คอยน์ หรือบิทคอยน์ที่เรารู้จักการในนามสกุลเงินดิจิทัลกำลังเริ่มแพร่อิทธิพลมากขึ้น ร้านค้าบางแห่งยินดีรับการจ่ายด้วยเงินดิจิทัลมากขึ้น รวมทั้งมหาวิทยาลัยชื่อดังอย่าง Stanford ก็ได้เปิดคอร์สเกี่ยวกับ Blockchain ให้กับนักศึกษา

คอยน์

หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป ในไม่ช้าตลาดค้าขายเงินสกุลดิจิทัลจะก้าวข้ามตลาดหลักทรัพย์ในหลายประเทศ ด้วยความมหัศจรรย์ของคอยน์ (เงินสกุลดิจิทัล) ที่จะถูกออกแบบได้หลายหลายไร้ข้อจำกัด คอยน์บางอย่างอาจเป็นสกุลเงิน คอยน์บางอย่างอาจใช้แทนหุ้นในกิจการ คอยน์บางอย่างอาจใช้แทนสิทธิ์ในการใช้บริการ คอยน์บางอย่างอาจแทนไอเท็มของเกมดิจิทัล

ดังนั้น ในตลาดแลกเปลี่ยนคอยน์จะเป็นตลาดที่รวมความหลากหลายมิได้จำกัดอยู่เพียงตลาดทุน ตลาดเงิน เท่านั้น จึงไม่แปลกใจว่าวันนี้มีการตั้งตลาดแลกเปลี่ยนคอยน์มากกว่า 4,000 แห่ง โดยตลาดชั้นนำ ได้แก่ Poloniex, Bittrex แต่ที่น่าสนใจว่าหลายตลาดที่กำลังขึ้นมาโดดเด่นเป็นตลาดที่ผูกเงินคอยน์เหล่านี้กับเงินหยวนของจีน เช่น okcoin.cn, Huboi หรือเงินคอยน์กับเงินวอนของเกาหลี Bithumb, coinone หรือเงินรูเบิลของรัสเซีย xBTCe นอกเหนือจากเงินดอลลาร์สหรัฐหรือเงินยูโร

ประเทศไทยเราเองก็มีการซื้อขายคอยน์อยู่บ้างแล้วเหมือนกัน แต่การเติบโตยังอยู่ที่จะมีนโยบายผลักดันให้เติบโตขึ้นหรือไม่ ไม่แน่ว่าในอนาคตบริษัทสตาร์ทอัพดิจิทัลของคนรุ่นใหม่อาจใช้ตลาดเหล่านี้ในการสร้างและขยายกิจการได้ นอกเหนือจากตลาดทุนที่มีอยุ่ในปัจจุบันที่ไม่สามารถตอบโจทย์กับเหล่าสตาร์อัพเหล่านี้ได้

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือสัดส่วนตลาดเงินดิจิทัลกำลังจะเปลี่ยนแปลงนับแต่ต้นปี 2017 แต่เดิมที่บิทคอยน์ครอบครองอยู่ถึงเกือบ 90% และทำให้หลายคนเข้าใจว่าบิทคอยน์คือเงินดิจิทลทั้งหมด โดยความเป็นจริงบิทคอยน์ครองตลาดเหลือเพียง 40% โดยมีเงิน Ethereum เข้ามาแย่งสัดส่วนการตลาดได้ถึง 30% แ

ละ Ripple กำลังเข้ามาปันส่วนได้ถึง 10% ด้วย โดยเฉพาะ Ripple ที่ไม่สามารถเข้าไปทำ Mining ได้ถ้าไม่ใช่ธนาคารในเครือข่าย ดังนั้นวิธีการได้มาต้องไปประมูลตามกระดานซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัล

การแพร่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของกระแส Blockchain กระแสคอยน์ต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้รับความสนใจและยอมรับเป็นอย่างมาก เช่น เงินตราสกุลดิจิทัล Ethereum กำลังได้รับความสนใจจากทั้งจีนและเกาหลีใต้ที่พยายามแย่งเป็นศูนย์กลาง Ethereum ของโลก

โดยขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยปักกิ่งอันเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีนกำลังสร้าง Ethereum Lab เพื่อจะสร้างการพัฒนาโปรโตคอลรวมทั้งพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อใช้ในจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะนำมาใช้ในเรื่อง Supply Chain และตลาดพลังงาน รวมทั้งการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่นจีนที่ส่งเสริมให้มีการตั้ง Jiangsu Huaxin BIockchain Research Institute (JBI) เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อทำการศึกษาวิจัยในการนำเอา Ethereum Blockchain มาส่งเสริมให้เกิดการใช้ทั่วประเทศจีน                        

โดยขณะนี้ JBI ได้เริ่มดำเนินการแปลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Ethereum เป็นภาษาจีนแมนดารินแล้ว แม้จะตั้งมาได้ไม่ถึงครื่งปี JBI ขณะนี้มีผู้วิจัยและพัฒนามากกว่า 30 ราย เข้าร่วมการพัฒนา Ethereum แน่นอนรวมทั้้ง Alibaba โดยขณะนี้ Alipay ที่เป็น Fintech บริษัทลูกของ Alibaba ที่มีขนาดหกหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ มีแผนที่จะทำให้ Blockchain เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักสำหรับความยั่งยืนในอนาคต รวมทั้งมีข่าวลือว่ารัฐบาลจีนกำลังทดสอบระบบเงินตราสกุลดิจิทัลของจีนเอง

ในส่วนของการศึกษาหลายมหาวิทยาลัยชั้นนำได้เริ่มเปิดหลักสูตรวิศวกรรม Blockchain เพื่อรองรับความต้องการตลาดที่มีการกระเพื่อมตัวเป็นอย่างมาก โดยมีการคาดการณ์ว่าตำแหน่งวิศวกร Blockchain จะมีรายได้เงินเดือนมากกว่า 6-7แสนบาท การประชาสัมพันธ์หาบุคลากรร่วมงานผ่าน LinkedIn มากกว่า 1,000 ตำแหน่ง ต้องการบุคลากรด้าน Blockchain

การตอบสนองการตื่นตัวนี้ในหลายมหาวิทยาลัยได้มีการขยับตัวอย่างน่าสนใจเช่น มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้มีการรจัดตั้งองค์กรที่ดำเนินการโดยนักศึกษาภายใต้ชื่อ Blockchain@Berkeley (https://Blockchain.berkeley.edu/) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างชุมชน Blockchain ขึ้นในย่านแถบอ่าวซานฟรานซิสโก นักศึกษาที่เข้าร่วมไม่เพียงแต่ด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์เท่านั้น

แต่รวมไปถึงสาขาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ชุมชนศาสตร์ และอื่น ๆ อีกหลายสาขา นอกจากนี้การเข้าร่วมมิได้จำกัดเฉพาะนักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่าและประชาชนที่อยู่ในชุมชนก็สามารถเข้าร่วมได้ไม่มีข้อจำกัด มหาวิทยาลัย MIT, Stanford หรือ University of Edinburgh ต่างมีการเปิดคอร์สเรียนหลักสูตรหรือห้องแล็บที่มีความเกี่ยวข้องกับ Blockchain หรือมหาวิทยาลัยแห่งโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มีความริเริ่มที่จะผลักดันให้เป็นศูนย์ Blockchain แห่งยุโรป จะมีการเปิด Blockchain Summer School ในช่วงเดือนสิงหาคมปีนี้

นอกจากสถานศึกษาแล้วการยอมรับในเรื่องของ Blockchain และเงินตราสกุลดิจิทัลต่าง ๆ ที่แต่เดิมไม่มีรัฐบาลไหนยอมรับเงินตราสกุลดิจิทัลเลย แต่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมารัฐบาลออสเตรเลียประกาศให้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมนี้ เงินสกุลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้ง “บิทคอยน์ อยู่ในฐานะเงินสกุลหนึ่ง แถมยังช่วยแก้ปัญหาการคิดภาษีซ้ำซ้อนสำหรับประชาชนถ้าต้องการแลกเปลี่ยนซื้อชายเงินตราบิทคอยน์

นอกจากรัฐบาลออสเตรเลียแล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยอมรับและมีกฎหมายรองรับบิทคอยน์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ทำให้บิทคอยน์ที่ญี่ปุ่นมีมูลค่าสูงสุดที่หนึ่งบิทคอยน์อยู่ที่ 1,835 เหรียญ โดย Bic Camera ร้านค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ในญี่ปุ่นประกาศรับชำระเงินในสกุลบิทคอยน์ได้ รวมทั้งธนาคารต่าง ๆ จะเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนเงินจากเยนไปสู่บิทคอยน์ใน อนาคตอันใกล้นี้ด้วย

นอกจากนี้ญี่ปุ่นกำลังจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่โดยเปิดบัญชีรับฝากเงินในสกุลบิทคอยน์พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่ 1%-3% ต่อปีให้กับประชาชนทั่วไป ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าการฝากเงินในบัญชีธนาคารของญี่ปุ่นในบางครั้งนอกจากดอกเบี้ยจะต่ำมากแล้ว ในบางทีผู้ฝากอาจไม่ได้ดอกเบี้ยรวมทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับธนาคารอีกต่างหาก

ธนาคารชาติสิงคโปร์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ตื่นตัวในเรื่องคอยน์ โดยธนาคารชาติเปิดเผยรายงานการวิเคราะห์การสร้างเงินสกุลดิจิทัลของสิงคโปร์บน Private Ethereum Blockchain โดยเป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารชาติสิงคโปร์กับ Blockchain Consortium R3 โดยได้มีการเปิด R3 Asia Lab ที่สิงคโปร์เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

โดยหลังจากเปิดแล็บได้ไม่นานธนาคารชาติสิงคโปร์ประกาศโครงการพัฒนา Blockchain ของประเทศเพื่อใช้อำนวยความสะดวกการจ่ายเงินระหว่างธนาคารด้วยกัน โดยในระยะแรกให้ชื่อโครงการว่า Ubin นอกจากนี้ธนาคารชาติสิงคโปร์ได้มีการทดสอบร่วมกับ JP Morgan ภายใต้ระบบชื่อ Quorum โดยมีการสรุปว่าในการทดสอบในเฟสแรกนี้ประสบความสำเร็จ และจะได้พัฒนาไปสู่ระบบการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Securities Settlement) เพื่อใช้สำหรับตลาดทรัพย์ต่อไปในอนาคต

ดังนั้น การแพร่ขยายตัวของ Blockchain มีการเติบโตอย่างรวมเร็ว การสร้างการผสมผสานระหว่าง Blockchain กับเทคโนโลยีกับ IoT, AI และ 3D Printing จะได้รับความสนใจนักลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้านำมาใช้ในธุรกิจด้าน Law & Reputation Markets, Digital Assets, P2P Markets & Co-operatives และ Security & Supply-Chains

ดังเช่นปรากฏการณ์ของสตาร์ทอัพ IOTA ที่นำเอา IoT และ Blockchain มาผสมผสานกันและมีการสร้างคอยน์ของตัวเองขึ้น และเมื่อนำไปซื้อขายในตลาดคอยน์ภายในวันแรกสามารถสร้างสัดส่วนการตลาดได้มากกว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านเหรียญ

จะเห็นได้ว่า Blockchain ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีเด็กเล่น แต่สามารถเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจได้อย่างถอนรากถอนโคน Blockchain กำลังปฏิรูประบบเศรษฐกิจที่ผ่านคนกลางรวมศูนย์ Centralized Economy ไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบกระจายศูนย์ไร้คนกลาง Decentralized Economy ที่สร้างความมั่นใจ ความแน่นอน และโปร่งใสได้มากกว่าการสร้างเศรษฐกิจผ่านคนกลางแบบเดิม เช่น ธนาคาร รัฐบาล คอร์ปอเรชันขนาดใหญ่ ที่ประชาชนพลเมืองไม่สามารถที่จะเชื่อใจในคนกลางเหล่านี้ได้อีกต่อไป