ELEADER SEP 2015

ความคุ้มค่าของโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ โดย ดร.มารุต มณีสถิตย์  กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า  บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด 

Vendor1

บุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีมูลค่าค่าจ้างที่สูงขององค์กร อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมไอทีชี้ว่าเกือบร้อยละ 30 ของเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้านไอทีนั้นใช้ไปกับงานทั่วไปที่จำเจและไม่สร้างสรรค์ ซึ่งนั่นไม่เพียงหมายถึงมูลค่าเงินขององค์กรที่เสียเปล่า หากยังนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมา

โดยปัญหาดังกล่าว ได้แก่ มีการประมาณว่าเกือบร้อยละ 40 ของความขัดข้องในระบบไอทีเกิดจากความผิดพลาดของบุคลากรที่มีวิจารณญาณถดถอย เนื่องจากความเบื่อหน่ายในการทำงาน และความขัดข้องดังกล่าวสามารถสร้างความเสียหายที่มีมูลค่าสูงได้ นอกจากการเสื่อมเสียชื่อเสียงขององค์กร ซึ่งเกิดจากเหตุผิดพลาดด้านไอทีแล้ว มูลค่าของการดาวน์ไทมที่เสียไปโดยไม่มีการวางแผนรับมือล่วงหน้าอาจสูงถึง 5-7 พันดอลลาร์สหรัฐต่อนาที

ส่วนหนึ่งของปัญหาดังกล่าวคือ ในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีส่วนมากต่างติดอยู่กับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลขนาดใหญ่ อีกทั้งความคาดหวังของผู้ใช้งานในองค์กรที่ต้องการเข้าถึงข้อมูล และใช้แอพพลิเคชันตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีดั้งเดิมนั้น อาศัยระบบฮาร์ดแวร์ในการขับเคลื่อนเป็นหลัก ทำให้ขาดความยืดหยุ่น และหากต้องการเปลี่ยนแปลงจะต้องอาศัยการปรับรื้อระบบใหม่ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมีมูลค่าสูงเกินรับได้ ผลลัพธ์ดังกล่าวทำให้การสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เป็นเรื่องยาก จนกลายเป็นความซับซ้อน และต้นทุนที่มีมูลค่าสูงในระบบไอทีจะกลายเป็นเรื่องสูญเปล่า

Vendor4
ระบบอัตโนมัติและกำหนดด้วยซอฟต์แวร์เพื่อสร้างนวัตกรรม

เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว องค์กรจะสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่เดิม และมีอิสระในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีโดยเปลี่ยนให้ระบบการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติจะช่วยแก้ปัญหาด้านไอทีอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ลดค่าใช้จ่ายจากข้อผิดพลาดของบุคลากรและทำให้สามารถทุ่มเทกับงานหรือนวัตกรรมที่ช่วยสร้างรายได้ให้ธุรกิจได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการบริหารระบบไอที

การกำหนดระบบด้วยซอฟต์แวร์ หรือ software-defined คือการใช้ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งหมด ช่วยให้ทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ โดยมีคนมาเกี่ยวด้วยน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การนำความสามารถของซอฟต์แวร์มากำหนดความต้องการของแอพพลิเคชันจากโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ฮาร์ดแวร์สามารถปรับตัวเองให้เหมาะสมเพื่อรองรับกับความต้องการใหม่ๆ ช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลไม่กระทบกับการทำงานโดยรวมของระบบ โดยซอฟต์แวร์จะเป็นตัวดำเนินการทั้งหมด

การทำให้สินทรัพย์ไอทีเป็นระบบเสมือน (Virtualization) จะทำให้ระดับการบริการด้านไอทีสามารถปรับได้ตามรูปแบบความต้องการของแอพพลิเคชัน อย่างไรก็ดี การจะใช้เทคโนโลยีระบบเสมือนให้คุ้มค่าสูงสุด ไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างระบบการทำงานให้ง่ายขึ้นเป็นระบบอัตโนมัติ แต่ต้องสามารถให้องค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูล เพื่อการวิเคราะห์เชิงลึก และนำมาใช้ประโยชน์ได้ พร้อมเปลี่ยนสินทรัพย์ถาวรให้กลายเป็นทรัพยากรที่มีความยืดหยุ่นได้ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านไอทีสามารถมีโอกาสสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้มากขึ้น

Vendor2

สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีอย่างไร?

การตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของธุรกิจอย่างฉับไว การบริหารจัดการประสิทธิภาพ การสร้างความพร้อมทำงานของระบบ ความปลอดภัย และการปกป้องข้อมูล เป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวดของฝ่ายสารสนเทศในปัจจุบัน การใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดการทำงานของทรัพยากรในโครงสร้างพื้นฐานระบบไอที จะเป็นกลยุทธ์ที่จะเข้ามาในยุคข้อมูลขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นนี้ โดยมีคุณสมบัติแปลงสินทรัพย์ไอทีทางกายภาพให้เป็นระบบเสมือน ทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยสามารถประยุกต์คล้ายๆ เทมเพลต ที่คล้ายๆ กันเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจในการ deploy แอพพลิเคชันต่างๆ ได้เร็วขึ้น การเข้าถึงข้อมูล (Access) และระบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อช่วยให้ผู้บริหารด้านการจัดเก็บข้อมูล (ซึ่งปัจจุบันควรจะมีการพัฒนาทักษะในด้านการบริหารระบบเสมือน หรือ virtualization มากกว่าทักษะด้านการจัดเก็บข้อมูล) สามารถตอบโจทย์ความต้องการตรงนี้ได้

ทั้งนี้ กลยุทธ์ดังกล่าว รวมถึงโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ และขับเคลื่อนโดยแอพพลิเคชัน หรือ Software-defined Infrastructures (SDI) ที่ทางฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (HDS) เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการ Storage Virtualization Operating System – SVOS ที่ครอบคลุมระบบ Hitachi Virtual Storage Platform (VSP G-Series) family ในทุกๆ รุ่น เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจให้ทุกขนาดองค์กร ลูกค้าที่ต้องการระบบที่มีขนาดเล็กลง

ปัจจุบันสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชันได้ เช่นเดียวกับที่มีอยู่ในระบบสตอเรจระดับสูงของ HDS ซึ่งได้รับตำแหน่งผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ จากคะแนนสูงสุดในการทดสอบการทำงาน / use-case specific scores จาก Critical Capabilities for General-Purpose, High-End Storage Arrays ของการ์ทเนอร์ ซึ่งการนำไปใช้งานจริงที่พิสูจน์ถึงศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ อาทิ กลุ่มบริษัท Asia Capital Reinsurance ได้นำ Hitachi Unified Compute Platform (UCP) สำหรับ SAP HANA ซึ่งเป็นโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานแบบคอนเวิร์จ (Converged Infrastructure – CI) ของ HDS ประกอบด้วย อุปกรณ์ Appliance ที่รวมระบบเซิร์ฟเวอร์ เน็ตเวิร์กสวิตช์ และระบบจัดเก็บข้อมูลในเครือข่าย (SAN Storage) ไปใช้รวมระบบธุรกิจและคลังข้อมูล (data warehouse) เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data จนสามารถลดความล่าช้าที่เกิดจากช่วงเวลาการปฏิบัติงาน และการวิเคราะห์ได้ จนสามารถพัฒนาไปเป็นข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงลึกได้เกือบจะทันที

โดยสรุป คือผู้บริหารระบบยังคงต้องจัดการแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้จะมีการเพิ่มโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์มารองรับรูปแบบเชิงขยาย และการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ แต่ด้วยคุณสมบัติการ Abstract, Access, และ Automation ของซอฟต์แวร์ที่กล่าวมา จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเชื่อมระบบเก่าและใหม่ให้ราบรื่น เพิ่มความคล่องตัวและความยืดหยุ่นของระบบไอทีเพื่อช่วยเร่งการสร้างนวัตกรรมและผลลัพธ์ทางธุรกิจ อำนวยความสะดวกในการทำงานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระบบในการจัดการระบบต่างๆ และผู้ใช้ในการเข้าถึงการบริการ รวมถึงการเพิ่มความเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจเชิงลึกที่ประกอบขึ้นจากข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ