Data Protection

วันนี้เรื่องของ “การปกป้องข้อมูล” (Data protection) นั้นถือเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ เพราะไม่ใช่เเค่เพียงเรื่องของการปกป้องจากภัยคุกคามไซเบอร์ แต่หมายถึงความน่าเชื่อถือของธุรกิจด้วย…

highlight

  • ผลสำรวจ Dell EMC Global Data Protection Index หรือ “GDPI” ชี้ว่าองค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น หรือ APJ กำลังเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการขาดประสิทธิภาพในการปกป้องข้อมูล เพราะมีเพียง 13% ขององค์กรเท่านั้น ที่พร้อมต่อการการเกิดดาวน์ไทม์ (downtime) ภายในระบบและสามารถกู้คืนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายถงการสูญเสียโอกาสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาด (time-to-market) โดยประมาณการแล้วหากสูญเสียข้อมูล 2.04 เทราไบต์ และไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้ อาจทำให้ธุรกิจเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจมีมูลค่าโดยรวมสูงถึง 29,894,547 ล้านบาท เลยทีเดียว
  • องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นมีการจัดการข้อมูล 8.13 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2561 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตอย่างมหาศาลที่ 384% เมื่อเทียบกับ 1.68 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2559
  • 90% ขององค์กรธุรกิจมองเห็นคุณค่าจากข้อมูล แต่มีเพียง 35% เท่านั้นที่สามารถสร้างรายได้จากข้อมูลได้แล้ว
  • 94% เผชิญหน้ากับความท้าทายในด้านการปกป้องข้อมูล และเป็นจำนวนถึง 43% ที่ประสบกับความท้าทายในการหาโซลูชันการปกป้องข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับเทคโนโลยีใหม่กว่า อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีน เลิร์นนิ่ง
  • การเติบโตที่รวดเร็วของข้อมูล, เทคโนโลยี และกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำลังจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จำเป็นต้องเร่งปรับตัว และเตรียมพร้อมรับมือ

ธุรกิจใน APJ ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมใน การปกป้องข้อมูล (Data protection)

ความสำคัญของ ข้อมูล (Data) ในปัจจุบันนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เปรียบเทียบได้กับ น้ำมันในสมัยก่อน ที่จะสร้างผลกระทบในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้า ด้วยสร้างสรรค์ บริการใหม่ ๆ ที่ตรงจุดความต้องการของผู้บริโภค

และเป็นเรื่องที่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ได้เริ่มให้ความสนใจมากขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของข้อมูล จำนวนมหาศาล บิ๊ก เดต้า (Big Data) ที่จะเกิดจาก ไอโอที (IoT) และ เอไอ (AI) แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น จากผลสำรวจ Dell EMC Global Data Protection Index หรือ “GDPI” ฉบับล่าสุด

กลับพบว่ามากกว่า 9 ใน 10 ขององค์กรในในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) และญี่ปุ่น (Japan) หรือ APJ กำลังเผชิญกับความลำบากใน การปกป้องข้อมูล อันมีผลสืบเนื่องมาจากการเติบโตของปริมาณ ข้อมูล ที่เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าของจำนวนข้อมูลที่เคยจัดการภายในปี 2559

Data Protection

โดยเป็นเพิ่มขึ้นของข้อมูลจำนวน 1.68 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2559 ไปเป็น 8.13 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2561 ที่ผ่านมา และการเพิ่มขึ้นที่สอดคล้องกันของการความสำคัญของข้อมูลในเชิงธุรกิจ เมื่อตรวจลงไปยรายละเอียดจะพบว่ามีเพียง 13% ของธุรกิจที่จัดอยู่ในกลุ่มผู้นำ (Leaders) ด้านการปกป้องข้อมูลเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มผู้นำ จะมีแนวโน้มในการให้ความสำคัญในเรื่องของ “การปกป้องข้อมูล” เพิ่ม 1% เป็น 13 % ขณะที่กลุ่มเริ่มนำมาใช้ (Adopters) ก็มีแนวโน้มที่ลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 8% ไปเป็น 53% ตั้งแต่ปี 2559 ที่ผ่านมา

เมื่อพิจารณาในเรื่องของประเด็นสำคัญในการปกป้องข้อมูล คือเรื่องของการ มูลค่าของข้อมูล กลับพบว่ามีเพียง 90% ที่มองเห็นถึงมูลค่าของข้อมูล และมีเพียง 35% เท่านั้นที่สามารถสร้างประโยชน์ หรือสร้างรายได้จากข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธฺิภาพ

Data Protection

ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ กำลังเผชิญความท้าทาย และเข้าใจถึงประโยชน์ของข้อมูล รวมไปถึงยังคงขาดมาตรการด้าน การปกป้องข้อมูล ที่เหมาะสมมกเพียงพอที่จะจัดการกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูล และการเพิ่มสูงขึ้นของการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ (Emerging Technologies) อย่างเหมาะสม

การปกป้องข้อมูลล้มเหลว!! ทำองค์กรสูญรายได้

Data Protection

ซาราวานัน คริชนัน ผู้จัดการทั่วไป ดาต้า โพรเทคชั่น และคลาวด์ สตอเรจ โซลูชั่น ภูมิภาคเอเชียใต้ บริษัท เดลล์ อีเอ็มซี เปิดเผยว่า ในส่วนขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) พบว่า 80% ของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กำลังเจอกับอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

และสูงว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ค่าเฉลี่ยที่ 76% และมีค่าเฉลี่ยของ การสูญหายของข้อมูล และมีองค์กรกว่า 32% ที่ไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้ โดยในช่วง 12 เดือน ที่ผ่านมา องค์กรที่ไม่สามารถปกป้องข้อมูลได้ โดยมีค่าเฉลี่ยการเกิดดาวน์ไทม์ (downtime) ประมาณ 20 ชั่วโมง

ซึ่งไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้การจะทำให้เสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจ ที่ประเมินแล้วมีมูลค่าโดยรวม 494,869 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 15,743,149 ล้านบาท) ในขณะที่บริษัทที่สูญเสียข้อมูลโดยเฉลี่ยที่ 2.04 เทราไบต์ จะเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจมีมูลค่าโดยรวมสูงถึง 939,703 ดอลลาร์ (29,894,547 ล้านบาท) เลยทีเดียว

Data Protection

ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาด (time-to-market) และการสูญเสียฐานลูกค้า ยิ่งกว่านั้น ความเป็นไปได้ของการหยุดชะงักของระบบจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเวลาผ่านไปเมื่อเทียบกับปี 2559 และปี 2561

Data Protection

ด้าน อโณทัย เวทยากร รองประธานบริหาร ตลาดเกิดใหม่ภูมิภาคเอเชีย และธุรกิจคอนซูเมอร์ ภูมิภาคเอเชียใต้ บริษัท เดลล์ อีเอ็มซี กล่าวว่า การเติบโตที่รวดเร็วของข้อมูล, เทคโนโลยี และกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำลังจะทำให้องค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จำเป็นต้องเร่งปรับตัว

ซึี่งมองในแง่ดีปัจจุบัน 9 ใน 10 ขององค์กรธุรกิจตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูล และ 88% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคระบุว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลอย่างจริงจังมากขึ้น (เฉพาะข้อมูลที่สร้างรายได้) แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้นสถานะของการปกป้องข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น

Data Protection

เนื่องจากธุรกิจ 64% ยังไม่ได้สร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่เป็นข้อมูล และองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคส่วนใหญ่ยังคงถูกจัดอยู่ในกลุ่มล้าหลัง (Laggards) ประมาณ 3%, กลุ่มที่กำลังพิจารณา (Evaluators) ประมาณ 31%, กลุ่มที่เริ่มนำมาใช้ (Adopters) ประมาณ 53%

เมื่อรวมแล้วเกินกว่า 80% แสดงให้เห็นว่ายังไม่มีความพร้อม (maturity) ในด้านการปกป้องข้อมูล ซึ่งตรงกันข้ามกับการเป็นผู้นำ (Leaders) ที่มีความพร้อมในการปกป้องข้อมูลที่ 13% 

การเติบโตของข้อมูล กฏหมาย และเทคโนโลยี = ความท้าทาย

94% ขององค์รในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกำลังพบกับอุปสรรคอย่างน้อย 1 อย่าง ที่เกี่ยวเนื่องกับการปกป้องข้อมูล โดยความท้าทายใน 3 อันดับแรก ได้แก่

  • 46% การปกป้องข้อมูลจากการพัฒนาระบบ DevOps และการพัฒนาระบบคลาวด์ ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • 45.6% ความซับซ้อนของการกำหนดค่า และฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ปฏิบัติการด้านการปกป้องข้อมูล
  • 43.4% การขาดโซลูชั่นการปกป้องข้อมูลสำหรับเทคโนโลยีเกิดใหม่

นอกจากนี้ 54% ระบุว่าไม่สามารถหาโซลูชันการปกป้องข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีน
เลิร์นนิ่ง ดาต้าได้ ตามด้วยแอพพลิเคชั่นสำหรับคลาวด์ (49%) และ IoT (40%) ขณะที่มีเพียง 18% เท่านั้นที่เชื่อว่าโซลูชั่นการป้องกันข้อมูลในปัจจุบันจะสามารถตอบสนองความท้าทายทางธุรกิจในอนาคตได้ทั้งหมด

เราได้เห็นแล้ว่าการเกิดขึ้นข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดรูปแบบการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud) โดยองค์กรหวังที่จะใช้คลาวด์เทคโนโลยีในการช่วยปกป้องข้อมูล โดยเราพบว่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค มีการใช้งานพับลิค คลาวด์ เพิ่มขึ้นจาก 27% ในปี 2559 ขึ้นมาเป็น 41% ในปี 2561

โดยองค์กรกว่า 99% ที่ใช้ พับลิค คลาวด์ ต่างเพิ่มขีดความสามารถของคลาวด์ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการป้องกันข้อมูล รวมไปถึงการบริการสำรองข้อมูล และการทำสแน็ปช็อตเพื่อปกป้องเวิร์คโหลด และซอฟต์แวร์ป้องกันข้อมูลที่เปิดใช้งานบนคลาวด์อีกด้วย

ซึ่งการปกป้องปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นในระบบคลาวด์ คือสิ่งผู้นำทางธุรกิจให้ความสำคัญ โดย 6 ใน 10 มองหาโซลูชั่นการปกป้องข้อมูลที่สามารถปรับขยายขนาดได้ เพื่อรองรับปริมาณการใช้งานคลาวด์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และแม้ว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ

อาทิ GDPR จะไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคในปัจจุบัน แต่ทัศนคติดังกล่าวกำลังเปลี่ยนแปลง เพราะมีองค์กรเพียงประมาณ 34% เท่านั้น ที่มั่นใจว่ากระบวนการ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการปกป้องข้อมูลในปัจจุบันขององค์กรสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับของภูมิภาคมากขึ้นในอนาคต

ซึ่งในอนาคตไม่นานเรื่องการปกป้องข้อมูล จะไม่ได้เป็นแค่เพียงการป้องกันการโจมตีแต่หมายถึงโอกาสที่จะสูญเสีย ไปในการทำธุรกิจที่องค์กรต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจ และเร่งเตรียมความพร้อมให้แก่องค์กรของตนเองก่นที่จะทุกอย่างจะสายเกินไป

*งานวิจัยซึ่งสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวนทั้งหมด 2,200 คน จากทั้งภาครัฐ และเอกชนที่มีพนักงานมากกว่า 250 คนใน 18 ประเทศ ใน 11 อุตสาหกรรม 

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่