ETDA

เอ็ตด้า (EDTA) เผยโฉมผู้ชนะจากการแข่งขัน Thailand CTF Competition ปีที่ 5 หวังผลักดันให้เกิดบุคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ป้อนให้ประเทศ มากขึ้น…

highlight

  • สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA เผยโฉมพร้อมมอบรางวัลแก่ทีมชนะเลิศการแข่งขัน Thailand CTF Competition 2019 เวทีเฟ้นหาสุดยอดอัจฉริยะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เลือดใหม่ พร้อมเตรียมส่งเป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมการแข่งขัน CTF ระดับอาเซียน Cyber SEA Game 2019 และระดับโลกในงาน Security Contest 2019 หรือ SECCON 2019 ณ ประเทศญี่ปุ่น

EDTA เผยโฉมผู้ชนะจากการแข่งขัน Thailand CTF Competition 2019  

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า กล่าวว่า การจัดงาน Thailand CTF Competition 2019 ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 5 ที่ทาง สพธอ. ได้ดำเนินการจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชน

และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องของภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้รู้เท่าทันในเรื่องของภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ของการทำทำธุรกรรมออนไลน์ และจับจ่ายใช้สอยผ่านแฟลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากขึ้น ซึ่งความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้นย่อมมาพร้อมกับภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ซึ่ง สพธอ. หรือเอ็ดด้า ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการดูแลเร่ื่องของการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้ให้แก่ประชาชน รวมไปถึงการพัฒนา และยกระดับบุคลากรด้าน Cyber Security ให้ทันสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของโลก

ETDA
สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า)

เวทีนี้จึงถือเป็นภารกิจสำคัญในการยับยั้งการหลอกลวงทางออนไลน์ต่าง ๆ (Stop Online Fraud) และยังเป็นเวทีที่จะช่วยเตรียมพร้อม ร่วมไปถึงส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ก้าวสู่สายอาชีพด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ยังมีอยู่จำกัด ไม่เพียงพอกับการเติบโตของธุรกิจ และตลาดแรงงานทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ  

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากให้ เอ็ดด้า เป็นเพียงหน่วยงานเดียวที่เดินหน้าผลักดันให้เกิดขึ้น ดังนั้น เอ็ดด้า จึงได้ร่วมกับพันธมิตรเอกชนชั้นนำของประเทศไทยในการส่งเสริมให้เกิดเวทีในการประชันความรู้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีผู้สนใจเข้าร่วมแข่งขันประชันองค์ความรู้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุก ๆ ปี

ซึ่งในการจัดแข่งขันปี 2562 นี้ ทาง สพธอ. ก็ยังคงได้รับการสนับสนุนจากพาร์ตเนอร์ไอทีชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น ACinfotec, RSA, G-Able และ Trend Micro เข้ามาเป็นผู้ร่วมสนับสนุน สำหรับการแข่งขัน CTF 2019 นี้ และได้มี นักเรียน นิสิต นักศึกษา และคนรุ่นใหม่สมัครแข่งขันมากถึง 99 ทีม (ทีมละ 4 คน)

ETDA
ผู้บริหาร สปอนเซอร์และทีม 555 + ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ

ซึ่งเพิ่มขึ้นจากในปีที่ผ่านมาถึง 20 ทีม และได้แข่งขันในรอบสุดท้ายจัดขึ้นเมื่อ 21-22 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ในการแก้โจทย์แบบคำถามคำตอบ (Jeopardy) ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาโจทย์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แบบรอบด้าน

ทั้งเชิงรุก และเชิงรับทางเทคนิคคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บคะแนนให้สำเร็จภายใน 24 ชั่วโมง และเรายินดีที่จะประกาศว่าเราได้ผู้ชนะการแข่งขัน CTF 019 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ ทีม 555+ โดยสามารถ วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาโจทย์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

ETDA
คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) มอบรางวัลทีม 555+ ชนะเลิศอันดับ 1

จนได้คะแนนสูงถึง 2,070 แต้ม ซึ่งจากจะได้รับประกาศนียบัตร โล่รางวัล เครื่องเล่นเกม Play Station 4 พร้อมเกม จำนวน 2 ชุดและเครื่องเล่นเกม Nintendo Switch พร้อมเกม จำนวน 2 ชุด ที่สนันสนุนโดย พาร์ตเนอร์ไอทีชั้นนำ แล้วยังจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยก้าวสู่เวทีการแข่งขัน “Cyber SEA Game” ในระดับอาเซียน

ซึ่งจะจัดระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ASEAN-Japan Cybersecurity Capacity Building Centre) หรือศูนย์ AJCCBC ซึ่งหากสามารถชนะผ่านการแข่งขันนี้ก็จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับโลกในงาน Security Contest 2019 หรือ SECCON 2019 ณ ประเทศญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม 2562 ต่อไป

ETDA

ขณะที่รองชนะเลิศอันดับ 1 คือ ทีม going_to_japan ได้คะแนนไป 1,980 แต้ม ได้รับประกาศนียบัตร โล่รางวัล เครื่องเล่นเกม Nintendo Switch จำนวน 4 ชุด และรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีม OxDD ได้คะแนนไป 1,750 แต้ม ได้รับประกาศนียบัตร โล่รางวัล และหูฟัง Bose Noise-Masking Sleepbuds จำนวน 4 ชุด

สร้างคนป้อนตลาด เพื่อสร้างความมั่นคงทางไซเบอร์ให้ประเทศ

ในส่วนภารกิจในส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ก้าวสู่สายอาชีพด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นั้น ต้องบอกว่ายังคงเป็นสิ่งที่ตลาดแรงงานด้านเทคโนโลยีทั่วโลกยังคงขาดเเคลนอย่างมาก ซึ่งร่วมไปถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน วันนี้ต้องยอมรับว่าเรื่องของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะเรื่องของ “ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้” ยังคงขาดแคลนอย่างมาก

บุคลากรที่มีทักษะในด้านนี้ยัเป็นที่ต้องการมากมากกว่า 1 หมื่นอัตราเป็นอย่างน้อย แต่ในปะเทศไทยบุคลากรที่มีทักษะในด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ มีอยู่เพียงหลัก100 อัตรา ขณะที่แนวโน้มความต้องการบุคลากรในด้านไซเบอร์จะยิ่งทวีความต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกอุตสาหกรรม ไม่เว้นแต่อุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง 

ทั้งในภาคเอกชน หรือภาครัฐ ต่างก็ต้องการบุคลากรในด้านไซเบอร์นี้ ดังงั้นการส่งเสริมให้เกิดบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีทักษะเรื่องของความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อป้อนสู่ตลาดจึงถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ แม้ว่าวันนี้ในหลายสถาบันการศึกษาต่างเริ่มเพิ่มหลักสูตร วิชาการ ด้านภัยคุกคามไว้ให้คนรุ่นใหม่ได้เลือกลงเรียน

ETDA

แต่ก็เป็นเพียงหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านทฤษฏี ที่ยังขาดการทดลองใช้ ทดลองปฏบัติจริง ทำให้ไม่สามารถสร้างบุคลากรที่มีทักษะด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ออกมาได้เท่าความต้องการของตลาด จากปัญหาดังกล่าว เอ็ดด้า จึงเตรียมที่สร้างศูนย์ที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียน และลงมือปฏิบัติจริง

ที่สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า ชั้นที่ 15 ของอาคารเดอะ ไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์ พระรามเก้า (อาคาร B) ขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คนที่สนใจเข้ามาสมัครเรียน และลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งเราไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นผู้ที่เรียนมาทางตรงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพราะเราเชื่อทักษะเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ ขอแค่มีความสนใจ

ซึ่งสาเหตุที่เราเชื่อว่าทักษะเหล่านี้สามารถพัฒนาได้แม้ไม่ได้เรียนมา เนื่องจากเราสังเกตได้ว่า ผู้ชียวชาญด้านซีเคียวริตี้ที่มีอยู่ในตลาดแรงงานปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นผู้ที่เรียนจบมาโดยตรง แต่เกิดจากความสนใจในการเรียนรู้ และศึกษาด้วยตนเอง และเมื่อมองในแง่ของรายได้ กลุ่มคนที่มีทักษะด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ จะเป็นกลุ่มคนที่จะได้งานสูง

ETDA

และยังจะได้รายได้ที่มากกว่าสายอาซีพที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ เพราะองค์กรทุกขนาด ต่างต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านนี้ เพราะโลกของเทคโนโลยีได้เชื่อมต่อเกือบแทบทุกส่วนแล้ว และเพื่อให้สามารถให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมั่นใจการยกระดับการรักษาความปลอดภัยจริงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการสร้างการเติบโต

“สำหรับThailand CTF Competition นับเป็นอีกกลยุทธ์ในการกระตุ้นอุตสาหกรรม ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ไทยให้ตื่นตัว ทั้งผู้ร่วมแข่งขัน หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป เป็นเวทีส่งเสริมและต่อยอดให้คนรุ่นใหม่เห็นถึงศักยภาพของตนเอง รวมทั้งเป็นแรงผลักดันสำคัญในการสร้างผลงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประเทศต่อไป” สุรางคณา กล่าว

*ผู้ที่สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวการแข่งขัน Cyber SEA Game และ Security Contest 2019 ได้ที่ https://www.thaicert.or.th/ และ https://www.etda.or.th

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก www.pexels.com, www.pixabay.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage