Huawei เผยแผนสร้าง คลาวด์ ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก หวังช่วงธุรกิจลดผลกระทบจากปรากฏการณ์ “คนจนอุ้มคนรวย” (Matthew Effect) ที่มีความเหลี่ยมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี ให้สามารถใช้โครงสร้างทางด้านเทคโนโลยีจากทุกที ทุกเวลา โดยตั้งเป้าให้บริการใน 9 อุตสาหกรรมหลักของโลก

Huawei cloud – หนึ่งในโครงสร้าง “DNA” ของหัวเว่ย

มร. กั๋ว ผิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หมุนเวียนตามวาระของ หัวเว่ย ได้กล่าวถึงแผนดังกล่าวภายในงาน หัวเว่ย คอนเนค 2017 ที่ผ่านมาว่า เรากำลังเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์แมทธิว (Matthew Effect) ทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้

และรวมถึงการลดต้นทุนด้วยการเพิ่มปริมาณการผลิต (Economy of Scale) ในด้านการลงทุนทำให้ระบบคลาวด์ทั่วโลกจะเริ่มขมวดรวมเข้าสู่ศูนย์กลางมากขึ้นเรื่อยๆ ซึี่งในอนาคตคาดว่า โลกจะเห็นระบบคลาวด์ขนาดยักษ์ 5 ระบบ ด้วยกัน ซึ่งแน่นอนว่าหัวเว่ย เองก็สนใจ และมีแผนที่จับมือพันธมิตรเพื่อร่วมกันสร้างหนึ่งในระบบคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ให้เกิดขึ้นให้ได้

ซึ่งเราได้ลงทุนในด้านพับลิคคลาวด์อย่างจริงจัง และจะให้บริการพับลิคคลาวด์ในระยะยาว โดยเราจะสร้างเน็ตเวิร์คคลาวด์ทั่วโลกให้เชื่อมต่อบนระบบพับลิคคลาวด์ของเรา และคลาวด์ที่ร่วมกับพันธมิตรสร้างขึ้นมา ซึ่งเราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าเราจะสามารถทำได้เนื่องจากเรามีเทคโนโลยี และรู้วิธีที่จะสร้างระบบคลาวด์ขนาดใหญ่ได้

Huawei

ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะหัวเว่ย ป็นบริษัทเทคโนโลยี เติบโตขึ้นมาจากการวิจัยและพัฒนามาตลอด 30 ปี หัวเว่ยได้ตัดสินใจที่จะลงทุนอย่างจริงจังในด้านแพลตฟอร์มคลาวด์ โดยมีการพัฒนาคุณสมบัติใหม่ ๆ ในด้านต่างๆ อาทิ บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าสำหรับอัพเกรดบริการและนวัตกรรมใหม่ๆ

และเรามีโซลูชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร ตั้งแต่ชิพเซ็ตไปจนถึงบริการ ซึ่งแก้ปัญหาความท้าทายด้านความปลอดภัยของคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถอันเต็มเปี่ยมของหัวเว่ยทำให้มั่นใจได้ถึงระดับความปลอดภัยที่เหนือกว่าระบบไอทีอิสระ

อีกทั้งเรามีบริการที่แตกต่างจากบริษัทอื่นๆ ซึ่งเกิดมาในยุคคลาวด์ เพราะเราเติบโตมาพร้อมกับคลาวด์ และโครงสร้างสถาปัตยกรรมด้านไอที ดังนั้นเราจึงเข้าใจถึงความต้องการ และความท้าทายของบริษัทใหญ่ระดับโลก และสามารถที่จะช่วยรัฐบาลของประเทศต่างๆ และองค์กรขนาดใหญ่ก้าวสู่โลกดิจิทัลได้เป็นอย่างดี

และเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงานร่วมกันกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อให้ได้ซึ่งความ “ความสำเร็จร่วมกัน” ด้วยกลยุทธ์ เราพัฒนาระบบนิเวศเพียง 1% แต่อีก 99% คือความร่วมมือ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ของพันธมิตรเหล่านั้นไปสู่ 172 ประเทศทั่วทุกภูมิภาคและสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ

Huawei
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก www.pexels.com

Building a Global Cloud Network

มร. เจิ้ง เหย่ไหล ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจคลาวด์ของหัวเว่ย กล่าวเสริมว่า หั่วเว่ยมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงภาพรวมธุรกิจของลูกค้า ไม่ว่าพวกเขาจะทำงานทางด้าน R&D ด้านการตลาด หรือฝ่ายขาย ซึ่งเราได้ศึกษาถึงความต้องการของลูกค้า และพัฒนานวัตกรรมตามต้องการนั้นๆ

โดยเราได้พัฒนาหัวเว่ยคลาวด์เพื่อช่วยให้องค์กรหลายแห่งก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างราบรื่น และช่วยให้บริษัทอีกหลายๆ แห่งที่ตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของพวกเขา โดยบริการ Enterprise Intelligence Cloud ตัวใหม่สำหรับองค์กรนี้ มีแพลตฟอร์มโซลูชั่นสำหรับการใช้งานทั่วไป และเฉพาะด้าน

และจากการผสมผสานเทคโนโลยีคลาวด์ และ EI ทำให้คลาวด์ของหัวเว่ยมีความอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น และจะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับอุตสาหกรรมได้มากขึ้นด้วยเทคโนโลยีอันก้าวหน้า อีกทั้งด้วยความสามารถของ พับลิคคลาวด์ และไพรเวทคลาวด์ ของหัวเว่ย ที่้เป็นสถาปัตยกรรมแบบรวมเป็นหนึ่ง ทำให้รองรับการพัฒนาได้อย่างราบรื่น และทำงานได้ต่อเนื่อง

บริษัทต่างๆ สามารถที่จะให้บริการต่างๆ ได้จากแพลตฟอร์มพับลิคและไพรเวทคลาวด์ ซึ่งพร้อมที่จะรองรับการโอนถ่ายและขยายบริการ และเพื่อป้องกันปัญหาการป้องกันการใช้เทคโนโลยี (Lock-in) ของผู้ขาย หัวเว่ยขอนำเสนอโซลูชั่นไฮบริดคลาวด์ ซึ่งจะช่วยให้ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มพับลิคคลาวด์ของบริษัทอื่นได้ เช่น ระบบของ Amazon และ Microsoft

นอกจากนี้การที่หัวเว่ยทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายรายในการสร้างเน็ตเวิร์คคลาวด์ที่มีเครือข่ายทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้ได้โซลูชั่นที่ครบวงจร ที่จะช่วยให้บริษัทฯต่างๆ สามารถขยายธุรกิจไปทั่วโลก และรวมถึงช่วยให้บริษัทต่างประเทศสามารถขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศจีนได้

Huawei
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก www.pexels.com

โดยหัวเว่ยตั้งใจจะช่วยผลักดันแผนการก้าวเข้าสู่ดิจิทัลของลูกค้าใน 9 อุตสาหกรรมหลัก ๆ อาทิ ภาครัฐและบริการสาธารณะ การเงิน โทรคมนาคม พลังงาน การโอนถ่ายข้อมูล และการผลิต เป็นต้น

โดยภายในงาน หัวเว่ย คอนเนค 2017 นี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวคลาวด์ใหม่ DevCloud 2.0 สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อแสดงถึงศักยภาพด้านไอซีทีให้พันธมิตรที่เป็นนักพัฒนาได้สัมผัส DevCloud 2.0 เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์ที่รองรับงานวิจัย และพัฒนา ที่รวมเอาประสบการณ์ด้านการวิจัยและพัฒนาตลอด 30 ปีของหัวเว่ย แนวคิดด้านดังกล่าวอันล้ำสมัย พร้อมเครื่องมือขั้นสูง 

DevCloud 2.0 จะเผยความสามารถด้านไอซีทีกว่า 3,000 คุณสมบัติของหัวเว่ย ผ่านระบบ API พับลิค และเปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถเข้าใช้ OpenLabs ทั้ง 20 แห่งทั่วโลก ส่วนเป้าหมายสุดท้ายคือ การส่งเสริมให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ทำได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยให้พันธมิตรที่เป็นนักพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างรายได้จากบริการรูปแบบใหม่ๆ ได้สำเร็จ

ข้อมูลเพิ่มเติม

    หัวเว่ย คอนเนค 2017 เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มและระบบนิเวศ โดยเน้นการนำไปใช้จริงและสัมผัสประสบการณ์จริง 
การจัดงานในปีนี้ได้นำสมาชิกในอุตสาหกรรมไอซีทีทั่วโลกมารวมตัวกันในห้องจัดแสดงนิทรรศการขนาดกว่า 20,000 ตรม.
และมีสปอนเซอร์กว่า 60 ราย จากองค์กรในอุตสาหกรรมกว่า 10 ราย ซึ่งรวมไปถึง พันธมิตรด้านโซลูชั่นที่ทำงานร่วมกัน
130 รายมาร่วมจัดแสดงในงาน และมีพันธมิตรอีกราว 1,000 รายที่มาเข้าร่วมงานนี้กับหัวเว่ย อาทิ SAP, Accenture, 
Chinasoft International, HGST, Intel, Microsoft, Centerm และ Infosys ซึ่งทั้งหมดจะนำความก้าวหน้า
ทางด้านเทคโนโลยีล่าสุด และโครงการด้านเทคโนโลยีไอซีทีที่ประสบผลสำเร็จมาจัดแสดง และเข้าร่วมกิจกรรมมากมายในงาน 
รวมถึงการแสดงปาฐกถา จัดแสดงนิทรรศการ การจัดงานของผู้สนับสนุน และการแสดงด้านเทคนิค
    นอกจากนี้ ยังมีพันธมิตรในอุตสาหกรรมกว่า 10 รายที่ อาทิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF), 
Cloud Security Alliance (CSA), Beijing Disaster Backup and Recovery Technology and Industry 
Alliance, Edge Computing Consortium (ECC), GSMA, Industrial Internet Consortium, OpenSDS 
และ OpenStack

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่