AI

คันไซ อิเลกทริค เพาเวอร์ จำกัด (The Kansai Electric Power Co., Inc. หรือ KEPCO) ผู้ผลิตมิเตอร์ไฟฟ้าญี่ปุ่น ล้ำ!! ใช้ AI วิเคราะห์รูปแบบการใช้ชีวิตผู้พักอาศัยแต่ละราย…

ปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่น ได้มีการเปิดเสรีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับปริมาณความต้องการของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเปิดเสรีในการแข่งขัน ทำให้ปัจจุบันมีการแข่งขันระหว่างบริษัทไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยมีโจทย์คือการเป็น ผู้ให้บริการที่ลูกค้าเลือก”

หรือเรียกง่ายๆว่า ต้องเป็นผู้ให้บริการที่สามารถสร้างบริการที่เพิ่มคุณค่า และตรงกับความต้องการด้านพลังงานไฟฟ้า ได้อย่างแท้จริง โดยต้องสามารถคิดค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม เป็นรายครอบครัว หรือบุคคล ซึ่งจากความต้องการดังกล่าวล่าสุด

ทำให้ บริษัท คันไซ อิเลกทริค เพาเวอร์ จำกัด (The Kansai Electric Power Co., Inc. หรือ KEPCO) ได้เดินหน้ายกระดับการให้บริการด้วยการได้ทำการทดสอบภาคสนามร่วมกับฟูจิตสึ (Fujitsu) ในการพัฒนามิเตอร์อัจฉริยะที่สามารถใช้ข้อมูลที่จัดเก็บมาวิเคราะห์รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้พักอาศัยแต่ละราย

และได้สร้างบริการแจ้งเตือนรูปแบบการใช้ชีวิต” (Lifestyle Rhythm Notification Service) ที่รวมเอาเทคโนโลยีที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ เข้าไปด้วย โดยเมื่อผู้พักอาศัยมีการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างจากพฤติกรรมปกติก็จะมีข้อความส่งไปแจ้งยังครอบครัวของผู้พักอาศัยคนนั้นซึ่งอาจจะอยู่ที่อื่น

AI

ใช้เทคโนโลยีสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้า

Mr.Reijiro Matsui ผู้จัดการ Living Sales Planning Group สำนักงานใหญ่ด้านลูกค้า บริษัท คันไซ อิเลกทริค เพาเวอร์ (The Kansai Electric Power Co., Inc.) กล่าวว่า เมื่อมีการใช้ เอไอ และเทคโนโลยีขั้นสูงอื่นๆ เป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่จะต้องร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างใกล้ชิด

เราหวังที่จะให้บริการที่เพิ่มคุณค่ามากขึ้น โดยใช้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัทที่อยู่ในภาคส่วนที่มีการให้บริการลูกค้าครัวเรือนแบบเผชิญหน้า เช่น บริการขนส่งสินค้าตามบ้าน และบริการพยาบาลดูแลที่แวะไปเยี่ยมตามบ้าน

เราสังเกตว่าฟูจิตสึมีนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญระดับสูง และเราก็มั่นใจในการพัฒนาอัลกอริทึม AI เพื่อการวิเคราะห์รูปแบบเฉพาะในแต่ละครัวเรือนของฟูจิตสึอย่างมาก

รักษาตำแหน่ง “ผู้ให้บริการที่ลูกค้าเลือก” ท่ามกลางการเปิดเสรีของตลาด

การเปิดเสรีของตลาดไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2016 และทำให้ครัวเรือนตลอดจนร้านค้าและผู้บริโภคทั่วไปสามารถเลือกผู้ให้บริการไฟฟ้า บริการ และโครงสร้างค่าบริการได้ตามใจชอบก่อนหน้าที่จะมีการปล่อยเสรีตลาดไฟฟ้านั้น 

เราได้มีการรณรงค์ให้มีการเปลี่ยนแปลงจากมิเตอร์ไฟฟ้าแบบอะนาล็อกเป็นมิเตอร์อัจฉริยะซึ่งมาพร้อมกับฟังก์ชันข้อมูลและการสื่อสารที่รวบรวมข้อมูลสถานะการใช้ไฟฟ้าทุกๆ 30 นาที มิเตอร์อัจฉริยะเปิดทางให้ผู้ให้บริการบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าผ่านระบบเครือข่ายแบบเรียลไทม์

ทำให้การต้องออกไปอ่านมิเตอร์ทุกเดือนแบบแต่ก่อนเป็นเรื่องล้าสมัย ซึ่งสร้างประโยชน์อย่างมหาศาล เราได้มีการผลักดันให้มีการจัดรูปแบบการแสดงข้อมูลโดยใช้มิเตอร์อัจฉริยะมาสักระยะหนึ่งแล้ว และได้พัฒนาบริการขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกัน

ซึ่งรวมถึง “Hapi e-Miruden” บริการเว็บแบบสมัครสมาชิกที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ตรวจสอบความถูกต้องของการใช้งานไฟฟ้าและค่าไฟรอบปัจจุบันของตนเอง

AI

ด้าน Kazutaka Yamamoto Living Sales Planning Group สำนักงานใหญ่ด้านลูกค้าของ KEPCO กล่าวว่า เราคิดถึงความเป็นไปได้ที่จะให้บริการที่ใกล้เคียงกับรูปแบบการใช้ชีวิตลูกค้าของเรามากกว่าเดิมผ่านการใช้คุณสมบัติของมิเตอร์อัจฉริยะ ซึ่งสามารถรวบรวมข้อมูลการใช้งานไฟฟ้าของแต่ละบ้านได้ทุกๆ 30 นาที

สิ่งนี้เองที่ทำให้เราเปิดตัวคอนเซ็ปต์ “บริการแจ้งเตือนรูปแบบการใช้ชีวิต” (Lifestyle Rhythm Notification Service) ในปี 2016 บริการนี้ช่วยให้เราติดตามสถานะการใช้งานไฟฟ้าของผู้สูงวัยหรือผู้ที่อาศัยในบ้านคนเดียว และแจ้งครอบครัวที่อยู่ที่อื่นของผู้อาศัยเหล่านั้นเมื่อมีการใช้งานที่แตกต่างจากพฤติกรรมปกติ

การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหาที่ต้องใช้ตรรกะในการตัดสินใจ ซึ่งมีการสร้างรูปแบบได้ยากการเปลี่ยนแปลงในการใช้ไฟฟ้าตามลำดับเวลาเป็นการสะท้อนรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบ้านอย่างใกล้ชิด ดังนั้นการระบุรูปแบบการใช้งานของแต่ละครัวเรือนควรเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการบันทึกการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการใช้ชีวิตด้วยความแม่นยำสูง

การดูกราฟยอดการใช้งานจริงได้เผยให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงหลากหลายรูปแบบในแต่ละครอบครัว แม้แต่ในบ้านเดียวกัน เรายังเห็นถึงความแตกต่างประการใหญ่ๆ ขึ้นอยู่กับวันในแต่ละสัปดาห์และแต่ละฤดูและเราได้เลือกฟูจิตสึเป็นพันธมิตรของเรา

เพื่อช่วยให้เราได้รวมเอาตรรกะวิเคราะห์ที่มีความแม่นยำสูงโดยไม่เบี่ยงเบนจากสถานการณ์ในชีวิตจริงการที่เราเลือกฟูจิตสึนั้นมาจากเหตุผลหลักๆ 2 ประการด้วยกันประการแรกเลยคือ ฟูจิตสึมีประวัติด้านการวิเคราะห์ของบริการคัดสรรข้อมูล (Data Curation Service) ที่เยี่ยมยอดมาก

นอกจากนี้ เรา และ ฟูจิตสึ ยังได้ทำการวิจัยร่วมกันในเรื่องการใช้มิเตอร์อัจฉริยะนับตั้งแต่ และได้เปิดตัวบริการ “Hapi e-Miruden” แบบสมัครสมาชิก

เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ตรวจสอบความถูกต้องในการใช้ไฟฟ้าของตนเองแบบเรียลไทม์เหตุผลอีกประการคือ “Marketing AI Container” (ชื่อชั่วคราว) ของฟูจิตสึซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้คิดตรรกะการวิเคราะห์แม่นยำสูง ซึ่งบริการแจ้งเตือนรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle Rhythm Notification Service) ของเรา

มีไว้ให้สำหรับทุกบ้านทีใช้มิเตอร์อัจฉริยะ ด้วยความทีว่าเราเราสามารถเข้าถึงระบบคลาวดท์ วางใจได้สูงของฟูจิตสึ ซึ่งช่วยให้มีการปรับขนาดข้อมูลได้อย่างยืดหยุ่นเมื่อข้อมูลจากการรวบรวมจากมิเตอร์อัจฉริยะที่มีการกระจายตัวไปทั่วมีปริมาณมากขึ้น เป็นจุดขายใหญ่ในครั้งนี้ 

AI

ก้าวต่อไปคือ “แม่นยำ คาดการณ์ และหลากหลาย”

จากการเริ่มทดสอบ “บริการแจ้งเตือนรูปแบบการใช้ชีวิต” ในภาคสนามจริง เราตระหนักว่าสถานะการใช้งานไฟฟ้าของแต่ละครัวเรือนมีความซับซ้อนกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในการแก้ปัญหานี้ เราได้ใช้บริการคัดสรรข้อมูล (Data Curation Service) ของฟูจิตสึ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งได้เผยให้เห็นรูปแบบหลากหลาย เช่น

  • ค่าไฟฟ้าที่ต่ำมาก
  • แนวโน้มการใช้งานบางแบบที่เห็นได้ชัด
  • ความแตกต่างอย่างมากในการใช้งานของผู้ใช้แต่ละราย
  • การใช้ไฟฟ้าในช่วงเช้าตรู่และช่วงกลางวัน 
  • การใช้ไฟฟ้าอย่างหนักในเวลากลางคืน

เราใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์แม่นยำสูงที่อ้างอิงแมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้อย่างต่อเนื่อง และมีการประมวลผลในช่วงหนึ่งปี ซึ่งช่วยให้เราปรับ อัลกอริทึม ของ เอไอ ที่มีความแม่นยำสูงที่จะนำไปใช้กับรูปแบบจำนวนมหาศาล และเพื่อปรับปรุงความแม่นยำในการคาดการณ์ได้

ซึี่งในระหว่างที่มีการทดสอบภาคสนาม เรามีการทำแบบสอบถามและการสำรวจทางโทรศัพท์กับผู้อาศัย และครอบครัวของผู้อาศัยอยู่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ผลที่ได้คือเรามีความสามารถที่จะแจ้งเตือนโดยใช้ เอไอ ได้ทันเวลาเพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นสถานการณ์การใช้งานจริ

ผู้อาศัยหลายคนแสดงทัศนะว่าตนเองสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่รู้สึกว่ากำลังโดนจ้องมองอยู่ และครอบครัวของผู้อาศัยเหล่านั้นก็บอกว่า ตนเองรู้สึกอุ่นใจที่รู้ว่าคนที่ตนรักอยู่ปกติสุขดี ไม่ใช่แต่จะรับรู้แค่เฉพาะช่วงเวลาที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นเท่านั้น “บริการแจ้งเตือนรูปแบบการใช้ชีวิต” เปิดตัวในเดือนกรกฎาคม 2017 

สำหรับทุกบ้านที่มีการติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะ สิ่งที่คุณต้องมีคือมิเตอร์อัจฉริยะเท่านั้น แค่นี้คุณก็สามารถเข้าถึงบริการได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเสียค่าติดตั้งอย่างอื่นเพิ่มเติม

AI

เทียบกับบริการติดตามการใช้งานรูปแบบปกติ และการใช้ตรรกะการตัดสินใจที่อิงจาก เอไอ ที่เพิ่มขึ้นนี้ นำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและปรับให้เหมาะกับแต่ละครอบครัว ซึ่งเป็นข้อดีอีกหนึ่งข้อใหญ่ และเมื่อมีการใช้ เอไอ และเทคโนโลยีขั้นสูงอื่นๆ

เป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่จะต้องร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างใกล้ชิด เราหวังที่จะให้บริการที่เพิ่มคุณค่ามากขึ้น โดยใช้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัทที่อยู่ในภาคส่วนที่มีการให้บริการลูกค้าครัวเรือนแต่ละรายโดยตรง เช่น ปัญหาสังคมอย่างบริการขนส่งสินค้าตามบ้าน และบริการพยาบาลดูแลที่แวะไปเยี่ยมตามบ้าน

และนอกจากการทำนายรูปแบบการใช้ชีวิตแล้ว ข้อมูลที่มาจากมิเตอร์อัจฉริยะสามารถนำมาใช้ในทางอื่นๆ ได้อีก เช่น การจัดการสถานที่อาศัยที่ไม่มีผู้อาศัยอยู่การโต้ตอบกับผู้คนพร้อมกับรักษาความปลอดภัยในชุมชนท้องถิ่น และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมผู้สูงอายุ และสังคมเมืองของประเทศญี่ปุ่นได้อีกด้วย

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก : www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่