Cloud

ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจพับลิคคลาวด์ (Cloud) กำลังบูมอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด IDC (International Data Corporation) ได้ออกมาเผยถึง 10 แนวโน้มสำคัญด้านเทคโนโลยี ที่จะเข้ามามีผลต่อภาคธุรกิจของไทยในปี 2559-60 และกว่า 30% เป็นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านบริการคลาวด์

Cloud

Cloud 1 in 10 Key Trends in 2561

ซึ่งบริการคลาวด์เป็น 1 ใน 10 ของแนวโน้มที่สำคัญเหล่านั้น โดยในปี 2561 มีการคาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกแบ่งไปเป็นการลงทุนด้านการให้บริการคลาวด์ในสัดส่วน 1 ใน 4 เป็นอย่างน้อย ส่วนในปี 2563 คาดว่าจะมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการคลาวด์ขององค์กร 30%

โดยจะแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายการให้บริการฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์บนคลาวด์ เพื่อสนับสนุนภารกิจองค์กร มีมูลค่าสูงกว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นการเติบโตขึ้น 100% จากปัจจุบัน โดยทาง ไอดีซียังระบุว่า บริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศจะใช้จ่ายสำหรับให้บริการคลาวด์แบบสาธารณะ หรือพับลิคคลาวด์ ถึงประมาณ 33,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ และใช้จ่ายเพื่อให้บริการคลาวด์แบบส่วนตัวหรือไพรเวทคลาวด์ มูลค่าประมาณ 19,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการ สำหรับผู้ใช้งานภายในองค์กร หรือเฉพาะกลุ่มที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เรื่องของค่าใช้จ่ายในการลงทุนก็ยังเป็นปัญหาที่ทำให้หลายองค์กรตั้งคำถามถึงการย้ายไปใช้พับลิคคลาวด์จากต่างประเทศเพียงอย่างเดียวที่อาจไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการทุกอย่างได้คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป ข้อมูลต่อไปนี้คือปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดเทรนด์การเปลี่ยนจากระบบพับลิคคลาวด์ ไปเป็นระบบไพรเวทคลาวด์ของหลายๆ องค์กร

ค่าใช้จ่ายแอบแฝง

ในช่วงแรก จุดขายหนึ่งของระบบพับลิคคลาวด์ คือการตอบสนองความต้องการที่ต้องการโยกค่าใช้จ่ายจาก CAPEX ไปสู่ OPEX ทำให้ธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที เป็นการเช่าใช้บริการจากผู้ให้บริการระบบคลาวด์

เมื่อเวลาผ่านไป องค์กรต่างๆ จึงได้รู้ว่าแอปพลิเคชั่นต่างๆ ขององค์กรที่ใช้งานได้ง่าย และพอที่จะคาดการณ์ประสิทธิภาพการทำงานได้นั้นกำลังทำงานอยู่บนระบบคลาวด์ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ในขณะที่แต่เดิมองค์กรเคยสามารถจัดการการทำงานได้อย่างง่ายดาย ภายในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ของตนด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า

เมื่อเกิดการใช้ระบบคลาวด์มากขึ้น ดูเหมือนว่าจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นภาระอันหนักหน่วงขององค์กร และยังทำให้องค์กรสูญเสียการควบคุมค่าใช้จ่ายไปอย่างรวดเร็ว

Cloud

คิดนอกกรอบ

กฎเกณฑ์ที่ตายตัวอาจกลายเป็นอุปสรรคสำหรับองค์กรต่างๆ แต่ความยืดหยุ่นของกฎเกณฑ์ก็สร้างความวุ่นวายให้ซีไอโอและองค์กรเช่นเดียวกัน ปัญหาด้านกฎเกณฑ์นี้ฟังดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็อาจทำให้องค์กรและผู้มีอำนาจตัดสินใจต้องไตร่ตรองอีกครั้งก่อนที่จะยกยวงไปใช้ระบบคลาวด์ทั้งหมดโดยที่ยังไม่รู้จักคลาวด์มากพอ

เมื่อเวิร์คโหลดและแอปพลิเคชั่นทั้งหมดถูกย้ายไปอยู่บนระบบพับลิคคลาวด์ ก็ดูเหมือนจะเป็นการสร้าง “Data Gravity” โดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ข้อมูลที่องค์กรใส่ลงไปในระบบคลาวด์จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และสร้างค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งผลกระทบจากเรื่องค่าใช้จ่ายอาจถึงจุดที่องค์กรพิจารณาแล้วว่าอย่างน้อยก็ควรย้ายงานบางประเภทออกจากระบบคลาวด์

โดยเฉพาะเมื่อองค์กรธุรกิจเริ่มตระหนักว่าถูกผู้ให้บริการระบบพับลิคคลาวด์จากต่างประเทศสร้างเงื่อนไขในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการยกเลิกระบบที่สูงเกิน โดยจะมากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับขอบเขตการใช้งานขององค์กร แต่ควรตระหนักว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ ในขั้นตอนการยกเลิกระบบนี้อาจนำมาซึ่งความเสียหายครั้งใหญ่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

Cloud

การกำกับดูแล และการใช้ คลาวด์ ให้ได้ผล

ความข้องใจอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเสมอในการใช้ระบบ พับลิคคลาวด์ คือ การกำกับดูแล คำถามก็คือ ข้อมูลสำคัญที่องค์กรส่งไปไว้บนคลาวด์จะไปอยู่ที่ไหน เนื่องจาก สายเคเบิ้ลที่โยงใยกันเป็นเครือข่ายข้ามทวีปนั้น จะคอยรองรับข้อมูลให้ส่งผ่านกันทั่วโลกได้ภายในไม่กี่อึดใจ สิ่งเหล่านี้มักหมายถึงข้อมูลของลูกค้า

และข้อมูลที่อ่อนไหวอาจล่วงล้ำกฎของประเทศหรือนโยบายทางธุรกิจขององค์กรก็เป็นได้ อีกทั้งด้วยนโยบายที่นับวันก็จะเข้มงวดมากขึ้น ทำให้องค์กรมีข้อจำกัดด้านจำนวน และประเภทของข้อมูลที่สามารถจัดเก็บไว้บนพับลิคคลาวด์ได้

แม้จะมีทางเลือกที่จะจัดเก็บข้อมูลไว้ภายในองค์กร แต่นั่นก็อาจตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และอาจไม่ได้ช่วยพิสูจน์ให้เห็นถึงความจำเป็นในการนำข้อมูลเหล่านั้นขึ้นไว้บนคลาวด์เสียแต่แรก อย่างไรก็ตามแม้จะมีข้อกังวลดังกล่าว ระบบพับลิคคลาวด์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

แต่เราเพิ่งจะเริ่มเห็นการลดลงของการใช้งานระบบคลาวด์ล้วนๆ โดยไม่มีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้อง ตัวชูโรงของเกมนี้คือ “ไฮบริดคลาวด์” ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีมานานแล้วแต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาหรือแม้แต่จะถูกสร้างคำนิยามใดๆ อย่างจริงจัง

ความหมายในเชิงลึกของไฮบริดคลาวด์คือการสร้างความสมดุลของการใช้ทรัพยากรบนพับลิคคลาวด์และไพรเวทคลาวด์ เพื่อให้ระบบคลาวด์ทั้งสองทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น หากทำได้ถูกวิธี องค์กรจะได้ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติที่ดีที่สุดของคลาวด์ทั้งสองระบบ ไม่ว่าจะเป็นความรวดเร็วและความยืดหยุ่นจากพับลิคคลาวด์

ซึ่งเหมาะกับธุรกิจที่กำลังเปิดตัวการให้บริการในรูปแบบดิจิทัล แต่ยังไม่แน่ใจถึงผลกระทบทางด้านทรัพยากรทางไอทีที่อาจเกิดขึ้น การคาดการณ์ค่าใช้จ่าย การเปิดเผยข้อมูล การกำกับดูแลที่ทันสมัย ระบบภายใน หรือระบบเอ็นเตอร์ไพรส์คลาวด์ต่างๆ

เราเริ่มมองเห็นสัญญาณแห่งความเป็นไปได้มากขึ้น ผู้ให้บริการทางพับลิคคลาวด์ต่างกำลังผลักดันความสำคัญของไฮบริดคลาวด์และร่วมมือกับภาคธุรกิจอื่นๆ เพื่อสร้างตัวเลือกด้านไฮบริดอย่างแท้จริง

Cloud

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์ กล่าวว่า เพื่อให้การใช้คลาวด์เป็นไปอย่างราบรื่น ล่าสุดทาง นูทานิคซ์ ผนึกพลังเป็นพันธมิตรกับ Google เพื่อช่วยสร้างความสำเร็จ และยังเปิดให้บริการที่ชื่อว่า “Calm” ซึ่งจะเข้ามาช่วยให้กระบวนการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชั่นระหว่างสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันเป็นไปโดยอัตโนมัติ

และเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการระบบพับลิคคลาวด์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องเริ่มตระหนักถึงข้อจำกัด และความเสี่ยงต่างๆ และหาสิ่งที่เหมาะสมที่จะช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานสามารถทำงานให้องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้องค์กรสามารถนำประโยชน์จากเทคโนโลยีมาใช้ทางธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่