้วัดการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ หรือ the DT Index ซึ่งเป็นงานสำรวจที่ทาง เดลล์ เทคโนโลยีส์ และอินเทล ได้ร่วมมือกันทำการสำรวจเหล่าผู้บริการขององค์กรธุรกิจขนาดกลางถึงใหญ่ มาตั้งแต่ในปี ในปี 2016 

โดยภายในปี 2018 นี้ได้ขยายขอบเขตการสำรวจเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เป็น 42 ประเทศ จากเดิมที่สำรวจอยู่ที่ 16 ประเทศ เพื่อเปรียบเทียบองค์กรธุรกิจกว่า 4,600 แห่ง (รวมประเทศไทย)

เพื่อประเมินเกี่ยวกับความหวัง และความกลัวของผู้นำธุรกิจที่มีต่อมุมมองในเรื่องของดิจิทัล รวมไปถึงความพร้อมขององค์กรทั่วโลกในการก้าวสู่การใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ แต่จากผลสำรวจความพร้อมขององค์กรไทยกว่า 100 แห่ง กลับพบว่า

Dell

96% ของธุรกิจในไทยในปัจจุบัน กำลังเผชิญกับอุปสรรคสำคัญที่กีดขวางการปฏิรูปสู่ดิจิทัล โดยมีอุปสรรคสูงสุด 5 ด้าน (Top Barriers) ที่กีดขวางการปฏิรูปองค์กรของตนเองเข้าสู่รูปแบบของการดำเนินงานด้วยดิจิทัล โดยกว่า 53% มีความกังวลในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์

อีก 49% คิดว่าองค์กรของตนยังมี แนวคิด หรือวัฒนธรรมด้านดิจิทัลที่ยังไม่แข็งแรงพอ ขาดความสอดคล้อง และการประสานความร่วมมือภายในบริษัท และ 48% คิดว่ายังขาดวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ด้านดิจิทัลที่สอดคล้องกัน

และ 45% ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำงานให้ทันต่อธุรกิจ ขณะที่กว่า 43% ยังขาดทักษะและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมในองค์กร

Dell

โดยผลสำรวจ DT Index ยังพบว่า 40% ของธุรกิจในไทย ยังอยู่ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มก้าวสู่ดิจิทัล (Digital Adopters) โดยบริษัทเหล่านี้ มีแผนงานและนวัตกรรมที่ล้ำหน้าในองค์กรที่ช่วยขับเคลื่อนไปสู่การปฏิรูปองค์กร (Transformation) 

และมีเพียง 7% ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทยที่เป็นผู้นำด้านดิจิทัล (Digital Leaders) อย่างแท้จริง เนื่องจากได้ปฏิรูปองค์กรของตนแล้ว ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงการปลูกฝังแนวคิดการใช้เทคโนโลยีเหมือน DNA ขององค์กรแล้ว

ขณะที่กว่า 25% ที่กำลังอยู่ในระหว่างการประเมินดิจิทัลการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital Evaluators) โดยต้องการที่จะปฏิรูปสู่ดิจิทัลอย่างระมัดระวัง และค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งครอบคลุมไปถึงการวางแผน และลงทุนสำหรับอนาคตด้วย 

อย่างไรก็ดียังคงมีองค์กรธุรกิจในประเทศไทยกว่า 28% ที่ลงทุนเพียงเล็กน้อย และบางส่วนยังไม่ลงทุน โดยแบ่งเป็นผู้ตามในเรื่องดิจิทัล (Digital Followers) กว่า 23% โดยกลุ่มนี้จะติดตามเทคโนโลยี แต่ยังคงลงทุนด้านใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีน้อย และยังคงอยู่ ในกลุ่มเพิ่งเริ่มต้นวางแผนคร่าวๆ สำหรับอนาคต

และกว่า 5% ไม่มีแผนงานด้านดิจิทัล มีการลงทุนและความริเริ่มที่จำกัดในองค์กร ซึ่งถือเป็นผู้ที่ถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังดิจิทัล (Digital Laggards) ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มหลังนี้ คิดเป็นสัดสวน่ 1 ใน 4 ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย เลยทีเดียว

เราพูดถึงการมาอยู่ในจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้วในปัจจุบัน ทำให้เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไป

อโณทัย เวทยากร รองประธาน เดลล์ อีเอ็มซี อินโดจีน กล่าวว่า ยุคถัดไปของดิจิทัลมาถึงแล้ว และมันกำลังเปลี่ยนวิถีในการใช้ชีวิต ในการทำงานและการทำธุรกิจ ซึ่งหมายความว่าเวลาคือสิ่งสำคัญ การปฏิรูปที่แท้จริงต้องเกิดขึ้นในตอนนี้ และจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง

Dell

ด้าน นพดล ปัญญาธิปัตย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ อีเอ็มซี ประเทศไทย กล่าวว่า อุปสรรคเหล่านี้ เป็นปัจจัยขัดขวางความพยายามในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ซึ่ง 90% ของผู้นำธุรกิจในไทย เชื่อว่าการปฏิรูปสู่ดิจิทัลควรแพร่หลายและครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรได้มากกว่านี้

ในขณะที่ 61% เห็นพ้องว่าองค์กรตนควรจะปฏิรูปเองมากกว่ารอให้ถูกปฏิรูปภายใน 5 ปี โดยจากรายงานดัชนีชี้วัดการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ Dell Technologies Digital Transformation Index (the DT Index) และยังพบอีกว่ากว่า 71% ของผู้นำธุรกิจในไทย เชื่อว่าองค์กรของตนคงต้องพยายามเป็นอย่างมาก

เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าภายในระยะเวลาเพียงแค่ 5 ปี ในขณะที่อีก 33% มีความกังวลอย่างมากว่าองค์กรของตนจะไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

อย่างไรก็ตามในการสำรวจวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจกำลังเดินหน้าเพื่อที่จะก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับการคุกคามในการที่จะถูกเอาชนะจากผู้เล่นที่ไวกว่าและมีนวัตกรรมเหนือกว่า โดย 69% ของธุรกิจในไทยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อช่วยเร่งสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่

68% ของธุรกิจสร้างระบบรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวไว้ในทุกอุปกรณ์ แอปพลิเคชัน และอัลกอริธึมทั้งหลาย และ 65% กำลังพยายามอย่างหนักในการพัฒนาทักษะรวมถึงความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมในองค์กร เช่นการสอนให้พนักงานเรียนรู้วิธีการเขียนโค้ด

ขณะที่ 52% ได้เริ่มที่จะแบ่งปันความรู้ในทุกฟังก์ชันงาน ด้วยการเตรียมพร้อมให้ผู้นำด้านไอที มีทักษะทางธุรกิจ และให้ผู้นำธุรกิจมีทักษะไอทีในขณะเดียวกัน และ 45% มีความพยายามที่จะยกระดับกระบวนการพัฒนาระบบ หรือแอพพลิเคชั่นของตนเองให้รวดเร็วมากขึ้นเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

Dell

ซึ่งวันนี้บริษัทต่างๆ กำลังหันมาหาเทคโนโลยีเกิดใหม่ และระบบรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ (และสร้างความปลอดภัย และความเชื่อมั่น) ในการปฏิรูปธุรกิจของตน โดยมีแผนที่จะลงทุนทางด้านเทคโนโลยี ภายใน 1 ถึง 3 ปีข้างหน้า

โดย 73% ของธุรกิจในไทย ตั้งใจที่จะลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ 63% ของธุรกิจในไทยตั้งใจว่าจะลงทุนด้านมัลติคลาวด์ 61% ของธุรกิจในไทยตั้งใจว่าจะลงทุนด้านการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใช้แนวทางมุ่งเน้นที่การประมวลผลเป็นหลัก รวมถึงศักยภาพและการดำเนินการที่เหมาะสมและคุ้มค่าในเรื่องของเวิร์กโหลด

และ56% ของธุรกิจในไทยตั้งใจว่าจะลงทุนเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขณะที่ 55% ของธุรกิจในไทยตั้งใจว่าจะลงทุนในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในุกสิ่ง (IoT)

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจจำนวนมากกำลังวางแผนกระทั่งว่าจะทดลองใช้เทคโนโลยีที่เพิ่งเริ่มเกิด โดย 55% กำลังจะลงทุนด้านบล็อกเชน (Blockchain) ในขณะที่อีก 44% จะลงทุนในระบบที่มีกระบวนการรับรู้ได้เอง (Cognitive Systems) และ 40% จะลงทุนใน วีอาร์/เออาร์ (VR/AR)

นับว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับธุรกิจ เรากำลังมาถึงจุดที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ที่เทคโนโลยี และธุรกิจ รวมถึงมนุษยชาติมาร่วมกันสร้างโลกที่เชื่อมต่อมากยิ่งขึ้น มีคุณภาพยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม องค์กรที่วางเทคโนโลยีไว้เป็นศูนย์กลาง จะได้รับคุณประโยชน์จากโมเดลธุรกิจดิจิทัล รวมถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว เพื่อจัดการทุกสิ่งได้ในแบบอัตโนมัติและทำให้ลูกค้าพึงพอใจ นี่คือสาเหตุที่การปฏิรูปสู่ดิจิทัล เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่