Gen Z

ปัจจุบันทุกองค์กรกำลังเผชิญกับปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skills) มากเพียงพอ ในการรองรับการก้าวสู่อนาคตได้อย่างเต็มร้อย จากการสร้างความเข้ากันบุคลากรที่หลากหลายมากถึง 5 Gen ในองค์กร

เมื่อไม่นานมานี้ เดลล์ เทคโนโลยี (DELL Technology) ได้ออกมาเผยวิจัยในเรื่องของผลกระทบของคนที่เกิดในยุคดิจิทัล (Digital Natives) หรือที่เราเรียกกันว่า “เจนเนอเรชั่น ซี” (Generation Z) ผลวิจัยชี้ว่าคนในยุคปัจจุบัน (เกิดช่วงปลาย ค.ศ. 1990 และตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป) จะสร้างผลกระทบองค์กรธุรกิจ

และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบ หรือพลิกโฉมการทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งหากองค์กรธุรกิจไม่สามารถสร้างความกลมกลืนของบุคลากรในองค์กรที่มีคนหลากหลายเจนเนอเรชั่นได้ จะสร้างความลำบากให้แก่การก้าวสู่ยุคของเทคโนโลยีที่มีส่วนในการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันได้อย่างยากลำบาก

ขณะที่ในส่วนของพฤติกรรมของ “เจนเนอเรชั่น ซี” ในงานวิจัยกลับพบว่า คนในรุ่นใหม่ ที่มีความพร้อมในเรื่องของความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีนั้น ต้องการที่จะทำงานในองค์กรที่มีความพร้อม และมีวิสัยทัศน์ในเรื่องของการลงทุนในเรื่องเทคโนโลยี มากเป็นอันดับแรก

แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการที่จะได้ประสบการณ์ในการทำงาน และการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน (Soft Skills) ส่วนเจนเนอเรชั่นอื่น ๆ ตั้งแต่ Baby Boomer, Generation X, Generation Y ที่ยังคงทำงานอยู่ต่างมีความกังวลหวั่นเกรงว่าจะถูกแทนที่โดย “เจนเนอเรชั่น ซี”

Are you ready for Gen Z? คนที่เกิดยุค “ดิจิทัลโดยกำเนิด” (Digital Natives) คือผู้พลิกโฉม…

Gen Z

อโณทัย เวทยากร รองประธานบริหาร เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคอินโดจีน เปิดเผยว่า ในเวลานี้ กลุ่มคน “เจนเนอเรชั่น ซี” กำลังทยอยก้าวสู่การทำงาน พร้อมนำพาแนวความคิดที่ว่าเทคโนโลยีต้องมาก่อนจึงจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไปได้ในยุคดิจิทัลเข้ามาพร้อมกัน และในขณะเดียวกัน

ก็มีแนวโน้มที่อาจสร้างการแบ่งแยกที่ชัดเจนยิ่งขึ้นระหว่างกลุ่มคนทำงานทั้ง “5 เจเนอเรชั่น” (5 Generation) ที่อยู่ในภายในองค์กรเดียวกัน จากผลการวิจัยทั่วโลกที่สนับสนุนการ จัดทำโดย เดลล์ เทคโนโลยีส์ พบว่า คนในยุคหลัง มิลเลนเนียล (Post-Millennials) หรือคนที่เกิดหลังปี 1996

และเป็นที่รู้จักในนาม “เจนเนอเรชั่น ซี” นั้นมีความเข้าใจ และรอบรู้เทคโนโลยีในเชิงลึก และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทั้งวิถีการทำงาน และการใช้ชีวิตขององค์กรธุรกิจในยุคปัจจุบัน

กลุ่มคนที่เติบโตมาในยุคดิจิทัลมีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล และเทคโนโลยีล้ำหน้า แต่ที่น่าแปลกใจคือระดับของวุฒิภาวะด้านดิจิทัลที่พวกเขานำมาสู่ที่ทำงาน

คนรุ่นใหม่ต้องการมากกว่าแค่เงินเดือน…

Gen Z

โดยจากผลการสำรวจบรรดานักเรียนในระดับมัธยม วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยกว่า 12,000 แห่งใน 17 ประเทศ รวมถึงผู้ตอบการสำรวจจำนวน 722 รายจากประเทศไทย และ 4,331 ราย จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอายุระหว่าง 16 ถึง 23 ปี เราพบว่าภาพรวมของคนรุ่นเยาว์ หรือ “เจนเนอเรชั่น ซี” ที่มีต่อเทคโนโลยี

และงานในอนาคตนั้น ชี้ว่า กลุ่ม “เจนเนอเรชั่น ซี” ส่วนใหญ่เชื่อมั่นในในความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยในประเทศไทย 76% ของคนกลุ่มนี้ ต่างระบุว่าความสามารถด้านเทคโนโลยีของตนอยู่ในระดับที่ดีหรือยอดเยี่ยม และ 73% กล่าวว่ามีทักษะในการเขียนโค้ด (coding skills) สูงกว่ามาตรฐานทั่วไป

นอกจากนี้  98% (99% ในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาอย่างจริงจัง ขณะที่ในองค์ประกอบที่คนใน “เจนเนอเรชั่น ซี” ใช้ตัดสินใจเข้าทำงานนั้น พบว่า 91% (95% ในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

โดยมีเรื่องเทคโนโลยีที่ผู้ว่าจ้างนำเสนอ เป็นสิ่งที่จะพิจารณาการเลือกงานที่เสนอมา โดยคน “เจนเนอเรชั่น ซี” กว่า 80% (ประเทศไทย 97% และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 90%) ต้องการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีล้ำหน้า ซึ่ง 38% ของกลุ่มนี้สนในงานด้านไอที 39% ต้องการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์

และ 46% ต้องการทำงานด้านการพัฒนา และวิจัยเทคโนโลยี ทั้งนี้ ในประเทศไทย มากกว่า 4 ใน 10 มีความสนใจงานด้านไอที ซึ่งกว่า 48% ต้องการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และ 80% (ประเทศไทย 93% และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 86%)

เชื่อว่าเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติจะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความเสมอภาคมากขึ้น โดยช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอคติ และการแบ่งแยก วันนี้เรายังไม่ได้ไปถึงจุดที่สร้างเจเนอเรชั่นของคนที่เป็นหุ่นยนต์ขึ้นมา เนื่องจากคนใน “เจนเนอเรชั่น ซี” มองว่าเทคโนโลยีไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับมนุษย์

แต่ยังเป็นเสมือนวิธีการในการยกระดับการแข่งขันที่ต้องอาศัยศักยภาพด้านข้อมูลอีกด้วย ซึ่งการผสมผสานทั้งวิสัยทัศน์ และการมองโลกในแง่ดีของคนกลุ่มนี้นับว่าไม่ธรรมดา และผู้ตอบสำรวจกว่า 89% ต่างเข้าใจดีว่าเรากำลังก้าวสู่ยุคของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร (Human-Machine Partnership)

โดย 51% (ประเทศไทย 64%) ของบรรดาผู้เข้าร่วมการสำรวจเชื่อว่ามนุษย์ และเครื่องกลจะทำงานร่วมกันเสมือนเป็นทีมเดียวกัน ในขณะที่ 38% (ประเทศไทย 30%) มองว่าเครื่องกลเป็นเสมือนเครื่องมือที่มนุษย์เรียกใช้ได้ตามต้องการ

ซึ่งในส่วนที่นอกเหนือจากความต้องการในเรื่องของการลงทุนขององค์กรคน “เจนเนอเรชั่น ซี” กว่า 95% ในประเทศไทย เชื่อว่าสามารถที่จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้ความรู้ให้กับผู้ร่วมงานอายุมากกว่าที่อาจมีประสบการณ์เรื่องเทคโนโลยีน้อยกว่า

อีกทั้งคาดหวังที่จะได้รับประสบการณ์ หรือทักษะที่เหมาะสมในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ ที่ระบุว่าการศึกษาของตนอยู่ในระดับดี หรือดีเยี่ยม ที่ช่วยให้ตนมีความพร้อมในการทำงาน โดยในส่วนของประเทศไทย เด็กจบใหม่กว่า96% มีความกังวลใจเกี่ยวกับการว่าจ้างงานในอนาคต

ตั้งแต่เรื่องของการขาดทักษะที่เหมาะสม ตลอดจนขาดประสบการณ์ในการทำงาน และ 67% มั่นใจว่าตนมีทักษะด้านเทคโนโลยีที่ผู้ว่าจ้างต้องการ แต่ขาดทักษะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

คนเจนเนอร์เรชั่นเก่าหวั่นเกรงโดนแทนที!!

Gen Z

ในขณะเดียวกัน กลุ่มคนที่เป็นมืออาชีพในระดับอาวุโส ก็มีความกังวลว่าจะโดนเด็กรุ่นใหม่แซงหน้า และบทบาทของผู้นำในอนาคตส่วนใหญ่จะกลายเป็นของเด็กรุ่นใหม่ที่โตมาในยุคดิจิทัล สอดคล้องตามการวิจัยของเดลล์ เทคโนโลยี ที่ว่า 87% ของผู้นำธุรกิจกลัวว่าองค์กรของตนจะพยายามมอบโอกาสด้านการทำงานที่ทัดเทียมให้กับคนต่างรุ่น

ปัจจุบันในที่ทำงานมีคนทำงานอยู่ถึง “5 เจเนอเรชั่น” (5 Generation) ฉะนั้นองค์กรธุรกิจควรช่วยให้คนทำงานเหล่านี้หาจุดร่วมที่เหมือนกันให้เจอ ในเวลาที่ต้องผลักดันไปสู่การสร้างวัฒนธรรมของการให้ความสำคัญกับดิจิทัลเป็นอันดับแรก หรือ digital-first 

โดยทีมงานที่ต้องทำงานข้ามสายงาน และมีทักษะที่ครบครันสามารถกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และการแก้ปัญหาด้วยวิธีแบบใหม่  โปรแกรมนักศึกษาฝึกงาน และการหมุนเวียนงาน รวมถึงโอกาสอื่น ๆ ในการพัฒนาความก้าวหน้าทางอาชีพตั้งแต่เริ่มต้น

สามารถช่วยให้มืออาชีพรุ่นเยาว์ได้รับประสบการณ์ในการทำงาน และพัฒนาทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนได้เช่นกัน และโปรแกรมการผลัดกันเป็นที่ปรึกษาสามารถช่วยเพิ่มพูนความสามารถด้านเทคโนโลยีภายในองค์กร โดยมี “เจนเนอเรชั่น ซี” เป็นผู้เบิกทางในเรื่องนี้

เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าคนรุ่น “เจนเนอเรชั่น ซี” จะมีการสื่อสารโต้ตอบ โดยใช้อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างดีมาตั้งแต่เกิด และเติบโตมา ในยุคโซเชียลมีเดีย (Social Media) แต่ “เจนเนอเรชั่น ซี” ก็ยังต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในที่ทำงานมากขึ้น ด้วยเช่นกัน

ซึ่งจากผลการศึกษาในประเทศไทย พบว่า กว่า 40% ของคน “เจนเนอเรชั่น ซี” ยังนิยมใช้โทรศัพท์ เป็นวิธีการที่คนทำงานร่วมกันนิยมใช้ในการสื่อสาร ขณะที่ 34% ตามด้วยการสื่อสารแบบตัวต่อตัว ผ่าน แอปฯ ส่งข้อความ และการส่งข้อความสั้นถูกจัดไว้หลังสุด

แต่ที่น่าสนใจคือ 62% คาดว่าจะได้เรียนรู้งานจากเพื่อนร่วมงาน หรือบุคคลอื่น ไม่ใช่ทางออนไลน์ ในขณะเดียวกัน 91% เห็นว่า โซเชียลมีเดีย (Social Media) สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่สร้างคุณค่าในการทำงาน และ 58% ชอบนั่งทำงานในออฟฟิศ

เมื่อเทียบกับการทำงานจากบ้าน และ 70% ชอบที่จะทำงานเป็นทีมมากกว่าทำคนเดียว ซึ่งอาจจะเป็นเพราะต้องการเรียนรู้ระบบงาน และสร้างความสัมพันธ์ หรือสร้างปฏิสัมพันธ์ กับคนอื่น ๆ

Gen Z: The future has arrived

ท้ายที่สุด องค์กรที่สามารถสร้างกำลังคนที่สามารถรองรับ และให้การสนับสนุนคนทำงานในทุกเจเนอเรชั่นได้ ก็จะเติบโตได้ในยุคแห่งความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องกล คนทำงานที่ผสานการทำงานร่วมกันได้ดีนับเป็นขุมพลังที่จะช่วยให้องค์กรปฏิรูปและประสบความสำเร็จได้ในอนาคตดิจิทัล…

Infographic

Gen Z

สามารถดูข้อมูล  Gen Z: The future has arrived เพิ่มเติมได้ที่ DellTechnologies.com/GenZ

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่