SAMART Corp

กลุ่มสามารถ (SAMART Corp) ตั้งเป้าหมายพลิกฟื้นธุรกิจทั้งกลุ่ม รับมือการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะ ICT Solutions ที่ยังมีงานในมือกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท ขณะที่ธุรกิจดิจิทัล (SDC) ส่อแว่วรับรู้รายได้มากขึ้น ด้านธุรกิจพลังงาน และบริการ (U-Trans) ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทำให้เติบโตดีขึ้น…

กลุ่มสามารถ ประกาศเตรียมพร้อมที่จะพลิกฟื้นธุรกิจทั้งหมด หลังจากที่ได้เดินหน้าปรับเปลี่ยนองค์กรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง โดยเล็งสร้างความแข็งแกร่ง และยังยั่น (Strong & Sustain) ตั้งเป้าการเติบโตทุกกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะ ICT ที่จะทำ New High ในส่วนของรายได้

และมูลค่างานที่มีอยู่ ขณะที่ธุรกิจพลังงานเตรียมปรับโครงสร้างการงลงทุน (New Structure) ทำให้สามารถขยายธุรกิจ และเข้าสู่ Listed SET ภายในปี 62 มั่นใจรายได้ แตะ 2 หมื่นล้านบาท

2019 ปี แห่งการพลิกพื้นของ SAMART Corp

SAMART Corp

วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า แม้ว่าหลายปีที่ผ่านมาเราจะเผชิญกับความลำบากจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ทำให้เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวองค์กรของเราให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล

โดยเราได้เดินหน้าปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเราเชื่อว่าจากการที่ทั้งกลุ่มเดินหน้าปรับเปลี่ยนน่าจะสามารถทำให้เรากลับมาอยู่ในจุดที่เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

โดยเรามีความมุ่งหวังที่จะให้ปี 2019 เป็นปีที่เราเรียกว่า “SAMART… Strong & Sustain” หรือปีแห่งการพลิกฟื้นธุรกิจ ด้วยความแข็งแกร่ง และยั่งยืน โดยคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ในทุกกลุ่มรวม 2 หมื่นล้านบาท ขณะที่ ในส่วนของ New S-Curve

โดยเฉพาะสายธุรกิจ SAMART Digital หรือ SDC ที่น่าจะสร้างรายได้ที่ 4 พันล้าน โดยหลักๆน่าจะมาจากในส่วนโครงการในการให้บริการ Digital Network อาทิ โครงการข่ายวิทยุระบบ CAT DTRS Nationwide ของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงธุรกิจ Digital Content ทั้ง BUG, EDT และ i-Sport ซึ่งมีรายได้เติบโตต่อเนื่อง

ด้านธุรกิจ ICT Solutions นับเป็นปีที่ดีที่จะทำให้ธุรกิจของเติบโต เป็น New High ทั้งในแง่ของรายได้ และมูลค่างานในมือ ซึ่งปัจจุบันเรามีรายได้ที่จะเกิดจากงานที่มีอยู่ในมือ (Backlog) กว่า 4 หมื่นล้านบาท จากโครงการ 118 โครงการ

อาทิ โครงการของการฟ้าส่วนภูมิภาค (7,000 ล้านบาท), โครงการของโครงการกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติ (6,000 ล้านบาท) และโครงการของ บมจ.การท่าอากาศยานไทย (1,500 ล้านบาท) ซึ่งล่าสุดเราอยู่ในระหว่างดำเนินงานในโครงการติดตั้ง และพัฒนาระบบสารสนเทศธุรกิจหลัก (Core Business System)

ให้กับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ซึ่งมีมูลค่ากว่า 579 ล้านบาท แต่อย่างไรเราตั้งเป้าว่าภายในปี 2019 จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีก 1 หมื่นล้านบาท

ขณะที่สายธุรกิจ U-Trans ที่ถือเป็น New Business Structure ของเรานั้นเราเล็งที่จะสร้างรายได้ 4,400 ล้านบาท หลังจากที่ได้ปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อเตรียมนำ บริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

และเพื่อเอื้อต่อการขยายธุรกิจทั้งในส่วนของ Air Traffic Control ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และการขยายธุรกิจทางด้าน Underground Cable ซึ่งมีมูลค่าโครงการถึง 1.4 ล้านบาท โดยล่าสุด บริษัท  เทด้า คว้างานก่อสร้างสถานีต้นทางคลองด่านของ กฟน. ในนาม The Consortium of TEDA-ITE-STC” (1,635 พันล้านบาท / เทด้า มูลค่ากว่า 700 ล้านบาท)

ในส่วนของ บมจ. วันทูวัน คอนแทคส์ (OTO) เราเล็งจะสร้างรายได้ 1 พันล้านบาท โดยเน้นลูกค้าภาครัฐเป็นหลัก ส่วนภาคเอกชนมุ่งเน้นไปที่กลุ่มธนาคารและกลุ่มธุรกิจประกัน โดยวาง 2 แนวรุก เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ คือ  New Service มุ่งพัฒนาสินค้า และบริการด้านธุรกิจคอลล์เซ็นเตอร์ที่เป็น digital  services อย่างต่อเนื่อง

เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค  เช่น การให้บริการ Voice AI , การนำ Chatbot มาให้บริการสอบถามข้อมูลผ่านช่องทาง Line Connect, facebook  และ website ที่ช่วยลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้า  ขณะที่ในส่วน การสร้างตลาดใหม่ (New  Market) ล่าสุดเราได้ร่วมมืออย่างเป็นทางการกับ  LINE Company (Thailand) Limited

ในโครงการ LINE Customer Connect ในการเป็นผู้ดำเนินการงานด้านระบบบริการลูกค้า รวมถึงเป็น Strategic Partner กับบริษัท HANKOOK Corporation ผู้นำในธุรกิจ Contact Center ครบวงจรในประเทศเกาหลีใต้ ด้วยการแลกเปลี่ยนแนวคิดการบริหารงาน การพัฒนาเทคโนโลยี และจับมือกันนำเสนอบริการใหม่เข้าสู่ตลาด

SAMART Corp

จับตาดูปัจจัยที่อาจส่งผลต่อธุรกิจ

อย่างไรก็ดีมี 2 ปัจจัย ที่ช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจของสามารถเติบโต คือ 1. ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ปีนี้น่าจะดีกว่าปีก่อน จากการท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างประเทศ ที่ต้องการลงทุนในไทย เพื่อเชื่อมโยงการค้าระหว่าง CLMV และที่สำคัญ ถ้าการเลือกตั้งเกิดขึ้นและมีรัฐบาลใหม่ ทุกอย่างจะคลี่คลาย

แต่ถึงอย่างไรปัจจัยสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น อาจมีผลต่อเศรษฐกิจโลก และอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยได้  2. การกระตุ้นของภาครัฐ ในร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงนโยบาย Thailand 4.0 ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมด้านเทคโนโลยี และดิจิตอลเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นหลัก

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่