Smart City 

ภูเก็ต สมาร์ทซิตี้ (Phuket Smart City) ใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น หลังรัฐ และเอกชนไทย เริ่มทดสอบด้านรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว ทั้งทางบก ทางทะเล…

highlight

  • เอ็กซ์เซ้นส์ จับมือ กสท. ทีซ่า และสนช. เปิดตัวระบบจัดการเพื่อรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว ชูจุดเด่น เรื่องของความสามารถในการสามารถปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ได้ตามความต้องการและใช้งานผ่านทางเว็บ และทางมือถือ ได้
  • Tourism Safety Support and Management System ประกอบด้วยการทำงาน 3 ระบบ ได้แก่ระบบระบุตำแหน่งนักท่องเที่ยว โดยมีสายรัดข้อมือ (Wristband), ระบบติดตามเรือท่องเที่ยว (Automatic Identification System) และระบบติดตามรถ รับ-ส่ง นักท่องเที่ยว (GPS Vehicle Tracking System) โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูส่งไปยังระบบศูนย์ควบคุม และสั่งการ (Control and Command Center) ทำให้รู้ตำแหน่ง และการแจ้งเตือนเหตุการณ์ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือ

4 หน่วยงาน เดินหน้าทดสอบ Tourism Safety ในโครงการ Phuket Smart City 

เรื่องของเมื่องอัจจริยะ เป็นเรื่องที่ประเทศไทยได้เดินหน้าพัมนาอย่างต่อเนื่อง เราเริ่มเห็นสมาร์ทซิตี้ ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นนอกเหนือไปจาก ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้ก้าวทันกับเมืองหลวง และประเทศอื่น ๆ เพื่อสร้างให้เกิดเศรษฐ์กิจใหม่ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ โดยฉพาะในด้านการท่องเที่ยว หรือด้านการแพทย์เองก้ตาม

ล่าสุด เอ็กซ์เซ้นส์ ผู้พัฒนาระบบติดตามยานพาหนะ ต่อยอดความสำเร็จ สู่การพัฒนาระบบในการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเพื่อความปลอดภัย จับมือ กสท. (CAT) ทีซ่า (TESA) และสนช. (NIA) เปิดตัวระบบจัดการเพื่อรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว โชว์ฝีมือการพัฒนาโดยคนไทย

โดยหวังยกระดับในเรื่องของความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ตามมาตรฐานความปลอดภัยทางการท่องเที่ยวตามที่ภาครัฐบาลกำหนด ด้วยระบบ Tourism Safety Support and Management System ที่มีจุดเด่น เรื่องของความสามารถในการสามารถปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ได้ตามความต้องการ และใช้งานผ่านทางเว็บ และทางมือถือ ได้

Smart City 
ฐิติมา สุวรรณรัฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด

ฐิติมา สุวรรณรัฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด กล่าวว่า จากประสบการณ์ในการพัฒนาและให้บริการระบบติดตามยานพาหนะ (Vehicle Tracking) มากว่า 15 ปี โดยได้รับการรับรองผลงานฮอลออฟเฟรมของซอฟต์แวร์ปาร์ค ( Software Park Thailand’s Hall of Fram 2009)

และได้รับรางวัลผลงานดีเด่นจาก (Army Research day 2014 ) สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารบก ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่าง บริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ฯ กสท. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สมาคมสมองกลฝังตัวไทย และบริษัทนำเที่ยวต่าง ๆ

ภายใต้โครงการ ระบบการจัดการ และรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว เพื่อทดสอบการติดตามนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยภายใต้กฎระเบียบของภาครัฐ โดยเราเป็นผู้พัฒนาระบบ และเปิดตัวสู่ตลาดแล้ว ซึ่งจากเหตุการณ์นักท่องเที่ยวสูญหายเมื่อปีที่ผ่านมา

ทำให้หลายหน่วยงานตระหนักถึงมาตรฐานความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น ซึ่งโครงการนี้จะเป็นเส้นทางหนึ่งที่ช่วยให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การท่องเที่ยวระดับสากล โดยระบบการรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวจะทำการแจ้งเตือนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ กรณีประสบเหตุอันไม่พึงประสงค์

เช่น นักท่องเที่ยวตกน้ำ อุปกรณ์ที่ติดตัว (Wristband) หรือเซนเซอร์ที่ติดไว้ในเสื้อชูชีพ จะส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังศูนย์ควบคุมและสั่งการ (Control and Command Center) เพื่อให้การช่วยเหลือในทันที

ด้าน พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่บริษัท บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า แคทได้ร่วมสนับสนุนโครงข่ายการกระจายสัญญาณบนเทคโนโลยี ลอร่าแวน (Long-Range Wide Area Network) ในการทดสอบระบบการจัดการและรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว

เพื่อทดสอบการทำงานของเซ็นเซอร์ บนเรือ และเสื้อชูชีพของนักท่องเที่ยว ในกลุ่มจังหวัดพื้นที่ทะเลอันดามันได้แก่ จังหวัดกระบี่ พังงา ระนอง ตรัง สตูล และภูเก็ต โดยโครงการนำร่องนี้ เริ่มทดสอบระบบดังกล่าวแล้วที่จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดแรก

ซึ่งแคทมีความพร้อมในการให้บริการสัญญาณลอร่าแวนครอบคลุมพื้นที่สำคัญในจังหวัดท่องเที่ยว และจะให้บริการครบทั้ง 77 จังหวัด ทั่วทั้งประเทศ เพื่อให้ทุกฝ่ายมั่นใจ

Smart City 
ฐิติมา สุวรรณรัฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด (ที่ 2 จากขวา), พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือผู้แทน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (ที่ 3 จากซ้าย), ขนิษฐา ประสารสุข ผู้จัดการ สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (ที่ 3 จากขวา), ปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม (คนแรกจากขวา), สมมาตร วงสารศักดิ์ กรรมการ บริษัท ท่าเรือวิสิษฐ์พันวา จำกัด (ที่ 2 จากซ้าย)

TESA และ NIA ร่วมวงสนับสนุน เล็งขยายผลสู่เชิงพาณิชย์

วัชระ ฉัตรวิริยะ นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย กล่าวว่า “สมาคมสมองกลฝังตัวไทย” (Thai Embedded Systems Association หรือ ทีซ่า) (TESA) กล่าวว่า ทีซ่า ในฐานะที่มีบทบาท และหน้าที่ ในการช่วยให้สมาชิกเติบโตเข้มแข็ง และแข่งขันได้ ทางทีซ่าจึงช่วยประสาน และผนึกกำลังกับภาคส่วนต่าง ๆ

ที่ทางสมาคมฯ มีความร่วมมือทั้งภาครัฐ และเอกชน ซึ่งการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง นั้นทำได้ยาก และมีข้อจำกัด แต่หากใช้ช่องทางของสมาคม ในการไปช่วยประสาน และติดต่อให้ ก็จะช่วยลดข้อจำกัด และหาทางออกได้ เช่น การทดลอง ทดสอบ ฯลฯ

อีกทั้งช่วยให้สมาชิกได้พบปะ พูดคุย และสานต่อความร่วมมือ จนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ การให้บริการ ตลอดจนโซลูชั่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Products, Services, Solutions ให้โครงการสามารถดำเนินไปได้ได้ตามเป้าหมาย และแผนที่วางไว้

ปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สนช. (NIA) มีกลไกในการส่งเสริม และให้การสนับสนุนผู้ประกอบการให้เติบโตเข้มแข็งในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนความร่วมมือในโครงการเพื่อขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้

ทั้งในรูปแบบเงินทุนสนับสนุน และช่วยในการประสานงาน เรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของภาครัฐ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ระบบจัดการเพื่อรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวดังกล่าวพัฒนาขึ้นโดยฝีมือคนไทย มีจุดเด่นด้านซอฟต์แวร์ที่สามารถปรับเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ได้กับการติดตามรูปแบบอื่น ๆ

เช่น ติดตามเรือนำเที่ยว ติดตามเรือขนส่งสินค้า ตลอดจนการติดตามยานพาหนะทางบก แตกต่างจากซอฟต์แวร์ของต่างประเทศที่ไม่สามารถแก้ไขการใช้งานได้ นอกจากนี้ ยังมีจุดเด่นด้านความสะดวกในการใช้งาน เนื่องจากสามารถเรียกดูระบบในหลายส่วนผ่านหน้าจอเดียว หรือที่เรียกว่า Single monitor

ระบบติดตามแบบ 3 ประสาน

โครงการยกระดับความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวตามมาตรฐานความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว ผ่านการจัดการทดสอบระบบจัดการเพื่อความปลอดภัยนักท่องเที่ยวในครั้งนี้ ประกอบด้วย การใช้ 3 ระบบ ได้แก่

ระบบระบุตำแหน่งนักท่องเที่ยว โดยมีสายรัดข้อมือ (Wristband) และเสื้อชูชีพติดเซนเซอร์ เป็นอุปกรณ์ปลายทาง ทำหน้าที่ส่งสัญญาญไปยังศูนย์ควบคุมและสั่งการ เมื่อนักท่องเที่ยวต้องการความช่วยเหลือ

ระบบติดตามเรือท่องเที่ยว (Automatic Identification System) แสดงพิกัดตำแหน่งของเรือและเรือบริเวณรอบข้าง แสดงความเร็วของเรือ และระบบเข็มทิศนำทาง เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนที่ ประเมินความเสี่ยง และกิจกรรมการปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมของหน่วยงานภาครัฐ

ระบบติดตามรถ รับ-ส่ง นักท่องเที่ยว (GPS Vehicle Tracking System) ด้วยการทำการแสดงภาพวิดีโอ และระบบติดตามยานพาหนะแบบเรียลไทม์ แจ้งเตือนเมื่อเข้าเขตพื้นที่เสี่ยงอันตราย และแจ้งเตือนเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วเกินกำหนด สามารถแจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย ด้วยการแชร์จุดพิกัดภูมิศาสตร์ (GPS Location) 

ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาล หน่วยกู้ภัย สามารถควบคุมและป้องกัน ปราบปรามปัญหาอาชญากรรม เพื่อรักษาความความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่นักท่องเที่ยว อันจะนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

Smart City 

ระบบศูนย์ควบคุม และสั่งการ

การทำงานของระบบจัดการเพื่อความปลอดภัยจะทำการแจ้งเตือนข้อมูลต่าง ๆ ไปยังระบบศูนย์ควบคุม และสั่งการ (Control and Command Center) ทำให้รู้ตำแหน่ง และการแจ้งเตือนเหตุการณ์ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที

รู้ตำแหน่งของนักท่องเที่ยวแต่ละราย ป้องกันการสูญหายหรือพลัดหลงกับทัวร์ รวมทั้งมีระบบจอภาพแสดงผลในห้องศูนย์ปฏิบัติการอีกทั้งยังมีพยากรณ์อากาศ เพื่อตรวจตราการออกเรือท่องเที่ยวในแต่ละวัน

มีศูนย์ประสานความช่วยเหลือ ณ จุดประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลที่สำคัญ โดยมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และล่ามภาษาต่างๆ เพื่อช่วยเหลือและประสานงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต

เมื่อมีข้อมูลนักท่องเที่ยวยังสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการท่องเที่ยว เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้สมบูรณ์เพื่อรองรับการท่องเที่ยวครั้งต่อไป

ชูจุดขายซอฟต์แวร์สัญชาติไทย ที่มีการที่ใช้ได้จริง

ด้วยความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจระบบติดตามยานพาหนะของบริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ ที่มีประสบการณ์ยาวนาน มีลูกค้ารายใหญ่หลายราย ตัวอย่างเช่น เอสซีจี ใช้ระบบติดตามรถขนส่งสินค้าของบริษัทกว่า 5,000 คัน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นเครื่องยืนยันว่าบริษัทมีระบบที่ดี

และเป็นผู้นำในธุรกิจระบบติดตามรถขนส่งสินค้า โดยมีศูนย์ควบคุม และสั่งการ (Control and Command Center) ที่เป็นมาตรฐานสากล ดังนั้น การรุกเข้าสู่ตลาดระบบจัดการ เพื่อความปลอดภัยสำหรับการท่องเที่ยว จึงเป็นการขยายธุรกิจเข้าไปยังอุตสาหกรรมใหม่ของบริษัท

โดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เดิมเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ให้รองรับการใช้งานที่ยืดหยุ่นตามโจทย์ความต้องการดังที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ ระบบยังมีฟีเจอร์ฮ็อตสปอตให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่นักท่องเที่ยวภายในเรือแม้จะอยู่กลางทะเล อีกด้วย

ฐิติมา สุวรรณรัฐ กล่าวเสริมว่า ในส่วนการขยายตลาดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เรามีเล็งเข้าไปในกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้แก่ ผู้ประกอบการท่าเรือ บริษัทนำเที่ยว ผู้ประกอบการการขนส่งนักท่องเที่ยวทั้งทางบก และทางทะเล ตลอดจนหน่วยงานรัฐที่มีภารกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

โดยโซลูชันของบริษัทสามารถรองรับได้หลายสัญญาณ เช่น ลอร่าวีเอชเอ็ม และเครือข่ายของผู้ให้บริการมือถือ ซึ่งเรา้ชื่อว่าโซลูชั่นระบบการจัดการเพื่อความปลอดภัยนักท่องเที่ยวจะช่วยยกระดับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และยกระดับเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบยั่งยืน

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่