พรบ.ไซเบอร์??? หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมในอดีตประเทศไทยไม่มีกฏหมายในเรื่องของการปกป้องในด้าน โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือการนำเข้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตหรืออย่างไร คงต้องตอบว่าจะพูดว่าไม่มีก็ไม่ถูกต้องซะทีเดียว…

พรบ.

พรบ. คอม และบทลงโทษ ที่ควรรู้!!

เพราะในความเป็นจริงเรามีกฏหมายหลายๆฉบับที่มีบทลงโทษจากการ หลอกหลวง หรือฉ้อโกง อาทิ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เช่น มาตรา 8 ที่สรุปได้ว่าการกระทำไว้ว่าด้วยวิธีการใด ที่ทำการดัก หรือเก็บข้อมูลของผุ้อื่นในระหว่างดำเนินการส่งในระบบ โดยที่ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี

และปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือในมาตราที่ 9 ผุ้ใดทำลายข้อมูล แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่ม ไม่ว่าจะบางส่วน หรือทั้งหมด ในข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำและปรับ

หรือใน มาตรา 10 ที่ระบุว่าผู้ใดกระทำด้วยการใดโดยมิชอบ ซึ่งให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และในมาตรา 11 เองก็ระบุว่าผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว ที่เป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

หรือ มาตรา 12 ที่ระบุว่าผู้ใดถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 โดยก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน โดยไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง หรือพร้อมกัน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
หรือการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ

หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 -15ปี และปรับตั้งแต่ 6 หมื่น – 3 แสนบาท และถ้าการกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่10-20ปี เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลายบทลงโทษที่เริ่มมีมาตั้งแต่เราก้าวสู่ยุคอินเทอร์เน็ต

พรบ.

แล้วทำไมเราถึงต้องมี พรบ.ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ นั้นก็เพราะประเทศไทยเรามุ่งมั่นที่จะเดินหน้าสู่ยุคดิจิตอลด้วยการปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้โมเดล ‘Thailand 4.0’ นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบดิจิตอล เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต กำลังการผลิต และประสิทธิภาพการทำงาน

โดยมีเทคโนโลยี อย่างเช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ Internet of Things (IoT), คลาวด์ (Cloud), บิ๊กดาต้า (Big Data) และระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Analytics) เพื่อบ่มเพาะชุมชนให้ชาญฉลาด ปลอดภัย มีการเชื่อมต่อถึงกัน สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และเปี่ยมด้วยศักยภาพที่จะก้าวล้ำนำหน้าคู่แข่ง นั่นเอง

ซึ่งแน่นอนว่าการก้าวไปสู่ยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าย่อมเป็นโอกาสของธุรกิจ แต่ก็เป็นโอกาสของกลุ่มคนที่ไม่หวังดี้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นในปีที่แล้ว มีการเปิดเผยจาก บริษัท OVH ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโฮสติง ว่ามีการโจมตีจากแฮกเกอร์

โดยใช้ DDos แบบ Botnet โจมตีผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT จากกล้องวงจรปิด และเครื่องบันทึกวีดีโอ (DVR) และเนื่องจากการที่ตัวเครื่องนั้นสามารถส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 1-3 Mbps และด้วยจำนวนที่เชื่อมมากถึง 150,000 เครื่อง ทำให้แฮกเกอร์สามารถโจมตีได้มากถึง 1.1-1.5 Tbps เลยทีเดียว

นี่อาจเป็นตัวอย่างเดียวแต่หากลงอนึกภาพที่เมื่ออุปกรณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน อย่าง ตู้เย็น เคร่ื่องปรับอากาศ หรือแม้แต่หลอดไฟ ฯลฯ อีกมาก เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแล้ว แน่นอนว่านั่นหมายถึง ช่องทางที่แฮกเกอร์ จะใช้เจ้าโจมตีก็จะทวีเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลอย่างแน่นอน

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่