Saensuk-Smart-City-1

แสนสุข สมาร์ท ซิตี้ เป็นโครงการของเทศบาลตำบลแสนสุข ในประเทศไทย และกลายเป็นสมาร์ท ซิตี้ แห่งแรกในประเทศ เผยโฉมโครงการต้นแบบของจริงที่ได้มีการพิสูจน์แนวคิดหลากหลายรูปแบบว่าสามารถนำไปต่อยอดการใช้แอพพลิเคชันอัจฉริยะที่มีนวัตกรรมและเชื่อถือได้จริง สำหรับการดำเนินโครงการในระยะแรกก็คือ การติดตั้งระบบอัจฉริยะเพื่อการติดตามดูแลสุขภาพ โดยมุ่งเป้าไปที่การปรับปรุงคุณภาพการดูแลประชากรสูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ โดยโครงการนำร่องนี้เป็นการร่วมมือกับพันธมิตรเทคโนโลยี ได้แก่ เดลล์ อินเทล และศูนย์นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ ทั้งนี้โครงการดูแลสุขภาพด้วยระบบอัจฉริยะ หรือ สมาร์ท เฮลธ์แคร์นี้

ความริเริ่มของโครงการ แสนสุข สมาร์ท ซิตี้ เปิดตัวขึ้นในปี 2557 และเป็นโครงการนำร่องที่ใช้เวลา 3 ปี จัดทำโดยเทศบาลตำบลแสนสุข เพื่อนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความเป็นระบบอัจฉริยะแก่ชุมชนและนักท่องเที่ยว จากจำนวนประชากร 46,000 คนตามที่ระบุในทะเบียนผู้พักอาศัยในชุมชนแห่งนี้ 15% ของประชากรจำนวนดังกล่าวเป็นผู้สูงอายุ โดยหน่วยงานรัฐบาลในท้องที่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเหล่านี้มักจะอยู่บ้านคนเดียวในช่วงระหว่างวัน โดยมีผู้ดูแลน้อยหรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการพยาบาลอยู่น้อย โครงการนำร่องนี้ จึงเกิดขึ้นในเดือนมกราคม 2559 และมุ่งเป้าไปที่ 140 ครัวเรือนที่มีสมาชิกครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นที่การตรวจตราดูแลคนไข้พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อช่วยให้รัฐบาลจัดสรรทรัพยากรในการพยาบาลและดำเนินการเรื่องการบริการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เรื่องนี้สำเร็จได้ด้วยแอพพลิเคชัน IoT ที่ช่วยด้านการตรวจดูสุขภาพ ให้การแจ้งเตือนฉุกเฉิน ตรวจจับสภาพแวดล้อม สอดส่องที่พักอาศัยและติดตามดูแลเพื่อความปลอดภัย

แนวคิด (proofs-of-concept) เนื่องจากทั้งสององค์กร เป็นผู้ที่มีผลงานด้านสมาร์ท ซิตี้ และเป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือสูง โดยได้เคยสร้างโครงการ IoT ขนาดใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกมาแล้วหลายโครงการ  และเรารู้สึกยินดีที่ได้จัดทำโครงการในระยะแรกขึ้น พร้อมกับมั่นใจว่าโครงการในระยะถัดมาก็จะส่งผลลัพธ์ที่มีคุณค่าอย่างมากกับเมืองเราเช่นกัน ณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข กล่าว

ระบบดูแลสุขภาพแบบอัจฉริยะ (Smart Healthcare) สำหรับผู้สูงอายุ
โดยปกติ พยาบาลในเขตเทศบาล จะไปเยี่ยมผู้พักอาศัยที่เป็นผู้สูงอายุอยู่เป็นประจำเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม พยาบาลก็ยังคงไม่สามารถดำเนินการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสมในระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน เนื่องจากพยาบาลไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นเมื่อไหร่ หรือต้องดูแลทางการแพทย์ต่อด้วยวิธีใด ปัจจุบัน โครงการนำร่องนี้ ช่วยให้พยาบาลสามารถดูแลสอดส่องสุขภาพของคนไข้สูงอายุได้จากระยะไกลผ่านระบบคลาวด์ และระบบวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการเชื่อมต่อบลูทูธ

แพลตฟอร์ม IoT ที่ใช้เทคโนโลยีอินเทลเป็นฐาน ให้การเชื่อมต่อแบบเอ็นด์-ทู-เอ็นด์ที่ปลอดภัยตั้งแต่เกตเวย์ตลอดจนอุปกรณ์และดาต้าเซ็นเตอร์ โดยโซลูชันจะช่วยให้ติดตั้งใช้งานจริงได้ง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้นและให้ความสามารถในการบริหารจัดการที่ดีขึ้น ในช่วงระยะแรกของโครงการนำร่องนี้ ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุจะสวมใส่อุปกรณ์อัจฉริยะขนาดเล็กที่รับส่งสัญญาณบลูทูธได้ เช่นกำไลสวมข้อมือหรือสร้อยคอ โดยอุปกรณ์อัจฉริยะนี้ จะทำการสอดส่องจำนวนก้าว การเคลื่อนไหว ระยะทางในการเดิน และรูปแบบการนอนหลับ อีกทั้งสามารถแจ้งเตือนมายังผู้ดูแลในศูนย์ดูแลสุขภาพ เมื่อระบบตรวจจับกิจกรรมที่ไม่ปกติ เช่น การลื่นหกล้ม หรือมีการกดปุ่มฉุกเฉินขึ้น