เอไอ

ทุกวันนี้ “เอไอ” ได้ก้าวเข้าไปมีกับทุกส่วนมากขึ้นทุกวันในทุกธุรกิจ และเริ่มมีคำถามว่า แล้วนอกเหนือจากเรื่องของธุรกิจ แล้วสามารถนำไปทำอะไรได้อีก…

highlight

  • ไมโครซอฟท์ เชิญนักพัฒนาทั่วโลกเสนอแนวคิด และขอรับการสนับสนุน เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีรักษ์โลก ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ในรูปของทรัพยากรคลาวด์บนแพลตฟอร์ม ไมโครซอฟท์ อาซัวร์

เอไอ” เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเดิม

ไมโครซอฟท์ หวังช่วยขับเคลื่อนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลก หวังสานต่อโครงการ “เอไอ” ความสำเร็จจากโครงการ AI for Earth ที่มอบทุนวิจัยให้กับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมไปแล้วกว่า 236 โครงการใน 63 ประเทศ พร้อมก้าวเข้าสู่ปีที่สามของการสานฝันของนักวิจัยให้เป็นความจริงอย่างยั่งยืน

พร้อมเปิดโอกาสให้นักพัฒนาทั่วโลกเสนอแนวคิดและขอรับการสนับสนุน เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีรักษ์โลก โดยเปิดให้ยื่นโครงการขอทุนได้แล้ววันนี้ จนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 นี้

โดยโครงการ AI for Earth ของไมโครซอฟท์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำนวัตกรรม เอไอ และคลาวด์มาเติมศักยภาพให้ทีมวิจัย สถาบันการศึกษา และองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม สามารถเฝ้าสังเกตการณ์ จำลอง คาดการณ์ บริหารจัดการ และปกป้องสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและระบบนิเวศต่าง ๆ ได้ด้วยวิธีการใหม่ ๆ

หรือประสิทธิภาพที่สูงขึ้น โดยพิจารณามอบทุนวิจัยในรูปของทรัพยากรคลาวด์บนแพลตฟอร์ม ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ ให้กับโครงการวิจัยเชิงสิ่งแวดล้อมใน 4 ด้านใหญ่ ๆ ได้แก่ เกษตรกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ ความแปรปรวนของสภาพอากาศ และทรัพยากรน้ำ

ตลอดรอบปีที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนต่างก็ให้ความสนใจในเทคโนโลยี AI กันอย่างมากมาย โดยมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นหลัก แต่ที่จริงแล้ว AI ยังสามารถทำอะไรได้อีกมากให้กับมนุษย์

เอไอ
ทิวทัศน์ริมหาดบนเกาะสมุย อีกหนึ่งพื้นที่ชายฝั่งที่อาจต้องเผชิญกับปัญหาขยะในท้องทะเล

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โครงการ AI for Earth เป็นโครงการระดับโลกที่เปิดให้ทีมวิจัย องค์กร และสถาบันจากทั่วทุกมุมโลกได้มีโอกาสเสนอแนวคิดใหม่ ๆ ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อปกป้องโลกของเราให้รักษาไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ และทรัพยากรธรรมชาติ

เพื่อความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนของทั้งมนุษยชาติ และสิ่งมีชีวิตนานาชนิดบนโลกใบนี้ ปัจจุบัน เป็นที่คาดการณ์กันว่ามีขยะพลาสติกรวมกว่า 5 ล้านล้านชิ้นล่องลอยอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก หรือคิดรวมกันเป็นน้ำหนักถึง 250,000 ตัน โดยขยะเหล่านี้

นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำแล้ว ยังลอยเข้าฝั่งมาสร้างความเสียหายทั้งในทางสภาพแวดล้อม และทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากกรณีการปิดฟื้นฟูอ่าวมาหยาอย่างไม่มีกำหนดในประเทศไทยเอง หรือการปิดเกาะโบราไกย์ในฟิลิปปินส์

เพื่อให้ความงดงามทางธรรมชาติของสถานที่เหล่านี้ได้ฟื้นคืนมา แต่กลับต้องแลกมาด้วยความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยในกรณีการปิดเกาะโบราไกย์เป็นเวลา 6 เดือนนั้น เท่ากับเป็นการสูญเสียมูลค่าทางการท่องเที่ยวไปถึง 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

อาทิ องค์กรการกุศล Sustainable Coastlines จากประเทศนิวซีแลนด์ ได้มุ่งทำงานเพื่อแก้ปัญหาขยะในท้องทะเลมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ทั้งในนิวซีแลนด์เองและประเทศอื่นๆ ตามแนวฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก และด้วยพลังจาก เอไอ พวกเขาจึงสามารถพัฒนาโซลูชั่นใหม่ที่ช่วยให้ทุกภาคส่วนทำความเข้าใจในปริมาณ และแนวโน้มสถานการณ์ขยะในพื้นที่ชายหาดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

โดย โครงการฐานข้อมูลขยะของ Sustainable Coastlines พัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยี Enlighten Designs กรมอนุรักษ์ธรรมชาติ กระทรวงสิ่งแวดล้อมประเทศนิวซีแลนด์ และสถาบันสถิติแห่งนิวซีแลนด์ โดยมีแพลตฟอร์ม ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ เป็นพื้นฐานรองรับการจัดเก็บ

และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย “เอไอ” ระบบนี้เปิดให้ประชาชนจิตอาสา และนักวิจัยอิสระได้เข้าถึงฐานข้อมูลนี้ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อช่วยให้ทุกฝ่ายได้เรียนรู้ถึงสถานการณ์ปริมาณขยะ ประเภทขยะ และแหล่งขยะในพื้นที่ชายฝั่ง ก่อนจะนำไปต่อยอดในรูปของกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เพื่อรักษาความสะอาดและฟื้นฟูชายหาดสู่สภาวะปกติอีกครั้ง

ในฐานะหนึ่งในทีมวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้โครงการ AI for Earth ของไมโครซอฟท์ ทาง Sustainable Coastlines มีแผนที่จะพัฒนาระบบ machine learning เพื่อคาดการณ์รูปแบบการกระจายตัวของขยะในมหาสมุทร และจุดที่ขยะอาจพัดพาไปกองสุมได้ในอนาคต

นอกจากนี้ ทางทีมยังตั้งใจที่จะขยายระบบออกไปใช้งานในพื้นที่อื่นๆ นอกประเทศนิวซีแลนด์ โดยจะเริ่มใช้งานที่ฮาวายและปาปัวนิวกินีเร็ว ๆ นี้

อีกหลากหลายนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม จากมันสมองนักคิดทั่วโลก

เอไอ
โครงการ FarmBeats จากสหรัฐอเมริกา เสริมประสิทธิภาพการทำงานให้เกษตรกรด้วย AI

โครงการฐานข้อมูลขยะของ Sustainable Coastlines เป็นเพียงหนึ่งในหลากหลายนวัตกรรมที่ก้าวจากแนวคิดสู่ความเป็นจริงภายใต้โครงการ AI for Earth โดยยังมีตัวอย่างผลงานเด่นในโครงการนี้อีกมากมาย Wild Me องค์กรไม่แสวงผลกำไรจากสหรัฐฯ ได้พัฒนาแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน Wildbook ขึ้น

เพื่อให้นักวิจัยและอาสาสมัครทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการปกป้องและติดตามสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ด้วยระบบ เอไอ และคลาวด์ที่สามารถตรวจจับ จดจำ และติดตามลักษณะเฉพาะของสัตว์แต่ละตัว เช่นสี ลายบนผิวหนัง โทนเสียง และอื่นๆ ผ่านทางข้อมูลภาพและเสียงที่บันทึกโดยใครก็ตามที่ได้พบเห็นสัตว์ตัวนั้น

โดยระบบจะใช้ข้อมูลที่ทุกคนร่วมกันเก็บจากพื้นที่จริงมาช่วยในการติดตาม เก็บข้อมูล วิเคราะห์พฤติกรรม และสนับสนุนการปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ต่อไปส่วน FarmBeats นำข้อมูลจากอุปกรณ์เซนเซอร์มากมายมาเก็บข้อมูลจากพื้นที่ทำการเกษตร

นับตั้งแต่ตัวตรวจวัดความชื้น สารอาหาร และอุณหภูมิในหน้าดิน ไปจนถึงภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลสภาพอากาศในพื้นที่ และอื่นๆ มาวิเคราะห์ด้วยระบบ Machine Learning เพื่อสรุปออกมาเป็นคำแนะนำให้เกษตรกรวางแผนการปลูกและเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ให้ได้ผลผลิตดีที่สุ

  • โครงการ AI for Earth เปิดให้ทีมวิจัยจากทั่วโลกสามารถยื่นขอการสนับสนุนได้ตลอดปี โดยจะมีการพิจารณาอนุมัติปีละ 4 ครั้ง สำหรับการพิจารณาอนุมัติรอบต่อไป จะปิดรับการยื่นรายละเอียดโครงการในวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 เวลา 13:59 น.
  • ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ AI for Earth ได้ที่ https://www.microsoft.com/enus/ai/aiforearth หรือยื่นเอกสารขอรับการสนับสนุได้ที่ msrprograms.cloudapp.net
ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่