Industrial revolution stages from steam power to cyber physical systems, automation and internet of things
ในยุค อุตสากรรม 4.0 เทคโนโลยี IoT จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก เพราะอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จำเป็นต้องพึ่งการวิเคราะห์การผลิตที่แม่นยำ

อีกไม่นานโลกของอุตสาหกรรมกำลังก้าวสู่การปฏิวัติครั้งใหม่ที่เรียกว่า อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ที่จะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ซึ่งคำว่า Industry 4.0 มาจากชื่อนโยบายอุตสาหกรรมแห่งชาติของเยอรมนีที่ประกาศเมื่อปี ค.ศ. 2013 แนวคิดก็คือ โลกของเราจะเข้าสู่ช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ภายใน 20 ปีข้างหน้า

ทำให้หลายประเทศต่างก็ตื่นตัวกับผลกระทบที่จะติดตามมาด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบันทุกประเทศบนโลกมีการเชื่อมต่อกันอย่างไร้พรมแดนในทุกมิติ ทั้งความร่วมมือทางการค้า ความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าในอีกมุมหนึ่งย่อมเกิดการแข่งขันกันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลประการหลังนี้เอง หลายประเทศจำเป็นต้องปรับตัวสู่การพัฒนาในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ตามกันไป เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองในการแข่งขันนั่นเอง

แนวโน้มหนึ่งที่เรามองเห็นในขณะนี้ก็คือผู้คนกำลังหันมาใช้คำศัพท์ อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ ไอโอที (Internet of Things : IoT) หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ สำหรับอุตสาหกรรม หรือ ไอไอโอที (Industrial Internet of Things : IIoT) มากยิ่งขึ้น

และอุตสาหกรรม 4.0 จะเป็นการให้ความสำคัญกับการสร้างระบบอัจฉริยะที่รวมส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งรวมถึงกระบวนการผลิต และครอบคลุมมากกว่าการเน้นแค่ไอโอที เนื่องจากเป็นการผสานรวมระบบอัตโนมัติที่ทันสมัย การส่งเสริมการผลิต และการพิจารณาทุกสิ่งบนพื้นฐานของความเป็นจริง เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรรมยุค 4.0

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะเป็นการบูรณาการโลกของการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ Internet of Things (IoT) ทุกหน่วยของระบบการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์หน่วยต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกติดตั้งระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยน ข้อมูลซึ่งกันและกันอย่างอิสระ เพื่อการจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมด

อุตสาหกรรม 4.0

จุดเด่นของอุตสาหกรรม 4.0 คือการที่เครื่องจักรหรือระบบอัตโนมัติสามารถเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ต จึงสามารถแบ่งปันข้อมูลข่าวสารถึงกันหมด รวมทั้งสามารถใช้ทรัพยากรบางส่วนร่วมกันได้ เครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 จะมีความสามารถที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งในด้านการทำงานด้วยตนเอง ความยืดหยุ่น และการปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขการผลิต

รวมทั้งมีความสามารถในการตรวจสอบและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ นอกจากนี้เครื่องจักรในอนาคตจะมีโปรแกรมสำหรับตรวจสอบและดูแลสภาพของเครื่องจักรเพื่อยืดอายุการทำงาน อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนการผลิตและประเมินประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร กล่าวคือ เครื่องจักรจะมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นนั่นเอง

นอกจากตัวเครื่องจักรที่เป็นอัจฉริยะแล้ว โรงงานในยุค 4.0 ก็จะมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นด้วย โดยที่โรงงานอัจฉริยะ หรือ Smart Factory จะสามารถกำหนดระบุกิจกรรมเงื่อนไข รวมทั้งสภาพแวดล้อมของการผลิต สามารถสื่อสารกับหน่วยอื่น ๆ ได้อย่างอิสระแบบไร้สาย สามารถผลิตสินค้าตามคำสั่งโดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น เวลา ต้นทุนการผลิต ค่าขนส่ง การรักษาความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ เป็นระบบการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด และลดต้นทุนด้านแรงงานที่เกินความจำเป็นอีกด้วย

ประเทศไทยกับ อุตสาหกรรม 4.0

ประเด็นของไทยจะต้องเข้าใจว่าแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศอุตสาหกรรมในยุโรปและสหรัฐอเมริกา รวมถึงญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งประเทศเหล่านั้นมีการทํา R&D และพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเตรียมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 มาก่อนหน้านี้หลายปี

สําหรับประเทศไทยและประเทศที่กําลังพัฒนา ทางเลือกคงมีไม่มากนัก นอกจากการนําเข้าและการเลือกใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสมกับธุรกิจและตลาด ขณะที่อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของไทยยังอยู่ในระดับ 2.0 และ 3.0 ซึ่งเป็นการใช้คนในระบบ

อุตสาหกรรม 4.0
อุตสาหกรรม 4.0

เศรษฐกิจก็ยังมีความจําเป็น ดังนั้นการเตรียมพร้อมและปรับตัวทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการ โลจิสติกส์ และภาคเกษตรกรรมอาจต้องมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสมกับสังคมของประเทศไทย เพราะสังคมไทยประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมไทยเกินกว่าครึ่งยังต้องพึ่งแรงงานอย่างมาก

ทั้งนี้เศรษฐกิจใหม่ในอนาคต หากมีการออกแบบที่ไม่เหมาะสมจะเป็นการขยายช่องว่างของรายได้ ทําให้เกิดความเหลื่อมล้ำจากโอกาสการเข้าถึงนวัตกรรมใหม่และเทคโนโลยีใหม่จะเป็นปัญหาของสังคมไทยในอนาคต

สำหรับประเทศไทยที่ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจต้องตื่นตัวกับการปฏิรูปอุตสาหกรรมครั้งนี้ ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่ารัฐบาลเองพยายามที่จะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมากขึ้น รวมทั้งขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งเสริม E-Commerce, E-Document และ E-Learning ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการวางรากฐานการพัฒนาสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม การปรับตัวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับคนไทยโดยการปรับเปลี่ยนและนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้งานนั้น คงต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของอุตสาหกรรมในบ้านเรา และต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนไทยอีกด้วย

IoT เทคโนโลยีสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม

การเลือกที่จะไม่ตอบรับกับเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งในกรณีนี้คือ อุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นเรื่องเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทผู้ผลิตบางแห่งอย่างแน่นอน ซึ่งแนวคิดนี้ควรเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่องค์กรธุรกิจควรให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีใหม่และของเดิมที่คุณสามารถใช้ต่อไปได้

โดยต้องจัดอับดับ 1 ถึง 10 ในเรื่องการก้าวสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง อาทิ การปรับใช้ระบบอัตโนมัติและการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำไอโอทีมาใช้ตรวจจับและติดตามสถานะของเครื่องจักร และแจ้งเตือนพนักงานเมื่อมีเหตุอันตราย

แม้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังอุตสาหกรรม 4.0 ควรเป็นสิ่งที่ได้รับความสำคัญ เมื่อต้องปรับใช้เทคโนโลยีตามแผนงานที่วางไว้ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้นสำหรับแรงงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต แม้จะยังไม่จำเป็นที่จะต้องก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นหลัก

แต่ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องมองไปที่เทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภคที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วย เช่น เทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ และพิจารณาว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างไรบ้าง

อุตสาหกรรม 4.0

อุตสาหกรรมและไอโอทีเป็นแนวโน้มที่ดีมากสำหรับการนำวิธีการใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิต แต่อย่าเพิ่งวิ่งหากคุณยังเดินไม่ได้ ทั้งนี้เป็นเรื่องง่ายมากที่จะหลงเชื่อคำชักชวนเกี่ยวกับไอโอทีจนต้องเสียเงินไปกับระบบเซนเซอร์ที่ไม่ได้มีความจำเป็นเลยแม้แต่น้อย ทั้งยังต้องสูญเสียทรัพยากรที่น่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ดีกว่า

สิ่งที่ต้องคำนึงต่อการนำไอโอทีมาใช้ในองค์กรคือ อย่าพยายามตัดสินทุกสิ่งทุกอย่างโดยทันที มิฉะนั้นอาจต้องลงเอยด้วยปริมาณข้อมูลที่มากเกินกว่าจะสามารถจัดการได้ ก้าวถอยหลังออกมาและพิจารณาสิ่งที่มีความสำคัญต่อคุณจริง ๆ บางทีอาจมีห่วงโซ่การผลิตบางจุดที่ล่าช้า และคุณต้องปรับแก้ให้ถูกต้องเฉพาะจุด หรืออาจต้องใช้การติดตามตรวจสอบไซต์งานจากระยะไกล แทนที่จะเสียเงินไปกับการจัดส่งพนักงานไปดูแลเองโดยตรง

สรุปก็คือ การวิเคราะห์การผลิตเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรม 4.0 และเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมกำลังให้ความสนใจอย่างมาก เรากำลังเดินหน้าเข้าสู่การแปรรูประบบการทำงานเป็นดิจิทัลและทุกสิ่งมีพร้อมให้เลือกใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาสมดุลระหว่างการรับเอานวัตกรรมมาใช้งานกับความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งใหม่กับสิ่งที่มีประโยชน์ สำหรับองค์กรของเรา

ฉะนั้นการเปลี่ยนผ่านจากรูปแบบเดิมมาเป็นอุตสาหกรรม 4.0 จำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพของคน ความพร้อมของค์กร และเทคโนโลยีที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องตกผลึกรูปแบบของธุรกิจให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จากนั้นค่อยไปมองว่าจะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาช่วยให้การดำเนินงานสะดวกขึ้นได้อย่างไร

ส่วนขยาย 

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่ได้มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : พิพัฒน์ เพิ่มผัน (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่