กรอ. ชี้ไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) 6 หมื่นตันต่อปี เผยเทรนโลกมุ่ง โลกในการหาแนวทางในการจัดการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ หวังสร้างมูลค่าเพิ่มรายได้แก่ภาคอุตสาหกรรม

กรอ. ชี้ไทยมีปริมาณ e-waste กว่า 6 หมื่นตัน!!

กรมโรงงานอุตสาหกรรม เผยแนวโน้มการเพิ่มมากขึ้นของขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีจำนวนมากขึ้นตามการเติบโตของเทคโนโลยี โดยประเทศไทยมีปริมาณของขยะอิเล็กทรอนิกส์จากภาคอุตสาหกรรมและการนำเข้าในปี 2560 กว่า 6 หมื่นตัน แบ่งเป็นขยะจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศจำนวน 7,400 ตัน

และนำเข้าประมาณ 53,000 ตัน อย่างไรก็ตาม ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นโจทย์ใหญ่ของโลกในการหาแนวทางในการจัดการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่เพราะส่วนประกอบในขยะอิเล็กทรอนิกส์มีแร่โลหะที่มีมูลค่าสูง ซึ่งหากมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็สามารถสร้างมูลค่าได้มหาศาลให้กับประเทศ

e-waste
มงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

มงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า แนวโน้มการเพิ่มมากขึ้นของขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีจำนวนมากขึ้นตามการเติบโตของเทคโนโลยี สำหรับในประเทศไทยมีปริมาณของขยะอิเล็กทรอนิกส์จากภาคอุตสาหกรรมและการนำเข้าในปี 2560 กว่า 6 หมื่นตัน

แบ่งเป็นจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศจำนวนประมาณ 7,400 ตัน และนำเข้าประมาณ 53,000 ตัน โดยการนำเข้าของเสียอิเล็กทรอนิกส์สามารถนำเข้าได้ตามขั้นตอนการขออนุญาตภายใต้อนุสัญญาบาเซล อันประกอบไปด้วยกระบวนการตั้งแต่การพิจารณาคำขอคำยินยอมจากหน่วยงานรัฐจากประเทศต้นทาง

จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบความพร้อมในด้านสถานที่จัดเก็บ ปริมาณการนำเข้า และกระบวนการผลิต ฯลฯ และหากได้รับการยินยอมแล้ว จะพิจารณาออกใบอนุญาตนำเข้าและขึ้นทะเบียน ทั้งนี้ในการออกใบอนุญาตการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ จะออกให้เฉพาะโรงงานที่ประสงค์นำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเป็นวัตถุดิบ

e-waste
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste)

ในโรงงานของตนเองเท่านั้น ไม่สามารถนำไปขายหรือจำหน่ายต่อให้ผู้อื่นหรือโรงงานอื่นได้ และปริมาณที่นำเข้าต้องสอดคล้องกับกำลังการผลิตของโรงงาน อย่างไรก็ตาม ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-waste คือกากขยะที่มาจากผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ของโลกในการหาแนวทางในการจัดการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่เพราะส่วนประกอบในขยะอิเล็กทรอนิกส์มีแร่โลหะที่มีมูลค่าสูง ซึ่งหากมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็สามารถสร้างมูลค่าได้มหาศาลให้กับประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นมีการนำโลหะมีค่าที่สกัดจากขยะอิเล็กทรอนิกส์

อาทิ ทองคำ ทองแดง มาผลิตเป็นเหรียญรางวัลที่จะใช้ในกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2020 ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยมีโรงงานรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำนวน 132 โรงงาน

จากกรณีการพบขยะอิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานของบริษัท ดับบลิว เอ็มดี ไทย รีไซคลิ้ง จำกัด ในพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา กรอ. ตรวจสอบพบว่า บริษัทฯ ไม่มีใบอนุญาตนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากกรณีดังกล่าวในลำดับต่อไป กรอ. จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแหล่งที่มาของขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้

ว่ามาจากการลักลอบนำเข้า หรือมีการสำแดงข้อมูลอันเป็นเท็จต่อศุลกากรและเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะต้องระวางโทษตามมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่