NIA

เอ็นไอเอ (NIA) ผนึกกำลัง อิสราเอล (IIA) ติดสปีดนวัตกรรมไทยสู่ระดับอินเตอร์พร้อมดึงอิสราเอลโมเดลหนุนการเติบโตธุรกิจเกษตร ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และไอโอที

NIA ผนึกกำลัง IIA หนุนการเติบโต 3 ธุรกิจ

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จับมือสำนักงานนวัตกรรมอิสราเอล (Israel Innovation Authority) หรือ IIA เดินหน้าความร่วมมือการพัมนาระบบนวัตกรรมของทั้งสองประเทศ โดยมุ่งให้การสนับสนุนการแลกปลี่ยนองค์ความรู้ การพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างบริษัทไทย กับบริษัทอิสราเอล

ผ่านกลไกการให้ทุน นอกจากนี้ ยังได้เตรียมนำต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมจากอิสราเอลมาสู่ประเทศไทย อาทิ การดึงดูดให้บริษัทข้ามชาติระดับโลกมาตั้งศูนย์วิจัยเพื่อทำงานร่วมกับนักวิจัยและสถาบันการศึกษา การสนับสนุนการเงินจากภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ

รวมทั้ง การผลักดันให้ สตาร์ทอัพและธุรกิจนวัตกรรมไทยเข้าถึงเทคโนโลยีและตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะสาขาธุรกิจนวัตกรรมด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cyber Security) และ Internet of Things หรือ ไอโอที

NIA

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า เอ็นไอเอ ได้มุ่งสร้างเครือข่ายนวัตกรรมในระดับประเทศ เพื่อสนับสนุนให้ระบบนวัตกรรมไทยได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ใหม่ๆ ความร่วมมือในการ ต่อยอดธุรกิจ การร่วมลงทุน ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน

นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนนโยบายที่จะผลักดันให้เกิด สตาร์ทอัพเนชั่น (Startup Nation) และธุรกิจนวัตกรรมให้ขยายขอบเขตไปสู่ระดับนานาชาติ เพื่อสร้างมูลค่าใหม่ให้กับสินค้าและบริการ โดยยังจะช่วยเปิดมุมมองให้ผู้พัฒนานวัตกรรมได้มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น

และตอบสนองได้ตรงกับตลาดผู้ใช้นวัตกรรมในระดับโลกได้อย่างตรงจุด ล่าสุด เอ็นเอไอ ได้ร่วมมือกับ สำนักงานนวัตกรรมอิสราเอล (Israel Innovation Authority หรือ IIA) ดำเนินความร่วมมือระดับองค์กรเพื่อส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ

ซึ่งจะเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างบริษัทไทย กับบริษัทอิสราเอล ผ่านกลไกการให้ทุนของ เอ็นไอเอ และ ไอไอเอ โดยเอ็นไอเอ จะเป็นผู้ให้ทุนแก่ผู้ประกอบการไทย ขณะที่ไอไอเอ เป็นผู้ให้ทุนแก่บริษัทอิสราเอลที่จับคู่ทำโครงการกับบริษัทไทย

นอกจากนี้ การร่วมมือกันในครั้งนี้ยังจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ เข้าถึงเทคโนโลยีและตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะสาขาธุรกิจนวัตกรรมด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cyber Security) และ Internet of Things (IoT)

นอกจกานี้ อิสราเอลยังมีความน่าสนใจในการพัฒนาสตาร์ทอัพและสามารถนำมาต้นแบบในการส่งเสริมสตาร์ทอัพและธุรกิจนวัตกรรมไทยได้ในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น วิธีการในการเข้าถึงกลุ่มเงินทุน การจัดการทรัพยากรและการสร้างผลลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด

NIA

โดยเฉพาะประชากรที่ทำงานเกี่ยวกับเกษตรกรรม การสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคการศึกษาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การสนับสนุนการเงินจากภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ การดึงดูดให้บริษัทข้ามชาติระดับโลกมาตั้งศูนย์วิจัยเพื่อทำงานร่วมกับนักวิจัย และสถาบันการศึกษา

ตลอดจนวิธีการผลักดันจำนวนสตาร์ทอัพต่อจำนวนประชากรที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 8,000 ราย (ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) และมีสัดส่วนการประสบความสำเร็จ 1 : 10 ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับในประเทศอื่นๆ

และด้วยอิสราเอลยังมีความโดดเด่นในการพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับไซเบอร์ ซึ่งไทยจะต้องนำต้นแบบในการสนับสนุนระบบนิเวศมาพัฒนา โดยมี 4 ส่วนที่จำเป็น คือ

  • ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อก่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนา การสร้างประสบการณ์ในการพัฒนา และการสร้างมาตรฐานของการวิจัยด้านไซเบอร์
  • กระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมไซเบอร์ โดยเน้นในเรื่องนโยบาย และกฏระเบียบต่างๆ
  • เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่พร้อมจะนำไปสู่กระบวนการใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์
  • บุคลากรด้านไซเบอร์ ที่จะต้องสร้างให้เกิดผู้เชี่ยวชาญ และการสร้างองค์ความรู้ด้านไซเบอร์พร้อมด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น

สำหรับในปัจจุบัน ประเทศอิสราเอลเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางนวัตกรรมสูงระดับต้นๆของโลก อันดับนวัตกรรมของประเทศดังกล่าวอยู่ในอันดับที่ 11 ของโลก เป็นอันดับที่ 1 ในหลากหลายด้าน ได้แก่ การเชื่อมโยงทางนวัตกรรมระหว่างองค์กร

ความสามารถในงานวิจัยทางธุรกิจ นักวิจัย การส่งออกสินค้า ICT กองทุนที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ (Venture Capital : VC) และยังอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลกในด้าน การพัฒนาแอปพลิเคชั่น ความคิดสร้างสรรค์ในธุรกิจบริการและการต่อยอดทางวัฒนธรรม และการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO:9001

NIA

ด้าน ฯพณฯ ดร.เมเอียร์ ชโลโม เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย กล่าวว่า หากประเทศไทย ซึ่งกำลังก้าวสู่ยุค 4.0 และอิสราเอล ในฐานะชาติแห่งสตาร์ทอัพ ร่วมมือกัน จะต้องเกิดผลดีอย่างมากตามมาอย่างแน่นอน

ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ จะเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งของความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างประเทศไทยและอิสราเอล’

NIA

ขณะที่ ดร. อามี แอปเปิลโบม หัวหน้านักวิทยาศาสตร์และผู้บริหาร สำนักงานนวัตกรรมอิสราเอล กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในระดับต่อไป ซึ่งความสำเร็จจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ เราสร้างเครือค่ายไปทั่วโลก

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่