Suwit Pruckwattananon 02

อาจกล่าวได้ว่ารอบตัวตอนนี้จะต้องมีสักหนึ่งคนที่สวมใส่มันอยู่ ผมไม่ได้พูดถึงหมวกหรือรองเท้า แต่หมายถึงเจ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถพกพาหรือสวมใส่ได้ หรือที่เรียกกันว่า “แวร์เอเบิล (Wearable)” นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น สายรัดข้อมือฟิตเนส นาฬิกาอัจฉริยะ แว่นตาอัจฉริยะ หรือแม้กระทั่งเสื้อผ้าอัจฉริยะที่สามารถเชื่อมต่อได้ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตลาดแวร์เอเบิล ดีไวซ์มีอนาคตที่สดใส โดยบริษัทวิจัย IHS กล่าวว่า ภายในปี 2561 ยอดการจำหน่ายแวร์เอเบิล ดีไวซ์ทั่วโลกจะเพิ่มสูงถึง 200 ล้านเครื่อง สำหรับตลาดในเอเชียนั้น บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน กล่าวว่าตลาดอุปกรณ์แวร์เอเบิลในเอเชียมีมูลค่า 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดการณ์ว่าการเติบโตจะเพิ่มขึ้นเป็น 37 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใน 5 ปีข้างหน้า โดยมีอัตราโตเฉลี่ยต่อปีประมาณ 34%

สุวิทย์ พฤกษ์วัฒนานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจประจำประเทศไทย บริษัท ควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรทเต็ด เปิดเผยว่า เมื่อพูดถึงการเติบโตของตลาดแวร์เอเบิลนั้น เราไม่ได้ตีกรอบแค่เรื่อง “เงื่อนไข” หากแต่เราต้องก้าวข้ามและมองไป ในอนาคต เจ้าอุปกรณ์แวร์เอเบิลต่างๆ จะสามารถติดต่อเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเราได้อย่างไร และจะเป็นจริงได้เร็วแค่ไหน

ถึงแม้ว่าอุปกรณ์เวร์เอเบิลจะเริ่มต้นจากการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกาย แต่ในปัจจุบันได้ขยายไปสู่การใช้งานวัตถุประสงค์อื่นๆ อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกาอัจฉริยะ ระบบติดตามตัวเด็กและผู้สูงอายุ รวมไปถึงแว่นตาอัจฉริยะ อุปกรณ์เหล่านี้มีทั้งที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน และที่มีระบบเชื่อมต่อ 4G/LTE ติดตั้งมาในตัวแล้ว ก่อให้เกิดประสบการณ์การเชื่อมต่อส่วนบุคคลรูปแบบใหม่ นับจากนี้ การรับ-ส่งข้อความ การรับสาย การทำสตรีมมิ่งเพลง การตรวจสอบพยากรณ์อากาศข่าว และหุ้น การชำระเงินค่าสินค้า การค้นหาและบอกทางไปยังสถานที่ต่างๆ สามารถทำได้ง่ายๆ แค่กดปุ่มที่ข้อมือเพียงครั้งเดียว หรือมองไปที่หน้าจอเสมือนจริงเท่านั้น

แวร์เอเบิล: จากอุปกรณ์มอนิเตอร์การออกกำลังกาย สู่อุปกรณ์ช่วยดูแลสุขภาพ
ในปัจจุบัน ตลาดเพิ่งได้รู้จักกับประโยชน์เพียงเล็กน้อยของอุปกรณ์แวร์เอเบิลเท่านั้น อาทิ สายรัดข้อมือ ฟิตเนส ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างอย่างมากสำหรับผู้บริโภคชาวไทย มันสามารถแสดงผลลัพธ์การออกกำลังได้แบบเรียลไทม์ และยังสามารถเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายครั้งล่าสุดกับครั้งก่อนๆ ได้ ช่วยให้ประเมินความก้าวหน้าในการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี ซึ่งนี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น แต่เจ้าแวร์เอเบิลยังทำอะไรได้อีกมากมาย และในอนาคตอุปกรณ์แวร์เอเบิลอาจจะสามารถช่วยชีวิตเราได้เช่นกัน

โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยสูงสุด โดยในปี 2555 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจมากถึง 68,800 ราย หรือคิดเป็น 13% การสวมใส่แวร์เอเบิล ดีไวซ์ที่มีความสามารถพิเศษในการตรวจสอบการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย และส่งข้อมูลไปยังศูนย์ดูแลสุขภาพของผู้สวมใส่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเอื้อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินสภาพร่างกาย และบ่งชี้สัญญาณอันตรายว่าคุณอาจจะมีภาวะหัวใจล้มเหลวได้ล่วงหน้า และแจ้งเตือนให้คุณไปพบแพทย์ก่อนที่จะเกิดเหตุร้ายขึ้น นอกจากนี้ แพทย์จะสามารถตรวจสอบข้อมูลกิจวัตรประจำวันต่างๆ ที่บันทึกในอุปกรณ์แวร์เอเบิล เพื่อวินิจฉัยและทำงานร่วมกับนักโภชนาการ จัดทำโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลได้อีกด้วย
การเติบโตแบบก้าวกระโดดกำลังมา

ปัจจุบันสินค้าประเภทแวร์เอเบิลนั้นได้เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ซึ่งนั่นคือ ศักยภาพและโอกาสความเป็นไปได้ในอนาคตที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากคุณมองย้อนกลับมาดูเจ้าอุปกรณ์แวร์เอเบิลที่มีอยู่ในตอนนี้ คุณอาจจะนึกขำเหมือนเวลาที่เราเห็นรูปทรงของโทรศัพท์มือถือรุ่นแรกๆ ที่มีขนาดใหญ่โตเท่านอิฐบล็อค หรือแม้แต่เครื่องเล่นเทปแบบ 8 แทร็กที่ใช้ในสมัยก่อนเทคโนโลยีแวร์เอเบิลช่วยให้ทุกคนเห็นถึงรูปแบบหรือวิธีการใช้งานและประโยชน์ของข้อมูลทางด้านสุขภาพที่เก็บไว้เป็นไฟล์ดิจิทัล เช่น คุณสามารถติดตามและเรียกดูข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ ได้ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจขณะที่พักอยู่ อุณหภูมิของร่างกาย สถานที่ และอารมณ์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ในบนระบบคลาวด์ ซึ่งสามารถเรียกย้อนดูข้อมูลเก่าได้ ทั้งนี้ อุปกรณ์แวร์เอเบิลยังทำอะไรได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพได้อย่างง่ายดาย สะดวกรวดเร็ว ผ่านหลากหลายดีไวซ์ แอพพลิเคชัน และระบบเครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเห็นภาพรวมและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพของคุณได้แบบครบทุกมิติ

ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่มีความล้ำหน้า และเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้สิ่งที่พูดถึงเป็นจริงได้ เริ่มตั้งแต่ความเร็วของเครือข่ายไร้สายที่จะช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ โอนถ่ายข้อมูลไปยังผู้ให้บริการด้านสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว ไปจนถึงโมบายโปรเซสเซอร์ ที่ช่วยให้โมบายดีไวซ์สามารถประมวลผลข้อมูล แอพพลิเคชัน และการให้บริการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นับว่าเป็นโชคดีของคนในยุคปัจจุบันที่อาศัยอยู่ในโลกแห่งเทคโนโลยีที่กำลังก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็วทันใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน อาทิ ดีไวซ์ต่างๆ เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะถูกหรือแพง จะสามารถเชื่อมต่อได้ ใช้พลังงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีแบตเตอรีที่ใช้งานได้นาน จะมีเซนเซอร์ฝังตัวทั่วไป ไม่ว่าจะในอัญมณี เครื่องประดับ และเสื้อผ้า แผ่นแปะตัวชั่วคราว และยาฉีดแบบต่างๆ สำหรับโรคร้ายแรงหรือเฉพาะด้าน จะมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย อาทิ ในสถานพยาบาลต่างๆ อุปกรณ์แวร์เอเบิลจะมีหลากหลายรูปแบบและทุกขนาด

ควอลคอมม์: ผู้ขับเคลื่อนในการสร้างสรรค์เทคโนโลยี
สุวิทย์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันควอคลอมม์ คือผู้นำในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์โมบาย และการสร้างสรรค์นวัตกรรมชั้นนำระดับโลก ทั้งยังเป็นผู้นำในการบุกเบิกและผลักดันการเติบโตของ Internet of Everything โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดนาฬิกาอัจฉริยะ ระบบติดตามตัวเด็กและผู้สูงอายุ แว่นตาอัจฉริยะ และอุปกรณ์แวร์เอเบิลเพื่อสุขภาพ ซึ่งควอลคอมม์มุ่งมั่นส่งเสริมการคิดค้นพัฒนาอุปกรณ์ ตลอดจนการบริการด้านสุขภาพต่างๆ ที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบสุขภาพของตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยเหตุนี้ ควอลคอมม์ จึงได้ริเริ่มให้มีการจัดการแข่งขันระดับโลก Tricorder XPRIZE ชิงเงินรางวัลสูงถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพลิกโฉมรูปแบบของการดูแลสุขภาพ ด้วยการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันคิดค้นนวัตกรรมด้านสุขภาพ และการผนวกเทคโนโลยีด้านการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำเข้าไว้ด้วยกัน

นอกจากนี้ ควอลคอมม์ยังได้ส่งเสริมการพัฒนาวิทยาการแขนงต่างๆ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) ระบบตรวจจับแบบไร้สาย (wireless sensing), การวินิจฉัยจากภาพ (imaging diagnostic), ห้องปฏิบัติการบนชิพ (Lab on a Chip), อณูชีววิทยา (Molecular biology) ก่อให้เกิดทางเลือกในการดูแลสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเวลา สถานที่ และวิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ส่งผลให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่สะดวก เข้าถึงได้ง่าย และราคาที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ควอลคอมม์ยังได้ก่อตั้งบริษัท ควอลคอมม์ ไลฟ์ (Qualcomm Life) มุ่งเน้นการพัฒนาอุปกรณ์และการบริการด้านการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะ ล่าสุด ควอลคอมม์ ไลฟ์ ยังได้พัฒนาระบบ 2net Platform ซึ่งเป็นระบบคลาวด์ที่ล้ำสมัย ได้รับการออกแบบ แบบ universally-interoperable เอื้อให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดต่างๆ และแอพพลิเคชันทางการแพทย์ และยังสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงช่วยให้ผู้ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ แพทย์ประจำตัวหรือผู้ดูแลสุขภาพ สามารถตรวจเช็กข้อมูลไบโอเมตริกซ์ของผู้ป่วยได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ทั้งนี้ระบบ 2net Platform ไม่เพียงมีระบบรักษาความปลอดภัยแบบ SSL (Secure Socket Layer) แต่ยังได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) จัดให้เป็นระบบข้อมูลทางการแพทย์ระดับ Class I (Medical Device Data System: MDDS) ทางด้านสหภาพยุโรป จัดให้เป็นเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ระดับ Class I (Medical Device Directive: MDD) ทั้งยังได้รับสัญลักษณ์ CE Mark และได้ระดับ Class I ในประเทศแคนาดา อีกด้วย