Smart

ในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนแปลง เราเริ่มเห็นมีการนำ“ระบบอัจฉริยะ” หรือ“สมาร์ท” (Smart) เข้ามาเป็นเฟืองหลักสำหรับขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น…

highlight

  • การก้าวไปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะนั้น สถานประกอบการต่างๆจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็น “สมาร์ท 4 ประเภท ได้แก่ คนอัจริยะ (Smart People), เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่สมาร์ท (Smart Technology & Innovation), การบูรณาการวิศวกรรมการซ่อมบำรุงรักษาแบบอัจริยะ (Smart Maintenance) และบรูณาการสิ่งแวดล้อม และชุมชนให้มีความอจริยะ (Smart Environment & Community)

4 ความ Smart แบบญี่ปุ่น ที่อุตฯไทยต้องทำตาม

สำหรับอุตสากรรมที่ต้องการก้าวไปสู่การเป็น โรงงานอัจฉริยะ” (Smart Industry) สิ่งหนึ่งที่ต้องการดำเนินการคือการใช้ระบบการผลิตที่มีความทันสมัย ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เอื้อต่อการทำงานให้สะดวก ง่าย มีประสิทธิภาพ ประหยัดพัลงงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ซึ่งระบบสมาร์ทเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่หลาย ๆ สถานประกอบการควรหันมาใช้ และให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยสร้างทั้งภาพลักษณ์ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเพื่อให้รับมือได้ทันกับบริบทโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

แน่นอนว่าเมื่อนึกถึงประเทศที่ให้ความสำคัญกับการนำระบบ “สมาร์ท” มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากการนำระบบไอโอที หุ่นยนต์ เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆมาใช้ในการดำเนินงานหลาย ๆ ประเภท

โดยระบบสมาร์ทต่าง ๆ ของญี่ปุ่นยังเป็นต้นแบบ และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมของหลายๆประเทศ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมในไทย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการจัดงานนิทรรศการและงานแฟร์ด้านเครื่องจักรและระบบการผลิตทีทันสมัย

เพื่อแบ่งปันข่าวสารข้อมูล ตลอดจนกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมได้เรียนรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่จำเป็น ทั้งนี้ จากความใส่ใจในกระบวนการดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจที่วันนี้ประเทศญี่ปุ่นจะยังคงไว้ ซึ่งสถานะความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมระดับแถวหน้าของโลก

Smart

โรงงานอัจฉริยะ” ไม่ใช่แค่แนวคิด แต่จะเป็นการปฏิวัติรูปแบบโรงงานแบบใหม่

ทาดาชิ โยชิดะ ประธานสมาคมบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA ให้ความเห็นไว้อยา่งน่าสนใจว่า เมื่อเราเอ่ยถึงเรื่องของ โรงงานอัจฉริยะ”  ในวันนี้เราต้องมองว่าวันนี้จะไม่ใช่เเค่เรื่องของแนวคิดเพื่อนำไปพัฒนาอุตสาหกรรมอีกต่อไปแล้ว แต่จะเป็นเรื่องของพัฒนาการ และการปฏิวัติรูปแบบโรงงานใหม่

ที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างให้หลาย ๆ ระบบมีความเป็นอัจฉริยะ ด้วยการสร้างฟังก์ชั่นการใช้งานที่ชาญฉลาด เพื่อทำให้เครื่องจักร หรือกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในการก้าวไปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะนั้น สถานประกอบการต่างๆจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็น “สมาร์ท 4 ประเภท ได้แก่

คนอัจริยะ คือ การพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและมีความพร้อมกับการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในยุคใหม่อยู่เสมอ ซึ่งควรจะเริ่มตั้งแต่ในสถาบันการศึกษา เช่น ทักษะการเขียน Coding ทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเฉพาะทาง การผลิตวิศวกรที่สามารถรองรับความต้องการและผลกระทบทางอุตสาหกรรม

ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรด้านความเสี่ยง วิศวกรการเงิน วิศวกรด้านไอโอที นอกจากนี้ยังควรจะต้องพัฒนาความสามารถเฉพาะทางที่หุ่นยนต์ หรือ AI ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้ เพื่อรับมือกับแนวโน้มการถูกแทนที่แรงงานด้วยเครื่องมือดังกล่าวในอนาคต

Smart
teacher writing equations on the black board

เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่สมาร์ท โดยเป็นการนำระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในทุกกระบวนการทางอุตสาหกรรม เพื่อให้ผลลัพธ์ในกระบวนการผลิตและการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและลดผลเสียให้น้อยลงที่สุด

ซึ่งเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในยุคใหม่ คือ IoT (Internet of Things) เป็นการนำระบบอินเทอร์เน็ตมาเชื่อมโยงกับระบบต่างๆภายในสถานประกอบการ เพื่อให้การสั่งการทำงานง่าย รวดเร็ว และสามารถกระทำได้ในทุกที่ทุกเวลา

ส่วนต่อมาคือ Big Data ซึ่งจะเป็นระบบที่วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำนายพฤติกรรม การเตือนภัย แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงช่วยในการตัดสินใจให้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามด้วย หุ่นยนต์ ซึ่งจะมีหน้าที่ในการทำงานทดแทนส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถกระทำได้ เช่น การทำงานในพื้นที่หรือบรรยากาศที่มีความเสี่ยง การผลิตที่มี

ความต่อเนื่องหรือระยะเวลาที่ยาวนาน Blockchain ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ความลับของบริษัท การเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และสุดท้ายคือระบบ AI ซึ่งเป็นระบบที่มีความขำนาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์คุณภาพของสินค้า การคำนวณ การตรวจจับความผิดพลาดจากการดำเนินงาน เป็นต้น

Smart

การบูรณาการวิศวกรรมการซ่อมบำรุงรักษาแบบอัจริยะ หรือระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างวิศวกรรมการซ่อมบำรุงรักษา ระบบการบริหารจัดการการผลิต ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ข้อมูล การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต Cloud Computing และ Big Data พร้อมนำข้อมูลสารสนเทศ ต่าง ๆ มาใช้ในการวิเคราะห์ และทำนายล่วงหน้า

ว่าเครื่องจักรหรือสายการผลิตใดมีแนวโน้มที่จะมีปัญหา โดยในการยกระดับ Smart Maintenance ดังกล่าว จะช่วยให้ทราบถึงข้อมูลสภาพการทำงานของเครื่องจักร และเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้น ทำให้ดำเนินการแก้ไขป้องกันปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ การมีระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาดยังช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งภาคอุตสาหกรรมไทยยังถือว่ายังมีค่าใช้จ่ายในด้านนี้ปีละไม่ต่ำกว่าหลักแสนล้านบาท

Smart

บรูณาการสิ่งแวดล้อม และชุมชนให้มีความอัจริยะ ซึ่งเป็นการจัดการบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน เช่น พื้นที่ที่สามารถแลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เช่น นวัตกรรม เทคโนโลยีให้เกิดขึ้นในองค์กร รวมทั้งให้ความสำคัญในการบริหารจัดการ หรือมีโซลูชั่นที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เช่น เทคโนโลยีในการกำจัดมลพิษทั้งทางบก น้ำ อากาศ นวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดกากขยะอุตสาหกรรมและกากขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเติบโต และยั่งยืน

อีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องคือ การจัดงานแฟร์และนิทรรศการด้านอุตสาหกรรม โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นเสมือนเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ ประสบการณ์ และกระตุ้นให้ภาคเอกชนมีความตื่นตัวที่จะแข่งขันการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ทั้งยังเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์อุตสาหกรรมของประเทศให้ดูมีความทันสมัยและเปี่ยมไปด้วยการพัฒนาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง พร้อมที่จะรักษามาตรฐานและประสิทธิภาพที่ดีอยู่เสมอ ทั้งนี้ หนึ่งในนิทรรศการด้านอุตสาหกรรมที่ได้การยอมรับ และถูกจัดมาอย่างต่อเนื่องคือ Maintenance & Resilience Tokyo 

ซึ่งเป็นงานที่ให้ความสำคัญกับระบบการซ่อมบำรุงรักษา เทคโนโลยีที่จำเป็นในการผลิต อุปกรณ์ เทคโนโลยี และโซลูชั่นในการบำรุงรักษาโรงงาน และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่จำเป็น โดยมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)

ของญี่ปุ่นให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยีมาจัดแสดง พร้อมด้วยการสัมมนาให้ความรู้จากภาครัฐและเอกชน และได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาเกือบ 60 ปี

Smart

“เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่อุตสาหกรรมในไทยเข้าใจในแนวคิด JMA จึงได้นำงาน Maintenance & Resilience Tokyo มาจัดครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้ชื่อ Maintenance & Resilience Asia 2019 หรือ MRA 2019 โดยนำเอาเทคโนโลยีในด้านกระบวนการผลิต การบำรุงรักษา และนวัตกรรมเทคโนโลยี มากแสดง ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้ไทยก้าวไปสู่ศูนย์กลางแห่งความทันสมัยได้ไม่ยาก” ทาดาชิ โยชิดะ กล่าว

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่