เอไอ

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) กำลังกลายเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคมโลก แต่เรื่องดังกล่าวยังนับเป็นเรื่องใหม่ของหลักสูตรการศึกษาของไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่ยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดนำเข้ามาดำเนินการสอนในระบบอย่างจริงจัง…

highlight

  • กว่าครึ่งหนึ่งของอาชีพทั้งหมดอาจจะได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยี เอไอ แต่เป็นเพียงงานบางส่วนซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบถึงขั้นล้มหายตายจากไป ก็จะมีงานด้านอื่นๆ งอกขึ้นมาทดแทน โดยมีการคาดการณ์ว่าเทคโนโยลีเหล่านี้จะทำให้เกิดงานใหม่ ๆ กว่า 2.5 ล้านตำแหน่งเลยทีเดียว แต่ต้องทำควบคู่ไปพร้อมการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือภาคเอกชน เพื่อพัฒนาทักษะ ให้แก่เยาวชนไทย อย่างเช่นโครง Creative AI Camp by CP All เป็นต้น

เปิดบทเรียน เอไอ จากโครงการ Creative AI Camp by CP All

จากที่ทาง E-LEADER ได้นำเสนอ บทความเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาอย่างต่อเนื่อง สิ่งหนึ่งที่มักจะเป็นคำถามว่า เอไอ จะเข้ามาแทนที่มนุษย์หรือไม่นั้น ก็คงต้องขอตอบว่า “ไม่อย่างแน่นอน” อย่างน้อย ๆ ก็ไม่ใช่ในช่วงในเร็ววันนี้ หากถามอีกว่าแล้ว เอไอ จะเข้าไปอยู่ส่วนไหนของระบบงานของมนุษย์ 

ก็ต้องขอตอบว่า เอไอ นั้นจะเข้าไปอยู่ในระบบงานที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ หรือความคิดสร้างสรรค์ เพราะการพัฒนาให้เอไอคิดได้อย่างมนุษย์นั้นยังต้องใช้เวลาอีกยาวนาน อีกทั้งยังต้องใช้เวลาในการเชื่อมโยงข้อมูลอีกนับไม่ถ้วน

แต่จะเป็นเช่นนั้น ก็คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “มีความกังวล” เกิดขึ้นมากมาย ทั้งคนวัยเรียน และวัยทำงานต่างก็เป็นกังวลกันถ้วนหน้า ว่าโลกการทำงานของตนเองจะเปลี่ยนไปเช่นไร ผู้เขียนยังต้องขอยืนยันว่า ไม่ต้องรีบกังวลไปครับ เรายังคงสามารถมีงานทำได้อยู่

เพียงแต่จะต้องปรับตัว และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ เพื่อตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเท่านั้น โดยจากการศึกษาของ Royal Bank of Canada ภายใต้โครงการ Humans Wanted ระบุว่าแม้ว่ากว่าครึ่งหนึ่งของอาชีพทั้งหมดอาจจะได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยี

แต่เป็นเพียงงานบางส่วนซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบถึงขั้นล้มหายตายจากไป ก็จะมีงานด้านอื่นๆ งอกขึ้นมาทดแทน โดยมีการคาดการณ์ว่าเทคโนโยลีเหล่านี้จะทำให้เกิดงานใหม่ ๆ กว่า 2.5 ล้านตำแหน่งเลยทีเดียว

ซึ่งขณะที่ในประเทศไทยเองก็มีแนวโ้นมที่จะสร้างบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน เอไอ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลายสถาบันการศึกษาที่เริ่มมีหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ เพื่อยกระดับขัดความสามารถ และทักษะให้แก่เยาวชนไทยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอาจจะไม่สามารถให้ “พร้อม” ได้ จำเป็นต้องมีหน่วยงาน 

ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือภาคเอกชน เข้ามาช่วยสนับสนุน อีกทางด้วย ซึ่งนับว่ามีข่าวดีอยู่บ้าง เพราะล่าสุดทาง บมจ.ซีพี ออลล์ และ พันธมิตร ได้โดดเข้าร่วมสนับสนุนการพัฒนาทักษะ ให้แก่เยาวชนไทย โดยได้จัดค่าย Creative AI Camp for Incoming Society ขึ้น 

เอไอ

โดยพาเยาวชนพร้อมด้วยคณะครูเหินฟ้าไปเรียนรู้เรื่อง AI: Artificial Intelligence ที่ Advanced Robotics Center  มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) และสำนักงาน IBM ประเทศสิงคโปร์ ผู้ผลิตและให้บริการด้านคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศรายใหญ่ของโลก

ทำให้เยาวชน ในการได้ศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ จากสถาบันและองค์กรชั้นนำที่เชี่ยวชาญระดับโลก และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ผลงาน AI มาช่วยเหลือ และพัฒนาสังคมต่อไป 

เอไอ

น.ส.ปิยาภรณ์ พิกุล นักเรียนชั้น ม.โรงเรียนชานุมานวิทยาคม .อำนาจเจริญ เล่าว่าก่อนเธอมาร่วมค่ายนี้ เธอแทบไม่มีความรู้เรื่อง AI หรือแม้กระทั่งการเขียน Coding เลย แต่การมาร่วมกิจกรรมในค่าย และได้พบกับเพื่อนเยาวชนที่พร้อมแลกเปลี่ยน ช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้เธอไม่ปิดกั้นตัวเอง ได้เห็นว่าสิ่งที่เคยเรียนมา

เช่น วิชาคณิตศาสตร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะเรื่อง AI นั้นทุกอย่างเป็นตัวเลข ทำให้รู้สึกว่าการเรียนหลายเรื่องสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้จริง

ตอนอยู่โรงเรียน เป็นคนที่ชอบคิด ชอบจินตนาการไปเรื่อย คิดอะไรที่เกินจริงมากๆ แต่การมาค่าย Creative AI Camp ที่สิงคโปร์ครั้งนี้ ทำให้รู้สึกว่า จริงๆ แล้วทุกอย่างที่เราเคยคิดนั้นเป็นไปได้ จึงอยากจะฝึกฝน และทำให้เกิดขึ้นจริง

เอไอ

เช่นเดียวกับ น.ส.พีรดา ธนะขว้าง นักเรียนชั้น ม.โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม .น่าน ในเครือข่ายโรงเรียนประชารัฐของซีพี ออลล์  ที่บอกว่าจากที่ไม่เคยเรียนเรื่อง AI มาก่อน จึงรู้สึกกดดัน แต่พอได้มาเข้าค่ายจริง ๆ ทุกคนเป็นกันเอง

ทำให้ผลักดันตัวเองมากขึ้น และได้รับความรู้ใหม่ๆ เช่นการเขียน AI ให้ฉลาด เพื่อไปพัฒนา Machine Learning ทั้งในรูปแบบที่มนุษย์เป็นผู้ป้อนข้อมูลให้เรียน และแบบที่ให้ AI เรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง

เราอาจคิดว่า AI จะมาแทนคน แต่จริงๆ แล้ว AI มาเพื่ออำนวยความสะดวก ช่วยให้เราใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น เมื่อได้เห็นและเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ ก็ทำให้อยากพยายามฝึกฝน และพัฒนาตัวเองให้มากขึ้น

ในการเข้าร่วมกิจกรรมที่สิงคโปร์ เยาวชนทั้ง 4 ทีม 19 ชีวิต จะต้องนำองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากในค่ายทั้งที่ไทยและสิงคโปร์ มาต่อยอดให้เกิดเป็นไอเดียสร้างสรรค์ผลงานจริงเพื่อช่วยเหลือสังคม หลายผลงานได้รับการตอบรับที่ดีจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและสิงคโปร์

เช่นผลงานแก้ปัญหา Zero Hunger ของกลุ่ม Hextreme และผลงานด้าน Community Relationship ของกลุ่ม Sigma X equal MA

เอไอ

ขณะที่ น.ส.กณิกนันต์ ทองเพ็ง นักเรียนระดับ ปวช.วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) หนึ่งในสมาชิกทีม Hextreme เล่าว่าจากโจทย์เรื่อง Zero Hunger ที่มีจุดมุ่งหมายให้ลดปัญหาขาดแคลนอาหาร ทีมของเธอเล็งเห็นปัญหาอาหารที่ไม่สามารถขายได้ทันวันหมดอายุในร้านเซเว่นฯ ในประเทศไทย

ทีมของเธอจึงเลือกแก้ปัญหาด้วยการพัฒนา AI ขึ้นมา สำหรับการพยากรณ์สต๊อกสินค้าอาหารในร้านเซเว่นฯ โดยคำนวณจากชุดข้อมูลต่างๆ เช่นสถิติยอดขาย พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อให้สามารถ ช่วยบริหารสินค้ากลุ่มอาหารภายในแนวคิด Food Waste Reduction  เพื่อให้อาหารไม่ต้องถูกทิ้งไปอย่างสูญเปล่า

เรื่อง AI ไม่ใช่แค่คนที่ต้องเรียนวิทยาศาสตร์ถึงจะมาเรียนได้ ทุกสายอาชีพสามารถนำเรื่อง AI ปใช้ประโยชน์สร้างสรรค์สังคมได้ แค่เราต้องหมั่นฝึกฝนและมีวินัยที่อยากจะทำให้เกิดขึ้นได้จริ

เอไอ

ด้าน อติชาต อุปการสังข์ นักเรียนชั้นม.โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช หนึ่งในสมาชิกกลุ่ Sigma X equal MA กล่าวว่าทีมได้พยายามพัฒนาไอเดียแอปพลิเคชัน “KAIKONG” (ขายของ) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนกับสินค้า และบริการร้านค้าปลีกทั้งเล็ก และใหญ่ของชุมชนไว้ในแอป

โดยจะมี AI Chatbot เข้ามาช่วยตอบคำถามว่า สินค้าที่เรากำลังตามหา มีขายที่ไหนบ้าง ราคาเท่าไหร่ ร้านห่างจากเราแค่ไหน และมีระบบการจดจำภาพ (Image Recognition) เข้ามาช่วยตรวจสอบว่าร้านค้าไหนมีสินค้าที่ผู้ใช้กำลังตามหาบ้าง

 จุดมุ่งหมายของทีมคือ อยากให้ร้านค้าปลีกทุกขนาดยังคงสามารถเติบโตไปด้วยกันได้ โดย แอปของเราจะส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่น เช่น มีการรวบรวมข้อมูลสินค้า OTOP ไว้ในแอปด้วย

เอไอ

ขณะที่ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ระธานกรรมการบริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย อธิบายเสริมว่า องค์กรต้องไม่ล้าสมัย แต่ไม่ล้ำสมัย ต้องผสมผสานเทคโนโลยีอย่างพอดี หากจะให้ AI เป็น AI ที่ดี

แต่ต้องปลูกฝังให้คนทำ AI เป็นคนที่ดี จึงใช้การเรียนรู้แบบสหวิทยาการ มีกระบวนการเรียนรู้ AI ที่ผสมผสานหมากล้อม ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์, ศิลปศาสตร์, คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี  โดยในงานครั้งนี้ยังถือเป็นร่วมมือกับพันธมิตรจัดค่าย Creative AI Camp” 

เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนมีคุณธรรมควบคู่กับมีความรู้ในการสร้างสรรค์ AI นอกจากการพาเยาวชนมาร่วมเวิร์คช็อปแล้ว ครั้งนี้เรายังพาคุณครูของเหล่าเยาวชนจาก 4 ภาคมาร่วมเวิร์คช็อปด้วย  

เพื่อให้ครู และนักเรียนสามารถสื่อสารและถ่ายทอดเรื่อง AI  ได้อย่างเข้าใจ และเริ่มสร้างครูAI ต้นแบบ ที่จะสามารถพัฒนาและนำหลักสูตร AI ไปต่อยอดในโรงเรียน สร้างเยาวชนของชาติที่จะขับเคลื่อนอนาคตต่อไป

โดย Creative AI Camp ถือเป็นอีกหนึ่งความมุ่งหวังตามปณิธานองค์กรของ ซีพี ออลล์ ในการ “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน” โดยเหล่าเยาวชนที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาเรียนรู้กลุ่มนี้

กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาผลงาน มาต่อยอดให้เกิดเป็นผลงานที่จะไปสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชนผ่านบริบทของร้านเซเว่น อีเลฟเว่น มิติต่างๆ ในอนาคตโดยสามารถติดตาม และส่งต่อโอกาสจากโครงการนี้ ได้ที่ https://www.facebook.com/caicamp

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่