Submarine Cable

วันนี้เมื่อโลกก้าวก้าวเข้าสู่ยุคของอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มตัว เทคโนโลยีสมัยใหม่ของสายเคเบิ้ล แบบใยแก้วนำแสง แบบนำลงใต้น้ำ (Submarine Cable) นั้นจะช่วยให้ธุรกิจก้าวหน้าได้อย่างไร? ทำไม ภาครัฐและเอกชน ต่างให้ความสนใจ

What is Submarine Cable?

แนวคิดในการนำสายเคเบิ้ลลงใต้ทะเลนี้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว (พ.ศ. 2507) เนื่องจากสามารถช่วยลดปัญหาในเรื่องของภัยพิภัยที่มักจะส่งผลต่อสายสัญญาณที่บอบบางและทำให้ชำรุดได้ง่าย แต่ก่อนอื่นหลายๆท่านคงจะสงสัยว่าทำไม่เทคโนโลยีสายเคเบิ้ลใต้น้ำจึงสำคัญ และน่าสนใจจนทำให้ทีมงานนำมาพูดถึง ขออธิบายสั้นๆ ดังนี้

เทคโนโลยีสายเคเบิ้ลใต้น้ำ (submarine communications cable) นี้ ก็เหมือนท่อส่งสัญญาณขนาดใหญ่ ที่มีการรับ-ส่งสัญญาณคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะกับการใช้ส่งสัญญาณสำหรับการสื่อสารระยะทางไกลมากๆ ซึ่งพัฒนาการของเคเบิลใต้น้ำ ในอดีตเป้นแบบแกนร่วม (Coaxial)

ต่อมาได้พัฒนามาจนมาถึงระบบใต้น้ำเคเบิลเส้นใยนำแสง (Optical Fiber) เพราะเนื่องจากเทคโนโลยีของเคเบิลชนิดแกนร่วมเป็นระบบอนาล็อก (Analog) การเพิ่มขนาดหรือขยายระบบทำได้ยาก และซับซ้อนในด้านการบำรุงรักษา เมื่อขนาดความจุของระบบใหญ่ขึ้น จะทำให้ขนาดของสายเคเบิลใหญ่ขึ้นด้วย

Submarine Cable

และกรณีแถบความถี่ของระบบที่กว้างมากขึ้น จะเป็นผลให้สัญญาณ ในสายเคเบิลถูกลดทอน (Attenuation) ระยะทางการติดตั้งอุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater) จะลดลง ซึ่งเป็นผลให้มีความซับซ้อน และมูลค่าของระบบสูงขึ้นซึงจากข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้น

จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะทางสำหรับระบบเคเบิลใต้น้ำเพื่อปรับปรุงระบบให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพดีขึ้น จึงได้มีวิวัฒนาการมาเป็นระบบเคเบิลแบบดิจิทัล (Digital) โดยเปรียบเทียบกับระบบเคเบิลใต้น้ำชนิดแกนร่วมแล้วมีข้อดีกว่าหลายประการคือ สามารถรับ-ส่งสัญญาณได้ในแถบความถี่ที่กว้างกว่าราคาต่อวงจรต่ำกว่า

อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา นอกจากนี้ยังสามารถรับ-ส่งข้อมูลที่อัตราเร็วกว่า เนื่องจากใช้แสงที่มีความจุของช่องสัญญาณหรือแบนด์วิดท์กว้างกว่า ดังนั้นระยะทางระหว่างหน่วยทวนสัญญาณ (repeater) ของเคเบิลชนิดเส้นใยนำแสงจะมากหรือไกลกว่า

และเมื่อเปรียบเทียบการใช้งานของทั้งสองระบบแล้วจะเห็นได้ว่าต้นทุนของระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วมีแนวโน้มจะต่ำลงเรื่อย ๆ เพราะจะเป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาให้มีความสูงและอายุการใช้งานยาวมาก โดยระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วขนาด 1 คู่

ซึ่งเส้นใยสามารถรับ-ส่งสัญญาณทราฟฟิกแบบดิจิตอลได้ถึง 1.8 Gbit/sในขณะที่ดาวเทียมดวงหนึ่งมีแถบความถี่ใช้งานได้ (Useablc band-width) ประมาณ 1000 Mllz หรือใช้งานได้ 1.8 Gbits/s ซึ่งเท่ากับระบบเคเบิลฯ 1 คู่เส้นใย แต่การวางเคเบิลใต้น้ำระบบหนึ่ง ๆ จะบรรจุเส้นใยแก้วได้หลายคู่นั่นเอง ซึ่งวันนี้อาจเร็วกว่านี้แล้วก็เป็นได้

ขณะที่ระบบดาวเทียมเป็นระบบวิทยุจึงมีขีดจำกัดเรื่องความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่แต่ละประเทศต้องแบ่งกันใช้ และการซ่อมดาวเทียมที่อุปกรณ์เกิดเสียหรือชำรุดทำได้ยาก ในขณะที่เคเบิลใต้น้ำใยแก้วไม่มีปัญหาในเรื่องตำแหน่งโคจร เพราะน่านน้ำสากลกว้างใหญ่

ทำให้เลือกวางเคเบิลได้และเป็นระบบที่ใช้ความถี่แสงรับ-ส่งเฉพาะในเส้นใยแก้วเท่านั้น ไม่แผ่กระจายออก จึงไม่มีปัญหาเรื่องความถี่รบกวนกันหรือการแบ่งกันใช้งาน อีกทั้งการซ่อมเคเบิลที่เสียหรือชำรุดก็ทำได้ง่ายกว่า

จึงไม่น่าแปลกใจว่าเพราะเหตุใด วันนี้หน่วยงานรัฐ และเอกชน ต่างหันมาลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีนี้กันเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา องค์กรเอกชนชั้นนำทั่วโลกต่างลงทุนในการสร้างสายเคเบิ้ลใต้น้ำเพิ่มขึ้น อาทิ บริษัท กูเกิล ที่ได้ประกาศลงทุนในโครงการเคเบิลใต้น้ำ Japan-Guam-Australia (JGA) Cable System ที่ลากสายเคเบิลจากญี่ปุ่น ผ่านเกาะกวม ลงมายังซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ความยาว 9,500 กิโลเมตร

Submarine Cable

องค์กรชั้นนำเล็งขยายเส้นทางเพิ่ม

ก่อนหน้านี้ในปี 2017 กูเกิลลงทุนในเคเบิลเส้น INDIGO จากสิงคโปร์ไปซิดนีย์ และต้นปี 2018 ก็ลงทุนในเส้น HK-G จากฮ่องกงไปเกาะกวม ส่วนคราวนี้จะต่อเส้นจากเกาะกวม วกลงกลับไปซิดนีย์ ครบลูป ขณะที่เคเบิลชุดนี้จะทำให้การส่งข้อมูลระหว่างเขตต่างๆ ของ Google Cloud Platform ในเอเชียและออสเตรเลียรวดเร็วขึ้นมาก รวมไปถึงการให้บริการออนไลน์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Google Maps หรือ YouTube ด้วย

โดย Google นั้นประกาศเตรียมที่จะสร้างเคเบิลใต้น้ำเพิ่มเติม 3 สาย สำหรับประเทศที่จะเข้าไปตั้งศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติม 5 ประเทศ จะมีสองพื้นที่คือเนเธอร์แลนด์และเมือง Montreal ประเทศแคนาดาที่จะเปิดในไตรมาสแรกของปี 2018 ตามมาด้วยลอสแอนเจลิส, ฟินแลนด์ และฮ่องกง

ขณะที่ภาคผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมอย่าง SoftBank เองก็จับมือกับทาง Facebook, Amazon, NTT Communications, PLDT และ PCCW Global สร้างสายเคเบิลใต้ทะเล (โครงการ Jupiter) เพื่อรองรับตลาดอุปกรณ์ Internet of Things ที่กำลังจะเกิดขึ้น

โดยเส้นทางของเคเบิ้ลนี้จะเชื่อมสายจากสหรัฐฯ ไปยังพื้นที่ทวีปเอเชีย และสามารถส่งข้อมูลได้ 60 เทระบิตต่อวินาที เลยทีเดียว

Submarine Cable

ขณะที่ Microsoft นั้นได้ประกาศการลงทุน โครงการเคเบิลใต้น้ำ MAREA ซึ่งเป็นโครงการร่วมกันระหว่าง Microsoft และ Facebook ในการเดินสายเคเบิลความเร็ว 160Tbps ระหว่าง Virginia Beach, USA เข้ากับ Bilbao, Spain ผ่านสายเคเบิลที่อยู่ลึกเกือบ 11,000 ฟุตจากผิวน้ำทะเล ด้วยระยะทางกว่า 6,600 กิโลเมตร 

สำหรับประเทศไทยนั้น ไม่ว่าจะเป้นหน่วยงานรัฐหรือเอกชนก็ต่างเห็นประโยชน์ และเร่งลงทุนอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากทางฝั่ง ทีโอที (tot) โครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ AAE-1 (Asia-Africa-Europe1) ที่วางสายเพื่อใช้งานในส่วนของเส้นทางประเทศไทย-สิงคโปร์ และไทย – ฝรั่งเศส

ส่วน แคท (cat) เองก็วางระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ จำนวน 6 ระบบ ที่สามารถให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 54 เทราบิตต่อวินาที (Tbps) ประกอบด้วยระบบเคเบิล FLAG (Fiber Optic Link Around the Globe) ระบบเคเบิล SEA-ME-WE 3 (Southeast Asia-Middle East- Western Europe 3)

ระบบเคเบิล TIS (Thailand Indonesia Singapore) ระบบเคเบิล SEA-ME-WE 4 (Southeast Asia-Middle East- Western Europe 4) ระบบเคเบิล AAG (Asia-America Gateway) และระบบเคเบิล APG (Asia Pacific Gateway) ซึ่งเป็นระบบล่าสุดที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2559

และล่าสุดกุ่มทรูแะสมาชิกร่วมโครงการ Southeast Asia – Japan 2 consortium (SJC2) ได้งนามข้อตกงกับ NEC Corporation ร่วมสร้างเครือข่ายสายเคเบิใต้น้ำประสิทธิภาพสูง เพื่อรองรับการเชื่อมโยงระบบสื่อสารระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ะเอเชียเหนืออัน

ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย กัมพูชา เวียดนาม ฮ่องกง ไต้หวัน จีนแผ่นดินใหญ่ เกาหีใต้ แะญี่ปุ่น โดยโครงการสายเคเบิใต้น้ำดังก่าวมีความยาวกว่า 10,500 กิโเมตร มีจุดการเชื่อมต่อทั้งหมด 11 จุดในภูมิภาค คาดจะสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นภายในไตรมาสที่ ของปี 2020

โดยทางทรูเปิดเผยว่าระบบเคเบิใยแก้วนำแสงนี้จะมีความจุได้สูงสุดถึง คู่ใยแก้วนำแสง (fiber pair) รองรับความจุ 144 เทราไบต์ต่อวินาทีเมื่อเริ่มต้น ซึ่งเทียบเท่ากับการทำสตรีมมิ่งวิดีโอความะเอียดสูง ถึง 5.76 ้านวิดีโอต่อวินาที

ทำให้สามารถรองรับการใช้งาน วิดีโอสตรีมมิ่ง, วิดีโอระดับความคมชัดสูง, แอปพเคชั่นเสมือนจริง,การสื่อสารในระบบ 5G, ปัญญาประดิษฐ์ระบบคาวด์, การวิเคราะห์ข้อมูหุ่นยนต์ แะ Internet of Things ซึ่งในความจริงยังมีอีกหลายโครงการที่เราไม่หยิบยกมากล่าวถึง แต่จำนวนการลงทุนก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญไม่น้อย

Submarine Cable

ย่นระยะเวลาส่งข้อมูล

กลับมาที่ข้อที่หลายๆท่านคงจะสงสัยว่า แล้ว เทคโนโลยีสายเคเบิ้ลใต้น้ำ จะทำให้ประเทศไทยก้าวศุูนย์กลางทางอาเซียน (AEC) ได้อย่างไร? คำตอบคือได้หากมองในส่วนของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อย่าง คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ที่วันนี้กลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการ “ข้อมูล” (Data) และทำให้องค์กรสามารถเพิ่มความคล่องตัว และลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน ได้อย่างมหาศาล 

ย่อมหมายความว่าสิ่งที่ผู้ใช้บริหาร คลาวด์ ต้องการ คือ ประสิทธิภาพการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ ที่มีประสิทธิภาพมากพอ และทำให้ระยะเวลาในการ รับ-ส่ง ข้อมูล สั้นมากที่สุด และเมื่อเชื่อมต่อผ่านสายไฟเบอร์ออปติกภาคพื้นดิน (Thailand Crossing) ก็ยิ่งทำให้เกิดการเข้าข้อมูลถึงได้รวดเร็วมากขึ้น

ซึ่งเร็วกว่าเทคโนโลยีดาวเทียม ที่ยังมีประสิทธิภาพความเร็ว ด้อยกว่าเพราะจะต้องใช้เวลานานกว่าในการรับส่งข้อมูล
ระหว่างสถานีภาคพื้นดินกับดาวเทียม และในกรณีที่มีการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม อีกทั้งเทคโนโลยีดาวเทียมยังมีข้อจำกัดในปริมาณด้านความจุในการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากอีกด้วย

ซึ่งจากการที่ประเทศไทยมีภูมิศาสตร์ที่ดี ไม่ว่าจะเป็น ทางบก หรือทางน้ำ ที่เชื่อมต่อกับหลายๆประเทศ ทำให้ประเทศไทยสามารถวางโครงข่ายวงจรเชื่อมต่อโดยตรงไปยังประเทศที่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Hub) ที่สำคัญๆของโลก อาทิ ฮ่องกง สิงคโปร์ และฝรั่งเศส

อีกทั้งยังเชื่อมต่อโดยตรงไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป รวม 18 ประเทศ ได้แก่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย ปากีสถาน โอมาน สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ กาตาร์ เยเมน จิบูตี ซาอุดิอาระเบีย อียิปต์ กรีซ อิตาลี

และฝรั่งเศส ซึ่งการที่มีระบบโครงสร้าง เทคโนโลยีสายเคเบิ้ลใต้น้ำ ที่ดีมากเพียงพอจะสามารถช่วยเสริมศักยภาพให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Digital Hub)

Submarine Cable

เพราะยิ่งสามารถทำให้อินเทอร์เน็ตเร็วขึ้นมากเท่าใด ไม่เพียงช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ พัฒนาผลิตภัฒฑ์ หรือพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) แล้วยังช่วยให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างโปร่งใสในระบบราคา และความสามารถในการขยายตลาด ตลอดจนวางยุทธศาสตร์ในการเพิ่มผลผลิต (Productivity) ได้ดีขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังก้าวสู่ยุคของ อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งเช่นนี้

ซึ่งหากประเทศสามารถวางโครงข่าย เทคโนโลยีสายเคเบิ้ลใต้น้ำ ให้มีความครอบคลุมได้ทั่วภูมิภาคอาเซียนได้ ก็น่าจะได้เห็นการลงทุนจากบริษัทฯข้ามชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนั่นก็จะทำให้เกิดการจ้างงาน และสร้างให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่