Wiser AvatarOn

Schneider Electric WiserAvatarOn โฮมออโตเมชั่น ดีไซน์สุดโมเดิร์น ที่สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์สมาร์ทในเครือข่ายได้ตามต้องการ พร้อมกับการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้านได้ในแอปฯเดียว…

highlight

  • Wiser AvatarOn โฮมออโตเมชั่น ใหม่ล่าสุดจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่มอบความสามารถในการเปลี่ยนบ้านธรรมดาสู่บ้านอัจริยะ ที่โดดเด่นด้วยความสามารถในการเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาในเครือข่าย ได้หลากหลาย และสามารถควบคุมผ่านแอปพลิเคชั่น
  • 6 คุณสมบัติเมื่อทำงานร่วมกับระบบ เซ็นเซอร์อัจฉริยะแบบไร้สายสามารถนำไปใช้กับ ระบบเซ็นเซอร์การเคลื่อนไหว, อุปกรณ์ตรวจจับน้ำรั่ว, เซ็นเซอร์ ประตู-หน้าต่าง, ระบบเซ็นเซอร์อุณหภูมิ และไมโครโมดูล

โฮมออโตเมชั่น ที่ช่วยยกระดับบ้านของคุณ

กุศล กุศลส่ง รองประธานกลุ่มธุรกิจ Home & Distributions ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย กล่าวว่า การก้าวเข้าสู่สังคม 4.0 ในปัจจุบัน จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่สามารถรองรับ และตอบโจทย์ได้อย่างครบวงจรครบทุกความต้องการ เพราะเทคโนโลยีเครื่องใช้อำนวยความสะดวกสำหรับบ้าน มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

ที่ล้วนเติมเต็มชีวิตดิจิทัลทั้งสิ้น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้ จึงได้ต่อยอดนวัตกรรมโฮมออโตเมชั่น เพื่อให้ติดตั้งง่าย และง่ายในการเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาในเครือข่าย โดยสามารถควบคุมผ่านแอปพลิเคชั่น Wiser ได้ในที่เดียว เพื่อตอบสนองไลฟ์ไสตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด

6 คุณสมบัติเด่น ใน Wiser AvatarOn ประกอบด้วย

ไอพีเกตเวย์ (IP Gateway) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการรับส่งข้อมูลการสื่อสารต่างๆ จากสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราต้องการควบคุม

สวิตช์พกพา (Freelocate switch) สามารถพกพาเพื่อควบคุมระบบแสงสว่างทุกจุดในบ้านได้ ในกรณีที่ไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟนในการควบคุม โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเปิด/ปิดสวิตช์ไฟระหว่างชั้น หรือเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ และเด็กที่เอื้อมไม่ถึงสวิตช์ไฟ

ระบบควบคุมอุณหภูมิ (Multifunction interface) ช่วยให้สามารถควบคุมอุณหภูมิของแอร์คอนดิชั่น หรือ เปิด/ปิดผ่านสมาร์ทโฟนได้

ระบบจัดการอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงในบ้าน (360° IR convertor) ระบบควบคุม TV/AV รวมไปถึงแอร์คอนดิชั่น สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆ ได้มากมาย 360° เช่นชุดเครื่องเสียง โฮมเธียเตอร์ โดยสามารถรับส่งสัญญาณแบบกระจายได้ถึง 360° เลยทีเดียว

ระบบควบคุมแสงสว่าง (AvatarOn light switch) ระบบควบคุมแสงด้วยดีไซน์งดงาม พร้อมปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ได้ตามใจ หรือตามคอนเซ็ปต์ของโครงการ และยังสามารถปรับเปลี่ยนสีสันได้อีกด้วย

ระบบควบคุมม่าน (AvatarOn curtain switch) ง่ายในการควบคุมม่านผ่านสมาร์ทโฟน หรือตั้งเวลาเปิด/ปิดอัตโนมัติ หรือใช้งานร่วมกับระบบเซ็นเซอร์เพื่อให้เปิด/ปิดก็ได้

ซึ่งความโดดเด่นจนต้องสำหรับโซลูชั่น Wiser คือสามารถทำงานร่วมกับระบบ เซ็นเซอร์อัจฉริยะแบบไร้สาย ให้ความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเพราะมีแบตเตอรี่ในตัว ไม่ต้องเดินสายจากระบบไฟในบ้าน สามารถนำไปติดตั้งในที่ที่ต้องการได้ตามสะดวก

  • ระบบเซ็นเซอร์การเคลื่อนไหว เพื่อตรวจจับความเคลื่อนไหวในบ้าน สามารถเลือกติดตั้งได้ตามต้องการ เช่น บ้านที่มีเด็ก หรือคนชรา สามารถปรับแต่งติดตั้งในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้ระวังได้เป็นพิเศษ เช่น ใกล้บ่อปลา สระน้ำ บันได เป็นต้น
  • อุปกรณ์ตรวจจับน้ำรั่ว ง่ายในการติดตั้ง เพราะเป็นระบบไร้สาย สามารถนำไปวางไว้ใกล้จุดที่เราต้องการได้เช่น บริเวณเครื่องซักผ้า ใต้ซิงค์น้ำ หรือใต้หลังคาเพื่อแจ้งเตือนเมื่อมีน้ำรั่วเข้าในตัวบ้าน
  • ระบบเซ็นเซอร์ ประตู/หน้าต่าง ทำให้สามารถเช็คสถานะของประตูและหน้าต่างเพื่อป้องกันการหลงลืมในการปิดประตู/หน้าต่างประตูไม่สนิทเวลาก่อนออกจากบ้านอีกด้วย
  • ระบบเซ็นเซอร์อุณหภูมิ ซึ่งช่วยให้สามารถรับรู้อุณหภูมิได้ทั่วห้อง เพราะปกติแอร์จะวัดอุณหภูมิได้ที่ตัวแอร์ ทำให้เราคาดการณ์สามารถปรับแต่งอุณหภูมิได้ทั่วทั้งห้อง
  • ไมโครโมดูล เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเปลี่ยนอุปกรณ์ธรรมดาต่างๆ ให้อัจฉริยะ สามารถเพิ่มเติม ปรับแต่งระบบโฮมออโตเมชั่นให้แตกต่างจากรายอื่นๆ ได้ เพื่อเพิ่มอำนาจการควบควบคุมมารวมที่แอปพลิชั่น wiser ได้ในที่เดียว เพียงนำไมโครโมดูล เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ต้องการ และทำการเชื่อมต่อผ่านสมาร์ทโฟนได้เลย ให้ความสะดวกทั้งผู้พักอาศัย และโครงการบ้าน หรือคอนโดที่ต้องการเพิ่มความแตกต่างด้านอุปกรณ์ควบคุมได้อย่างง่ายดาย

Wiser AvatarOn

นอกจากนี้ Wiser สามารถใช้งานร่วมกับสวิตช์ AvatarOn แบบต่าง ๆ ได้อย่างลงตัว นับเป็นการผสานความลงตัวระหว่างเทคโนโลยี และการดีไซน์ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของผู้พักอาศัยยุคใหม่ ที่ให้ทั้งความสะดวก โมบิลิตี้ และความปลอดภัยในสังคมปัจจุบัน และอนาคต

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่